การศึกษาความชุกวิธีการจัดการอาการและผลลัพธ์ของวิธีการจัดการอาการกับการปวดประจำเดือน ชนิดปฐมภูมิของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
primary dysmenorrhea, symptom management, outcomes of symptom management of primary dysmenorrheaบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อสำรวจความชุกของการมีประจําเดือนและศึกษาอุบัติการณ์การจัดการอาการและผลลัพธ์ของวิธีการจัดการอาการกับการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิในนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 เขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี จำนวน 333 คน ปีการศึกษา 2564 รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูล วิธีการจัดการอาการปวดประจำเดือนและผลลัพธ์ของการจัดการอาการปวดประจำเดือน (reliability.85)
ผลการวิจัยพบว่า ความชุกของการมีประจําเดือนของกลุ่มตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 78.7 โดยมีอาการปวดเล็กน้อย(pain score < 7) และปวดรุนแรง (pain score ≥ 7) คิดเป็นร้อยละ 63.2 และ 15.5 ตามลำดับ ซึ่งผลกระทบของการมีประจำเดือน ส่งผลต่ออารมณ์ร้อยละ 41.5 ผลต่อการเรียนร้อยละ 24.9 และผลต่อการพักผ่อนร้อยละ 22.7 สำหรับการจัดการอาการปวดประจำเดือนพบว่า นักเรียนจะจัดการอาการปวดประจำเดือนโดยการรับประทานยาแก้ปวด เมื่อมีอาการปวดรุนแรงมากจนทนไม่ไหว (ร้อยละ 51.6) เมื่อเริ่มมีอาการปวดประจำเดือน (ร้อยละ 31.4) และก่อนปวดประจำเดือน (ร้อยละ13.7) ตามลำดับ ส่วนการจัดการอาการปวดประจำเดือน โดยไม่ใช้ยาที่พบมากที่สุดคือ การนอนพัก การไม่ดื่มน้ำมะพร้าว และการดื่มน้ำร้อนหรือน้ำอุ่น สำหรับผลลัพธ์ของการจัดการอาการปวดประจำเดือนที่พบมากที่สุด คือ หลังจัดการกับอาการปวดประจำเดือนแล้วคุณภาพชีวิตการเรียนและอารมณ์ดีขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.