ผลการใช้แบบบันทึกการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพื่อป้องกัน ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลโพนพิสัย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ธงกช อรกุล

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: แบบบันทึกการบริโภคอาหาร, หลักโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์, เสี่ยงต่อภาวะพร่องโภชนาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แบบบันทึกการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงต่อภาวะพร่องโภชนาการ  ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลโพนพิสัย กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ที่มาภาวะเสี่ยงด้านโภชนาการ จำนวน 6 ราย โดยเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 5 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และการใช้แบบบันทึกการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างอายุมากที่สุด 33 ปี และอายุน้อยที่สุด 15 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 66.67 รายได้เฉลี่ยของหญิงตั้งครรภ์และสามี 3,500 บาทต่อเดือน ตั้งครรภ์ครั้งแรก ร้อยละ 66.66 ไม่มีประวัติการแท้ง หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์สูงกว่าก่อนการติดตามโดยใช้แบบบันทึกอย่างมีนัยสำคัญทางสติติที่(p< 0.05)และทารกมีน้ำหนักแรกเกิดมากกว่า 2,500 กรัมทุกราย

สรุปได้ว่า การติดตามโดยใช้แบบบันทึกการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์เสี่ยง เพื่อป้องกันทารกแรกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ทำให้โอกาสในการปฏิบัติตามคำแนะนำสูงขึ้น หญิงตั้งครรภ์ไม่ขาดสารอาหาร และส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัมทุกราย ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้มีการใช้โปรแกรมนี้ในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะพร่องโภชนาการ หญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

 

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30