ผลการเปรียบเทียบการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ในระยะรอคลอดด้วยวิธีของ Dare และ Johnson

ผู้แต่ง

  • สุพันธินันท์ วรรณพฤกษ์ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
  • ปิยะนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เรืองศิริ ภานุเวศ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
  • จิตตานันท์ ศรีสุวรรณ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

         

        บทนำ: การคาดคะเนน้ำหนักทารกมีหลายวิธี การเลือกวิธีที่ถูกต้องจะส่งผลต่อการวางแผนการคลอดในหญิงตั้งครรภ์ได้เหมาะสมและอย่างปลอดภัย

        วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อเปรียบเทียบการคาดคะเนน้ำหนักตัวทารกในครรภ์ในระยะรอคลอดด้วยวิธีแบบแดร์และวิธีแบบจอห์นสัน กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์เดี่ยวที่มารอคลอด อายุครรภ์ระหว่าง 24-41+6 สัปดาห์และมีศีรษะทารกเป็นส่วนนำ จำนวน 200 คน โดยทุกรายจะได้รับการคาดคะเนความถูกต้องของน้ำหนักตัวทารกในครรภ์ทั้ง 2 วิธี โดยใช้สถิติ Exact probability test  สำหรับ  P-value estimated from Exact McNemar testหลังจากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับน้ำหนักทารกแรกคลอดด้วย Modified Bland-Altman’s plot

         ผลการวิจัย: พบว่ากรณีที่มีการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ได้น้อยกว่า 3,500 กรัม วิธีแบบแดร์สามารถประเมินน้ำหนักทารกในครรภ์ได้ใกล้เคียงกับน้ำหนักทารกแรกคลอดมากกว่าวิธีแบบจอห์นสัน โดยมีค่าที่แตกต่างกัน ± ไม่เกิน 200 กรัมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.020)   และเมื่อมีการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ได้มากกว่า 3,500 กรัม พบว่าวิธีการทั้ง 2 วิธี สามารถประเมินน้ำหนักทารกในครรภ์ได้ไม่แตกต่างกันเมื่อเทียบกับน้ำหนักทารกแรกคลอด (p=0.503) 

          สรุปผล: สามารถเลือกใช้วิธีแบบแดร์ ในการประเมินน้ำหนักตัวทารกในครรภ์ที่ไม่เกิน 3,500 กรัม ในน้ำหนักตัวของทารกแรกคลอดมากกว่าวิธีแบบจอห์นสัน

         ข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยครั้งนี้ พยาบาลประจำในห้องคลอดสามารถใช้เป็นแนวทางคัดกรองความเสี่ยงเบื้องต้นต่อภาวะคลอดติดไหล่หรือคลอดยาก โดยใช้การคาดคะเนน้ำหนักของทารกในครรภ์ระหว่างรอคลอด  หากพบว่าทารกในครรภ์น้ำหนักตัวมาก จะได้ใช้ประกอบการรายงานสูติแพทย์พิจารณาชนิดการคลอดต่อไป

References

อรพินทร์ เตชรังสรรค์ วันเพ็ญ สุขส่ง. การศึกษาเปรียบเทียบน้ำหนักทารกที่ได้จากผลคูณความสูงของมดลูก

กับเส้นรอบวงหน้าท้องมารดาที่ระดับสะดือ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

สภากาชาดไทย. วารสารการพยาบาลสภากาชาดไทย. 2561; 11(1): 161-169.

ขรรค์ชัย มลังไพศรพณ์. การบาดเจ็บของข่ายประสาทแขนในทารกแรกเกิด. วารสารกรมการแพทย์.

: 40(4); 20-23.

สถิติห้องคลอด โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. สรุปผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2560-2563.

ขจรศิลป์ ผ่องสวัสดิ์กุล. การคาดคะเนน้ำหนักทารกแรกเกิดโดยใช้ผลคูณระหว่างความสูงของมดลูกและ

เส้นรอบวงหน้าท้องมารดาที่ระดับสะดือเมื่อเจ็บครรภ์คลอด. พุทธราชเวชสาร. 2550; 24(1): 15-21.

Siddiqua. S.A, Deepthi, Bharath. A Comparative Study of Various Methods of Fetal Weight

Estimation at Term Pregnancy. JMSCR. [อินเตอร์เน็ต]. 2014.[เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 63]; 2(10):

-2748. เข้าถึงได้จาก: http://jmscr.igmpublication.org/v2-i10/35%20jmscr.pdf

ศิริรัตน์ สัตนา. การพัฒนาแนวทางการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอด

โรงพยาบาลบุณฑริก อ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี. TUH Journal online. 2563; 4(3): 49-54.

อังสนา วิศรุตเกษมพงศ์ สุภาพ ชอบขยัน. การศึกษาเปรียบเทียบการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ใน ระยะคลอดด้วยวิธีของ Dear และ Johnson แสดงความสัมพันธ์กับน้ำหนักทารกเมื่อแรกเกิด. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2563; 29(4); 637-645.

สุรัตน์ เอื้ออำนวย เทียรทอง ชาระ.การคาดคะเนน้ำหนักทารกด้วยวิธีการของจอห์นสันและแดร์. วารสารเกื้อการุณย์. 2563; 27(2 July – December); 155-163.

สุรีพร ศรีโพธิ์อุ่น ราตรี พลเยี่ยม ลำพงษ์ ศรีวงค์ชัย. ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสูงยอด มดลูกกับการ คาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ในผู้คลอดครรภ์ครบกำหนด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2564;15(38); 497-507.

ประไพรัตน์ แก้วศิริ ศิริพร เหมธุลิน พิมลพรรณ อันสุข. ผลการใช้นวัตกรรมสายวัด 2-in-1เพื่อคาดคะเน

น้ำหนักทารกแรกคลอดในสตรีตั้งครรภ์ระยะคลอด. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2564; 27(2):188-201.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29