ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม 1 โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อมรินทร์ วินไทย โรงพยาบาลอุดรธานี
  • วัจนา สุคนธวัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี สถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

            การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม 1 โรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาล จำนวน 12 คน และผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มละ 30 คน กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติ และกลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือการปฏิบัติงานและแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ แบบบันทึกการประเมินผู้ป่วยระยะหย่าเครื่องช่วยหายใจ แบบบันทึกผลลัพธ์ทางคลินิก แบบประเมินความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณา และ Independent T-test

            ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีความสําเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p=0.001)  รวมทั้งมีระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000)  กลุ่มควบคุมพบการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ 2 คน และติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ 3 คน ส่วนกลุ่มทดลองไม่พบภาวะแทรกซ้อน พยาบาลประเมินความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.80 ดังนั้นควรนำแนวปฏิบัติไปใช้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทําให้ผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบดีขึ้น

References

Penuelas O, Keough E, Lopez-Rodriguez L, Carriedo D, Goncalves G, Barreiro E, Lorente JA. Ventilator-induced diaphragm dysfunction:translational mechanisms lead to therapeutical alternatives in the critically ill. Intensive Care Medicine Experimental; 2019:7(suppl 1):48.

เวชระเบียนหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม 1. ข้อมูลผู้ป่วยที่มารับบริการที่หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม 1 โรงพยาบาลอุดรธานี.สมุดเวชระเบียน.2565:123-207.

ธารทิพย์ วิเศษธาร, กัญจนา ปุกคำ, สมจิตร์ ยอดระบำ.การพัฒนารูปแบบการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช.วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก.2562;30(2):176-192.

อรนุช วรรณกูล.การพัฒนาแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤติศัลยกรรม โรงพยาบาลพัทลุง.วารสารกระบี่เวชสาร.2561;1(2):1-11.

ศจี พานวัน, เบญจมาส ถิ่นหัวเตย, ชัชฎาวดี ปานเชื้อ.ผลการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจต่อความรู้ความพึง พอใจของพยาบาลวิชาชีพและจำนวนวันใช้เครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยหออภิบาลผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต. 2557; 28(4):829-838.

สมใจ สายสม, นรลักขณ์ เอื้อกิจ. ผลของโปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจอย่างต่อเนื่องต่อความสำเร็จและระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2557.

ศศิพินทุ์ มงคลไชย. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี. [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

สิริประภา สายโยช. การศึกษาภาวะการทำหน้าที่ของสมองและความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองที่ได้รับการหย่าเครื่องช่วยหายใจ.[วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

Baker, S.P. The Injury severity Score:A method for describing patients with multiple injuries and evaluating emergency care. Journal of Traumal.1974;14: 187-196.

จุฑารัตน์ บางแสง, สมควร พิรุณทอง, อุดมรัตน์ นิยมนา, นงเยาว์ ถามูลเรศ, อภิญญา สัตย์ธรรม.การพัฒนาแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2563; 38(4):122-131.

วัชรพันธ์ วงศ์คําพันธ์. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วย หอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม.วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. 2562; 3(2):56-71.

ศรัจจันทร์ ธนเจริญพัทธ, อุษา วงษ์อนันต์, จิรัญญา กาญจนโบษย์, ศศิธร ศิริกุล, อุษา กลิ่นขจร.การพัฒนาโปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ.2558; 33(2):83-91.

สำอาง เทียนแก้ว, ลักขณา ศรสุรินทร์, สุนันญา พรมตวง.ประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนัก.วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์.2559; 31(1); 9-20.

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30