การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนน ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • พรพิไล นิยมถิ่น โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย

คำสำคัญ:

พัฒนาระบบ, บริการพยาบาล, ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ, อุบัติเหตุทางถนน

บทคัดย่อ

เพื่อปรับปรุงระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนน เปรียบเทียบผลก่อนและหลัง ตามกระบวนการพยาบาล ใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีระบบ กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 44 คน และ กลุ่มที่ 2 เป็นพยาบาลห้องฉุกเฉิน จำนวน 10 คน ช่วง 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565 มี 5 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นออกแบบ 3) ขั้นวางแผน 4) ขั้นดำเนินการ และ 5) ขั้นประเมินผล เครื่องมือวิจัยมี 2 ส่วน ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Content Validity Index) ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ปรับปรุงแก้ไขเครื่องมือตามข้อเสนอแนะ ตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) โดยนำไปทดสอบกับพยาบาลห้องฉุกเฉินที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย ได้ค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติเปรียบเทียบ Independent t-test และ Pair t-test

          พบว่า เกิดระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนน ส่งผลให้พยาบาลห้องฉุกเฉินมีความรู้สามารถประเมินผู้ป่วยได้ถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 90.90 เป็นร้อยละ 100 ตัดสินใจช่วยชีวิตได้รวดเร็วเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 93.20 เป็นร้อยละ 100 หลังการพัฒนาระบบมีคุณภาพกว่าก่อนพัฒนาอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเตรียมส่งต่อได้รวดเร็วจาก 88 นาทีเป็น 58 นาที พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อระบบบริการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นทั้งรายด้านและโดยรวม

References

World Health Organization. Global Status Report on Road Safety 2018. [Internet]. [Cited 2020 sep 18]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789241565684

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรสำนักแผนความปลอดภัย กระทรวงคมนาคม. รายงานการวิเคราะห์

สถานการณ์ อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม [อินเตอรเน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/PDF/2565-09/25650919-ReportExcident-2565.pdf

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. รายงานภาพรวมสถิติอุบัติเหตุ

[อินเตอรเน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://roadsafety.disaster.go.th/inner.roadsafety1.196/

download/menu_7766/3470.1/#s

บุญยืน ศรีสว่าง. แนวโน้มอุบัติเหตุทางถนนและความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางถนน เขตอำเภอสิชล

จังหวัดนครศรีธรรมราช. ว. วิชาการแพทย์เขต 1 2561;32:1451-62.

นครชัย เผื่อนปฐม, ธีรเดช ศรีกิจวิไลกุล. แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์

แห่งประเทศไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

HOSxP. [อินเตอร์เน็ต]. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 2 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://dansaihospital.com/th

กรองได อุณหสูต, เครือข่ายพยาบาลอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย. คู่มือการปฏิบัติงานพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ หน่วยงาน

อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ: ก้องการพิมพ์; 2554.

Katz, D, Kahn RL. The social psychology of organizations. 2nd ed. New York: Wiley; 1978.

American College of Surgeons. Advanced trauma life support student course manual [Internet]. United States

of America: American College of Surgeons; 2018 [cited 2020 April 10]. Available from: https://viaaerearcp.files.

wordpress.com/2018/02/atls-2018.pdf

นุจรี ยานวิมุต. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองรุนแรงที่เข้ารับการรักษาในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาล

สงขลา. ว. สภาการสาธารณสุขชุมชน 2562;2:38-54.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์อินเตอร์ มีเดีย; 2550.

วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล. การสุ่มตัวอย่างและการหาขนาดตัวอย่าง. ใน: ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยทางการพยาบาล สถิติและ

เทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยที่ 5. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช; 2556. หน้า 87-88.

พรพิไล นิยมถิ่น. ผลของการใช้แบบการบันทึกทางการพยาบาลขณะส่งต่อผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นต่อคุณภาพการส่งต่อและความ

พึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย. ว. การแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2561;26:

-143.

ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์. การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณ. ใน: ประมวลสาระชุดวิชาวิทยานิพนธ์ ขั้น 2

หน่วยที่ 6. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช; 2557. หน้า 9-45.

นันทิยา รัตนสกุล. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะคุกคามชีวิตในงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลนราธิวาสราช

นครินทร์. ว. ราชนครินทร์สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2559;8:1-15.

วิบูลย์ เตชะโกศล. ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบทางด่วนพิเศษในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ. ว. ศรีนครินทร์เวชสาร 2557;29:

-9.

อัญชลี ถิ่นเมืองทอง, อรทัย ศิลป์ประกอบ, ศรีวรรณ มีบุญ, เยาวรัตน์ รุ่งสว่าง. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่

ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนนในโรงพยาบาลปทุมธานี โดยใช้แนวคิดการพยาบาลผู้จัดการรายกรณีในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน.

กองการพยาบาล 2559;43:5-24.

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30