สภาพปัญหาการสูบบุหรี่ ทัศนคติและพติกรรมการสูบบุหรี่และปัจจัยสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ของนิสิต คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ชัยณรงค์ ศรีรักษ์ คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
  • ปัทถาพร สุขใจ Kasetsart University

คำสำคัญ:

ปัญหาการสูบบุหรี่, ทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่, พฤติกรรมการสูบบุหรี่, อุตสาหกรรมบริการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาการสูบบุหรี่ ทัศนคติและพติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิต คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ (2) ศึกษาปัจจัยสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิต คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้กลุ่มตัวย่าง จำนวน 440 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – stage sampling) และยินดีเข้าร่วมการศึกษาในครั้งนี้ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติไคสแคว์ สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว พบว่า (1) มีนิสิตที่สูบบุหรี่เป็นประจำ (ร้อยละ 27.2) โดยมีเหตุผล คือ อยากทดลองสูบ และมีเห็นว่าการสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมปกติ และ (2) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= .00-.038) และ ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ด้วยสถิติค่าที พบว่า เพศหญิงมีคะแนนความรู้และทัศคติดีกว่าเพศชาย นิสิตที่ไม่สูบบุหรี่และนิสิตชั้นปีที่ 4 มีคะแนนความรู้และทัศนคติดีกว่านิสิตที่สูบบุหรี่และนิสิตกลุ่มคณะอื่น ๆ ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่าทุกตัวแปรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ คะแนนความรู้กับเจตคติมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.448, p=.00)

References

ขวัญใจ ศุกรนันทน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ว. สาธารณสุขชุมชน, 2563;6(1):36-148.

World Health Organization [WHO]. Tobacco. Retrieved October 3, [อินเทอร์เน็ต]. 2561-[เข้าถึงเมื่อ 30 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/health-topics/tobacco

พระมงคลธรรมวิธาน และคณะ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของวัยรุ่นในเขตการปกครองฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร. ว. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 2561;11(2):2282-2309.

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.

ฐิติรัตน์ บุญเกิด และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชาชนในพื้นที่ตำบลแม่กา จังหวัดพะเยา. ว. วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2565; 11(11):42-52.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564. นนทบุรี:กระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2564.

ฐิติยา เนตรวงษ์ และคณะ. แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ด้วยโครงการและชุมชนเป็นฐานการวิจัย. ว. มทร. อีสาน ฉบับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2562;6(1):1-12.

ณฐินี พงศ์ไพฑูรย์สิน และคณะ. พฤติกรรมสุขภาพ (3อ.2ส.) และแนวทางการจัดการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ว. สาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2563;3(2):95-108

กัลยา วิริยะ และคณะ. ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่กับพฤติกรรมการสัมผัสบุหรี่ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ว.วิทยาบริการ มหาวิทยาลัยสงขลา, 2562;30(1):66-74.

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่มือสองของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. ว.สารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 2561;13(12):90-101.

พัชมณ ใจสอาด และเบญจวรรณ ธรรมรัตน. มาตรการกฎหมายในการควบคุมการสูบบุหรี่ในสถานศึกษา. ว. จันทรเกษมสาร, 2557;20(3):11-18.

ไพฑูรย์ วุฒิโส และคณะ. การพัฒนากลวิธีการป้องกันการสูบบุหรี่ในเยาวชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. ว.วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2561;12(2):19-28.

นิยม จันทร์นวล และ พลากร สืบสำราญ. สถานการณ์การสูบบุหรี่ของบุคคลากรและและนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีปลอดบุหรี่. ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2559;18(2):1-10.

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30