ประสิทธิผลของการสูดดมน้ำมันหอมระเหยไพลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับภาวะทางอารมณ์ในผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
น้ำมันหอมระเหย, สมุนไพร, ไพล, อารมณ์, สุคนธบำบัดบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการสูดดมน้ำมันหอมระเหยไพลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับภาวะทางอารมณ์ในผู้สูงอายุ ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้รับการสูดดมน้ำมันหอมระเหยไพล และกลุ่มควบคุมได้รับการสูดดมน้ำมันแก้ว เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบประเมินภาวะทางอารมณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความแตกต่างก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test และทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Man-Whitney U test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ผลการศึกษาพบว่า การสูดดมน้ำมันหอมระเหยไพล 3 นาที ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับภาวะทางอารมณ์ในผู้สูงอายุ หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีระดับภาวะทางอารมณ์ด้านอารมณ์พื้นฐาน ด้านอารมณ์ตื่นตัว และด้านอารมณ์สงบนิ่ง ผ่อนคลาย สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในแง่ของความรู้สึกว่าชีวิตไม่มีปัญหา รู้สึกมีความสุข รู้สึกเป็นมิตรกับผู้อื่น รู้สึกอยากเข้าสังคม รู้สึกสนใจสิ่งที่กำลังทำและรู้สึกตื่นเต้น กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยระดับภาวะทางอารมณ์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการสูดดมน้ำมันหอมระเหยไพล ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับภาวะทางอารมณ์เชิงบวกในผู้สูงอายุ จึงควรมีการศึกษาและพัฒนาตำรับน้ำมันหอมระเหยสูตรที่มีส่วนผสมของสมุนไพรหลายชนิดสำหรับใช้ในสุคนธบำบัด ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุต่อไป
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. 2564.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กองสถิติสังคม. 2564.
จิราพร เกศพิชญวัฒนา และคณะ. 2561. คู่มือเรียนรู้เข้าใจวัยสูงอายุ. Bangkok: บริษัท ยืนยงการพิมพ์ จำกัด.
Yatri R. Shah and et al. Aromatherapy: The Doctor of Natural Harmony of Body & Mind. International Journal of Drug Development & Research. 2011;3(1):286-94
Gnatta JR. and et al. Aromatherapy and nursing: historical and theoretical conception. Revista da Escola de Enfermagem da USP. 2016;50(1):127-33.
ฐาปนีย์ หงส์รัตนาวรกิจ. น้ำมันหอมระเหยและการใช้ในสุคนธบำบัด. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2550.
เทวัญ ธานีรัตน์, นิจศิริ เรืองรังสี, สุรพจน์, วงศ์ใหญ่, ชนิดา พลานุเวช, พิมพร ลีลาพรพิสิฐ, สมนึก สุชัยธนาวานิช และคณะ. ตำราวิชาการ สุคนธบำบัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2550.
ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์, กฤตนัย แก้วยศ, เกยูรมาส อยู่ถิ่น. น้ำมันหอมระเหยกับการทำงานของระบบประสาทและความรู้สึกทางอารมณ์: บทความฟื้นฟูวิชาการ. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2561;12:48-62
Moss, M. and et al. Aromas of rosemary and lavender essential oils differentially affect cognition and mood in healthy adults. International Journal of Neuroscience. 2003;113(1):15-38.
อ้อมบุญ วัลลิสุต. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน อโรมาเธิราพี (Aromatherapy) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://pharmacy.mahidol. ac.th/th/knowledge/article/225/อโรมาเธอราพี(Aromatherapy)/
Arpornchayanon, W. and et al. Acute effects of essential oil blend containing phlai oil on mood among healthy male volunteers: Randomized controlled trial. Journal of Complementary and Integrative Medicine. 2020;17(2): 20190097.
พรทิพย์ เติมวิเศษ. ประมวลสรรพคุณสมุนไพรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2555.
ธัญญลักษณ์ อุทาทอง, ดุษฎี ศรีธาตุ, พงศธร ทองกระสี, นำพน พิพัฒน์ไพบูลย์. ประสิทธิผลของการสูดดมน้ำมันหอมระเหยสมุนไพรพื้นบ้านที่มีต่อความจำและอารมณ์ในนักศึกษา. 2565;20(1):29-40
ธานี หาวิเศษ, ภควดี สมหวัง,ณภัทร ศรีรักษา. ผลของการดมน้ำมันหอมระเหยกลิ่นส้มและกลิ่นกะเพราตอความจำและอารมณ์ในอาสาสมัครเพศหญิง. เชียงราย: 2556
Diego, MA. and et al. 1998. Aromatherapy positivity affects mood, EEG patterns of alertness and math computations. International Journal of Neuroscience. 94(3-4): 217-224.
สุดารัตน์ หอมหวน, ระวิวรรณ แก้วอมตวงศ์, บัญชา ยิ่งงาม, สุวรรณา ภัทรเบญจพล, นิธิมา สุทธิพันธุ์, นุตติยา วีระวัธนชัย และคณะ. ไพล. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://apps.phar.ubu.ac.th/thaicrudedrug/main.php?action=view page&pid=96
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.