การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิต และป้องกันปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน เขตสุขภาพที่ 8

ผู้แต่ง

  • ชญาน์นันท์ ศรีหาบุตร ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8
  • วีระพงษ์ เรียบพร ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8
  • อารยา ศรีสาพันธ์ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8
  • น้ำทิพย์ รัตนนิมิตร ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8
  • เกศรา เชิงค้า ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8
  • สุพัฒชัย ปราบศัตรู สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดำเนินสะดวก
  • ณัฏฐนันท์ โปธิ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1

คำสำคัญ:

การส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต, ผู้สูงอายุติดบ้าน

บทคัดย่อ

          วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
และประเมินรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ต่อดัชนีความสุขในผู้สูงอายุติดบ้านและความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง มีกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน 222 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เชิงคุณภาพ คือ ภาคีเครือข่ายสุขภาพ 204 คน รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม

          ผลการศึกษาพบว่า ระยะที่ 1 ผู้สูงอายุติดบ้านส่วนใหญ่พบปัญหาร่างกายไม่แข็งแรง ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต และควรเพิ่มกิจกรรมส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน ระยะที่ 2 ปฏิบัติการการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพจิตผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ดำเนินการคิดและขับเคลื่อนให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน เกิดเป็นรูปแบบ
“จิตสดใส หัวใจ 4 ดวง” ระยะที่ 3 หลังใช้รูปแบบการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพจิตผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน
เขตสุขภาพที่ 8 พบว่า สุขภาพจิตของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นหลังการเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p-value <0.05) และผู้เข้าร่วมมีความพึงพอใจหลังเข้าร่วมโครงการในระดับดีและดีมาก

References

United Nations. (2017). World population prospects : The 2017 revision. Retrieved from https://esa.un.org/unpd/wpp/Publications/Files/WPP2017_KeyFindings.pdf.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8 กระทรวงสาธารณสุข. (2561). ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2562 เขตสุขภาพที่ 8. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2563.

นริสา วงศ์พนารักษ์. (2556). การสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตใจในสังคมผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสาธารณ

สุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 160-164.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). การสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์

เจอร์นัลพับลิเคชั่น.

วสุธร ตันวัฒนุกุล. (2557). สุขภาพอนามัยชุมชนและกระบวนการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัมพร เบญจพลพิทักษ์, กาญจนา วณิชรมณีย์, และพรรณี ภาณุวัฒน์สุข. (2556). คู่มือ “ความสุข 5 มิติ สำหรับผู้สูงอายุ”. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อัญชิษฐฐา ศิริคำเพ็ง, และภักดี โพธิ์สิงห์. (2560). การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพึงในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17(3), 235-243.

เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์ และคณะ. (2544). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพและการให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ภายใต้เงื่อนไขการมีส่วนร่วมของชุมชนกรณีศึกษาจังหวัดสงขลา. รายงานการวิจัย. สงขลา:

มหาวิทยาลัยสงขลาราชนครินทร์.

สุกัญญา วัฒนประไพจิตร. (2561). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านหนองเส็ง ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทรงยศ แจ้งเจริญ. (2555). โปรแกรมกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้วัดส่งเสริมสุขภาพ

เป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กานต์วรี กอบสุข. (2554). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านโคก

บรรเลง ตำบลบุฤาษี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหา

บัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิโชติ ภาพผิวดี. (2556). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยภาคีผู้สูงอายุในชุมชนบ้าน

หนองเสือ ตำบลศรีสุข ไม่บรรณานุกรมอีก อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30