การเสริมพลังชุมชนกับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • คอรีเย๊าะ เลาะปนสา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พัชรินทร์ คมขำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุชาดา เจะดอเลาะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การเสริมพลังชุมชน, การสร้างเสริมสุขภาพ, การป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

บทคัดย่อ

บทนำ: การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดอัตราป่วยและเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ การเสริมพลังชุมชนเป็นหนึ่งในกลวิธีสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา 1) แนวคิดการเสริมพลังชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และ 2) วิธีการหรือแนวทางในการเสริมพลังชุมชนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  

          ประเด็นสำคัญ: แนวทางในการเสริมพลังชุมชน ประกอบด้วย 1) การเตรียมความพร้อมของชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2) การสร้างความตระหนักรู้เพื่อให้เห็นความสำคัญของปัญหา 3) การขับเคลื่อนดำเนินงานการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามแผน และ 4) การกำหนดมาตรการและข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนรับทราบและปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

          สรุป:การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้ประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนนั้น เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของบุคคล ร่วมกับการพัฒนาศักยภาพและการมีส่วนร่วมของชุมชนชุมชน เพื่อให้ชุมชนเกิดความตระหนักในปัญหา เข้าใจปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยู่ รวมถึงช่วยกันกำหนดเป้าหมายเพื่อให้รู้ถึงวิธีการที่จะช่วยแก้ปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของแต่ละชุมชน อันจะนำไปสู่ผลลัพธ์การเกิดชุมชนสุขภาวะต่อไป

          ข้อเสนอแนะ: บุคลากรสาธารณสุขหรือทีมสุขภาพสามารถนำแนวคิดการเสริมพลังชุมชนไปใช้สำหรับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนได้ โดยประยุกต์ใช้แนวทางหรือวิธีการเสริมพลังชุมชนที่สอดคล้องกับบริบท วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของพื้นที่เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ มีการติดตามและประเมินผลประสานการทำงานอย่างต่อเนื่อง

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD clinic plus [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 16 ม.ค. 2566]. เข้าถึงได้

จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1376920230127075004.pdf

ขนิษฐา กู้ศรีสกุล, ณัฐพัชร์ มรรคา, และกนิษฐา บุญธรรมเจริญ. การศึกษาสถานการณ์และพยากรณ์การตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อตามเป้าหมาย

ระดับโลก พ.ศ. 2543-2573. ว.วิจัยระบบสาธารณสุข 2566;17:228-241.

รักชนก จันทร์เพ็ญ. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในคลินิกความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลดําเนินสะดวก จ.ราชบุรี.

วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต 2564;1:20-30.

สายชล คล้อยเอี่ยม. เสริมพลังอำนาจชุมชนต้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและโรคอุบัติใหม่ด้วยชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ : อะไร อย่างไร และทำไม?. วารสารการส่ง

เสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2565; 45: 10-23.

World Health Organization. Global action plan for the prevention and control of noncommunicable diseases 2013–2020. [Internet].

[cited 14 Nov 2022]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789241506236

World Health Organization. Milestones in health promotion: statements from global conference. [Internet]. [cited 4 Nov 2022].

Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-NMH-CHP-09.01

Boonyasopun, U. Ways of promoting a healthy community: A critical ethnography of rural Thai women, [Unpublished doctoral

thesis]. USA: University of Maryland. Baltimore; 2000.

คอรีเย๊าะ เลาะปนสา, อุมาพร ปุญญโสพรรณ, และปิยะนุช จิตตนูนท์. การพัฒนาโปรแกรมเสริมพลังชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อ

ป้องกันไขมันในเลือดสูง ในสตรีมุสลิมกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงเสี่ยงต่อภาวะไขมันในเลือดสูง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2563;40:23-36.

V Mohan, CS Shanthirani, M Deepa, Manjula Datta, OD Williams, R Deepa. Community Empowerment - A Successful Model for

Prevention of Non-communicable Diseases in India - The Chennai Urban Population Study (CUPS - 17). Journal of the Association of

Physicians of India. 2006 Nov; 54: 858-862

Fatwa Sari Tetra Dewi. Working with community Exploring community empowerment to support non-communicable disease

prevention in a middle-income country. Department of Public Health and Clinical Medicine Epidemiology and Global Health, Umea

University, Sweden. 2013

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย 2566: คำสัญญาของไทยใน “คอป”(COP: Conference of Parties) กับการ

รับมือ“โลกรวน”. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2566.

Golden SD, Earp JA. Social ecological approaches to individuals and their contexts: twenty years of health education & behavior

health promotion interventions. Health Education & Behavior. 2012 Jun;39(3):364-72. doi: 10.1177/1090198111418634. Epub 2012 Jan

PMID: 22267868

สุปรีชา แก้วสวัสดิ์, ทัศณุ เรืองสุวรรณ์, พิมลพรรณ ศรีสงคราม, และปรีดา ไก่แก้ว. การพัฒนาตำบลสุขภาวะ: กรณีศึกษาตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัด

นครศรีธรรมราช. วารสารวิชากาสาธารณสุข 2558;24:659-669.

เอกศักดิ์ เฮงสุโข. ศักยภาพของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

;10:129-142.

ภาคภูมิ ภัควิภาส และรัฐนันท์ พงศ์วิริทธิธร. แนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อให้เป็นชุมชนน่าอยู่: กรณีศึกษาดอยปูหมื่น. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนา

ชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2558;8:108-121.

วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล, นุกูล ชิ้นฟัก, อดิศักดิ์ หวานใจ, และคณะ. ปัญหา อุปสรรค และผลการดำเนินโครงการบริการสร้างเสริมสุขภาพ กรณีศึกษาโครงการ

คัดกรองความเสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้นำศาสนาอิสลาม และประชาชนเขตรอบมัสยิดในเขต 12 สงขลา.

การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13. 2565. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 เม.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก:

https://www.hu.ac.th/Conference/conference2022/proceedings/doc.pdf

กาญจนา พรหมทอง. ผลของโปรแกรมเสริมพลังชุมชนต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน. วิทยานิพนธ์

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 2562.

สุดสิริ หิรัญชุณหะ, วนิภา ทับเทิง, มณฑา ทองตำลึง, ออฤทัย สุรีหลวงขจร และกาญจน์สุนันท์ บาลทิพย์. รูปแบบการเสริมสร้างพลังการมีส่วนร่วมของ

ครอบครัวและชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยง: กรณีศึกษา ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพยอม จังหวัด

พัทลุง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2564;41:115-127.

พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ. การติดตามและประเมินผลชุมชนเข้มแข็ง. สถาบันการจัดการระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2558. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ

เม.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://mehealthpromotion.com/upload/forum/mebook_FWHN.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30