การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา มีนาสันติรักษ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ชาลี ศิริพิทักษ์ชัย วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ณัฐวุฒิ สุริยะ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

เว็บแอพพลิเคชั่น, การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน, เบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

บทคัดย่อ

        

บทนำ: ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ส่งผลให้โรครุนแรงขึ้น หากนำความสะดวกทางเทคโนโลยีมาใช้มีแอปพลิเคชันที่สะดวกต่อการดูแลตนเอง จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลได้มากขึ้น

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยและพัฒนาดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การสร้างและพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น

โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเบาหวาน พยาบาล ผู้ป่วยและญาติที่ดูแล นำมาสร้างเว็บแอพพลิเคชั่นแล้วเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างเว็บแอพพลิเคชั่นพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะ ขั้นที่ 2 นำเว็บแอพพลิเคชั่นไปใช้และประเมินผล ทดลองใช้กับผู้ป่วยเบาหวานในจังหวัดมหาสารคาม 12 คน พยาบาลผู้รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยใน รพ.สต 4 คน เครื่องมือรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความพึงพอใจต่อเว็บแอพพลิเคชั่น วิเคราะห์โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัย: 1) ได้เว็บแอพพลิเคชั่นในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีฟังก์ชันการทำงาน 2 ส่วน สำหรับพยาบาลและสำหรับผู้ป่วย 2) การประเมินคุณภาพด้านความสะดวกของผู้ป่วยในการดูผลจากเว็บแอพพลิเคชั่นพบว่าดีมาก 3) การประเมินความพึงพอใจต่อเว็บแอพพลิเคชั่นพบว่าพยาบาลและผู้ป่วยมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด และ มาก (Mean = 4.52, SD.= 0.56 และ Mean = 4.39, SD.= 0.48 ตามลำดับ)

สรุปผล: เว็บแอพพลิเคชั่นนี้มีความเหมาะสมที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

ข้อเสนอแนะ: การใช้เว็บแอพพลิเคชั่นนี้มีข้อมูลช่วยปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ทำกิจกรรม ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตนเอง นำไปสู่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น 

References

International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas 2021–10th edition. Diabetes around the world

in 2021, 2021.[อินเทอร์เน็ต].(เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2565); เข้าถึงได้จาก: https://diabetesatlas.org/

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.รณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2564 ตระหนักถึงการดูแลรักษาโรคเบาหวาน ให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง. 2564. [อินเทอร์เน็ต]. (เข้าถึงเมื่อ 2 กันยายน 2566); เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่3. ปทุมธานี :

ร่มเย็น มีเดียจำกัด; 2560.

ปรีชา เปรมปรี ใน กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก. 2565.

[อินเทอร์เน็ต].(เข้าถึงเมื่อ7 เมษายน 2566); เข้าถึงได้จาก:https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/

คลังสาธารณะสุขระดับกระทรวง. รายงานร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวาน ปี 2560- 2565. 2565. [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึง

เมื่อ 7 เมษายน 2566); เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/search.php?search=เบาหวาน

นิอร สิริมงคลเลิศกุล, ชมพุนุท สิงห์มณี, ธัญพร รัตนวิชัย, ศราวุธ พงษ์ลี้รัตน์. การพัฒนาแอปพลิเคชันติดตาม

ผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชน. เวชสารแพทย์ทหารบก. 2563;73(3):141-50.

พรเทพ ด่านน้อย, อุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา, ไพศาล สิมาเลาเต่า. การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อให้บริการผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. งานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 11 – 12 กรกฎาคม 2562. 2562;293-302

จุฬาวลี มณีเลิศ. ระบบติดตามและแจ้งเตือนผู้ป่วยโรคเรื้อรังกรณีเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่เทศบาล

เมือง เมืองแกนพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 2562

Brzan PP, Rotman E, Pajnkihar M, Klanjsek P. Mobile applications for control and self

management of diabetes: a systematic review. Journal of medical systems. 2016;40(9):1-10.

Fu H, McMahon SK, Gross, CR, Adam TJ, Wyman JF. Usability and clinical efficacy of diabetes

mobile applications for adults with type 2 diabetes: A systematic review. Diabetes research and clinical practice. 2017;131:70-81.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ขนาดอิทธิพล การวิเคราะห์อำนาจ การคำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรม

G*Power. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น; 2560.

Veazie S, Winchell K, Gilbert J, Paynter R, Ivlev I, Eden KB, Helfand M. Rapid evidence review of

mobile applications for self-management of diabetes. Journal of general internal medicine. 2018; 33: 1167-76.

ยุวนุช กุลาตี, พัชรนิกานต์ พงษ์ธนู, ชินาพัฒน์ สกุลราศรี. แอปพลิเคชันบนมือถือสำหรับดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

การศึกษาพฤติกรรมในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศรีปทุม. 2562;11(1),7-22.

Goyal S, Morita P, Lewis GF, Yu C, Seto E, Cafazzo JA. The systematic design of a behavioral

mobile health application for the self-management of type 2 diabetes. Canadian journal of diabetes. 2016;40(1):95-104.

Wenger NK, Williams OO, Parashar S. SMARTWOMAN™: feasibility assessment of a smartphone

APP to control cardiovascular risk factors in vulnerable diabetic women. Clinical Cardiology. 2019;42(2):217-21

Huang Z, Tan E, Lum E, Sloot P, Boehm BO, & Car J. A smartphone app to improve medication

adherence in patients with type 2 diabetes in Asia: feasibility randomized controlled

trial. JMIR mHealth and uHealth. 2019;7(9):e14914.

Lee EY, Cha SA, Yun JS, Lim SY, Lee JH, Ahn YB, Ko SH. Efficacy of Personalized Diabetes self- care using

an electronic medical record–integrated mobile app in patients with type 2 diabetes: 6-month

randomized controlled trial. Journal of Medical Internet Research. 2022;24(7):e37430.

Beck J, Greenwood DA, Blanton L, Bollinger ST, Butcher MK, Condon JE, Wang J. 2017 National

standards for diabetes self-management education and support. The Diabetes Educator. 2018;44(1):35-50.

Karhula T, Vuorinen AL, Rääpysjärvi K, Pakanen M, Itkonen P, Tepponen M, Saranummi N.

Telemonitoring and mobile phone-based health coaching among Finnish diabetic and heart disease patients: randomized

controlled trial. Journal of medical Internet research. 2015;17(6):e153.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29