ความสัมพันธ์ระหว่างพลังสุขภาพจิตและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ ของนักศึกษาพยาบาลในสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019

ผู้แต่ง

  • จารณี อินทฤทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม สถาบันพระบรมราชชนก
  • ปรานต์ศศิ เหล่ารัตน์ศรี วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

พลังสุขภาพจิต นักศึกษาพยาบาล โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

ในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019  เป็นสภาพการณ์ยากลำบาก ที่ส่งผลกระทบในระดับบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรด้านสุขภาพ รวมถึงนักศึกษาพยาบาล  การวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพลังสุขภาพจิตและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อของนักศึกษาพยาบาลในสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาพยาบาล จำนวน 521 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามสุขภาพจิตและแบบสอบถามพฤติกรรมฯ ที่มีความเชื่อมั่น 0.72  และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ค่าคะแนนพลังสุขภาพจิตของนักศึกษาอยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็น   ร้อยละ 62.4 ต่ำกว่าตามเกณฑ์ร้อยละ 22  สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 15.6  พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ มีค่าเฉลี่ย 4.3 (S.D.=0.42) อยู่ในระดับมาก พลังสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับความสัมพันธ์น้อยกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (r=.438, p< .001)   สรุปผลการศึกษานักศึกษาพยาบาลมีความสามารถทางอารมณ์และจิตใจในการปรับตัวต่อสถานการณ์การระบาดไวรัสโคโรนา 2019 และมีพฤติกรรมการป้องกันระดับปัจเจกบุคคลอยู่ในระดับดี โดยทั้งสองปัจจัยมีความสัมพันธ์เชิงเส้นเชิงบวก ดังนั้นสถาบันการศึกษาควรทำการส่งเสริมนักศึกษาพยาบาลรับมือสถานการณ์การระบาดของเชื้อโรคในอนาคตต้องเสริมสร้างทั้งพลังสุขภาพจิต และพฤติกรรมการป้องกันตนเองควบคู่กันไป

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 [อินเตอรฺเน็ต]2564;503(วันที่ 20 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no503-200564.pdf

Kemenkes RI. Coronavirus Disease Coronavirus Disease ( COVID-19 ) Spreads. Minist Heal Repub Indones [Internet]. 2022;(October):1. Available from:https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/336034/nCoV-weekly-sitrep11Oct20-eng.pdf%0Ahttps://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/situation-reports/20200423-sitrep-94-covid-19.pdf

Fraenkel P, Cho WL. Reaching Up, Down, In, and Around: Couple and Family Coping During the Coronavirus Pandemic. Fam Process [Internet]. 2020 Sep 1;59(3):847–64. Available from: https://doi.org/10.1111/famp.12570

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อจัดการระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑) [อินเตอรฺเน็ต]. 2563; [เข้าถึงเมื่อ 17 พ.ย. 2565] : เข้าถึงทาง http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8115

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข [อินเตอรฺเน็ต]. 2563; ทีเอส อินเตอร์พริ้น จำกัด, นนทบุรี [เข้าถึงเมื่อ 17 พ.ย. 2565] : https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1150920210610033910.pdf

วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม. ประกาศวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม ฉบับที่ 1/2564 เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. 2564

ภัทรา เผือกพันธ์, กันยพัชร์ เศรษฐโชฏึก, ภาวิณี ซ้ายกลาง, (2565) ผลกระทบทางจิตใจจากการระบาดของโรคโควิด 19 ต่อนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาล [อินเตอร์เน็ต]., 71(4), 55-62, 2565

พีระนันท์ จีระยิ่งมงคล, พรรณ วงษ์น้อย, บุญตา สุขวดี อัจฉรา, สถิรกานต์ ทั่วจบ, ธัญญรัศม์ ดวงคา. ประสบการณ์การถูกกักตัวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด 19) ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ [อินเตอรฺเน็ต]. 2564;22(1):110–24. [เข้าถึงเมื่อ 17 พ.ย. 2565] เข้าถึงทาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/247546/168691

Denyes MJ, Orem DE, Bekel G. Self-Care: A Foundational Science. Nurs Sci Q. 2001;14(1):48–54

โสฬวรรณ อินทสิทธิ์, สิริกุล จุลคีร. เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต RQ: Resilience Quotient พาคุณก้าวผ่านวิกฤตและความไม่แน่นอนของชีวิตได้อย่างสง่างาม[อินเตอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 4. บริษัทบียอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. 2563;. [เข้าถึงเมื่อ 17 พ.ย. 2565] เข้าถึงทาง https://dmh.go.th/covid19/download/files/เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี%20RQ_63.pdf

ทัศนา ทวีคูณ พัชรินทร์ นินทจันทร์ โสภิณ แสงอ่อน ปัจจัยทำนายความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต 2555tnaph.org/wp/wp-content/uploads/2018/01/55-3.pdf

ละเอียด ศิลาน้อย, กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ. การใช้มาตรประมาณค่าในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม และการท่องเที่ยว. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2562;8(15):112–26.

Rutter, M. (1985). Resilience in the face of adversity. Protective factors and resistance to psychiatric disorder. British Journal of Psychiatry, 147, 598-611.

พัชรินทร์ นินทจันทร์. ความแข็งแกร่งในชีวิต แนวคิด การประเมิน และการประยุกต์ใช้. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพมหานคร: บริษัท จุดทอง จํากัด, ๒๕๕๘.

ปฐพร แสงเขียว ดุจเดือน เขียวเหลือง สิตานันท์ ศรีใจวงศ์ สืบตระกูล ตันตลานุกุล ปุณยนุช ชมคำ. ความเข้มแข็งทางใจ และการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล ในสถานการณ์การ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ. 2565;14(ม.ค.-มิ.ย.):62–77.

Labrague, L., & Ballad, C. A. (2020). Lockdown fatigue among college students during the covid-19 pandemic: predictive role of personal resilience, coping behaviours, and health. MedRxiv.

Temiz Z. Nursing students’ anxiety levels and coping strategies during the COVID-19 pandemic. Int Arch Nurs Health Care. 2020;6:150.

Masha'al D, Shahrour G, Aldalaykeh M. Anxiety and coping strategies among nursing students returning to university during the COVID-19 pandemic. Heliyon. 2022 Jan 1;8(1):e08734.

Zheng R, Zhou Y, Fu Y, Xiang Q, Cheng F, Chen H, Xu H, Wu X, Feng M, Ye L, Tian Y. Prevalence and associated factors of depression and anxiety among nurses during the outbreak of COVID-19 in China: A cross-sectional study. International journal of nursing studies. 2021 Feb 1;114:103809.

Zheng R, Zhou Y, Fu Y, Xiang Q, Cheng F, Chen H, Xu H, Wu X, Feng M, Ye L, Tian Y. Prevalence and associated factors of depression and anxiety among nurses during the outbreak of COVID-19 in China: A cross-sectional study. International journal of nursing studies. 2021 Feb 1;114:103809.https://doi.org/10.1016/j.ijnurstu.2020.103809PMid:33207297 PMCid:PMC7583612

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31