ผลของการใช้แบบประเมิน SOS score ต่อทักษะการประเมินของพยาบาลวิชาชีพและ ความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด

ผู้แต่ง

  • น้ำฝน พรหมสูตร โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ
  • วีนัสรินทร์ ประสมศรี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ.

คำสำคัญ:

แนวทางปฏิบัติ,การประเมิน SOS Score, ภาวะติดเชื้อในการแสเลือด , ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ SOS score ต่อทักษะทักษะการใช้ SOS score ของพยาบาลวิชาชีพและการเกิดภาวะติดเชื้อรุนแรงและภาวะช็อก ในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ที่รับการรักษา ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 10 คน ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย  จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวทางปฏิบัติการประเมิน SOS score เก็บรวบรวมข้อมูลโดย 1) แบบวัดทักษะการประเมินด้วย SOS score 2) แบบบันทึกอุบัติการณ์การเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะช๊อค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ สถิติ Wilcoxon Sign Ranks test  

ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการใช้ SOS score ในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด พยาบาลวิชาชีพมีทักษะการใช้ SOS score เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนอุบัติการณ์การเกิดไม่พบการติดเชื้อในกระแสเลือดในระดับรุนแรงทั้ง 33 คน แต่ยังพบการเกิดภาวะช็อกจากติดเชื้อจำนวน 4 ราย คิดเป็น ร้อยละ 13.33

References

World Health Organization.Sepsis.2020-8-26

Bone, R. C., Balk, R. A., Cerra, F. B.,Dellinger, R. P., Fein, A. M., Knaus, W.A., Sibbald, W. J. Definitions for sepsis and organ failure and guidelines for the use of innovative therapies in sepsis. Chest; 1992: 101(6), 1644-55.[อินเทอร์เน็ต].

นิลปัทม์ พลเยี่ยม ,ภูริกา สิงคลีประภา และมยุรา แสนสุข.การใช้ Six bundle sepsis protocol

ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรง แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกุมภวาปี.

วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี.2561.

สาคร เสริญไธสง.ผลการใช้ระบบ Modified Early Warning Score (MEWS) ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต (Sepsis) ที่หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบ้านผือ.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี,27(2),223-230

นนทรัตน์ จำเริญวงศ์, สุพรรณิการ์ ปิยะรักษ์, & ชยธิดา ไชยวงษ์.การประเมินและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health.2020. 7(1), 319-330.

งานเวชระเบียนโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ.เวชระเบียนผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด.2564

ไสว อินทะชุบ,ดวงพร โพธิ์ศรี และจิราภรณ์ สุวรรณศรี.(2560).ประสิทธิผลการใช้ MEWS (SOS Score) ต่อการเกิด Severe Sepsis and Septic Shock ในผู้ป่วย Sepsis กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน.

ศิรดา ทวีวัน.ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลบึงกาฬ.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี.2561.

ธิราภรณ์ อุ่นแก้ว, & อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์.การ พัฒนาการ ดูแล รักษา ผู้ ป่วย ติด เชื้อ ใน กระแส โลหิต ของ โรง พยาบาล ขุนหาญ จังหวัด ศรีสะเกษ. วารสาร วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ราชภัฏศรีสะเกษ.2021, 1(2), 40-52.

ขะธิณยา ศรีแก้ว.ผลลัพธ์ของการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลด่านขุนทด จังหวัด นครราชสีมา. วารสารการพยาบาลสุขภาพ และการศึกษา, 2021.4(1), 29-40.

สุรางค์ ช่างเหล็ก.ผลการพัฒนาความรู้และทักษะพยาบาลวิชาชีพในการประเมินผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด งานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย.วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2564.

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30