ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมน้ำหนักตัวของนักเรียนหญิงมัธยมปลาย ในจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • มนชยา สมจริต คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • มุกข์ดา ผดุงยาม คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

บทคัดย่อ

       

บทนำ: นักเรียนหญิงมัธยมปลายที่มีพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตัวที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดปัญหาทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้

          วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาการควบคุมน้ำหนัก และปัจจัยทำนายพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตัวของนักเรียนหญิงมัธยมปลายในจังหวัดเพชรบุรี

           ระเบียบวิธีวิจัย:การวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นหญิงอายุ 15-18 ปี ชั้นมัธยมศึกษาที่ 4 – 6 จำนวน 140 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 114 ชุด วิเคราะห์สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุแบบขั้นตอน

          ผลการวิจัย: นักเรียนหญิงส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตัวอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 57.8 , SD = 3.25 ) ปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ความรู้สึก วัตถุสิ่งของ ค่าใช้จ่าย และการได้รับคำแนะนำข้อมูลข่าวสารในการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายจากครอบครัว เพื่อน ครู บุคลากรสาธารณสุข และสื่อต่างๆ สามารถทำนายพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตัวได้ร้อยละ 7.1 

           สรุปผล:  ผลการวิจัยนำมาใช้สร้างเสริมสุขภาพโดยใช้แรงสนับสนุนทางสังคมด้านการให้คำแนะนำข้อมูลข่าวสารบนความร่วมมือของนักเรียน ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน เพื่อให้เกิดกิจกรรมการควบคุมน้ำหนัก โดยเริ่มตั้งแต่นโยบายการให้ความรู้ การป้องกันปัญหาจากภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ควบคุมการผลิตและบริโภคสื่อที่สร้างพฤติกรรมการกินที่ไม่ถูกต้อง การสร้างเสริมพลังอำนาจให้แก่นักเรียนให้จัดกิจกรรมส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโภชนาการของตนเอง การสร้างแรงจูงใจครู ผู้ปกครอง และนักเรียนให้เป็นแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักอย่างต่อเนื่อง และมีการติดตามประเมินผลอย่างจริงจัง 

          ข้อเสนอแนะ: ควรมีการสนับสนุนให้โรงเรียนหรือชุมชนมีการจัดตั้งให้มีการจัดกิจกรรมการให้ข้อมูลข่าวสารในการส่งเสริมสุขภาพ และให้นักเรียนมีส่วนร่วม

References

สกุณา บุญนรากร. การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. สงขลา: เทมการพิมพ์; 2555.

มนชยา สมจริต, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, พัชราพร เกิดมงคล, อาภาพร เผ่าวัฒนา, สิริประภา กลั่นกลิ่น .ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมน้ำหนักตัวของนักเรียนหญิงมัธยมปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. 2556; 2:1-17.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. [อินเตอร์เน็ต] .2562 [เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/ 1035820201005073556.pdf

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ก้าวต่อไปกับการจัดการปัญหาโรคอ้วนในเด็กไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. รายงานการรับการตรวจราชการและนิเทศงานกระทรวงสาธารณสุข รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2563 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี.เพชรบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี; 2563.

รายงานสถิติข้อมูลระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานร้อยละของเด็กมัธยมศึกษาปีที่4-6 ปี 2567. [อินเตอร์เน็ต] .2567 [เข้าถึงเมื่อ 3 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก HDC - Dashboard (moph.go.th)

จามจุรี แซ่หลู่, นภาวรรณ วิริยะศิริกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกัน โรคอ้วน ของเด็กวัยเรียนที่เริ่มอ้วนและอ้วนในโรงเรียน ที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2563;7: 1-15.

กมลวรรณ สุวรรณ, สุชาดา เจะดอเลาะ, ชนิกานต์ สมจารี, พัชรินทร์ คมขำ, ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในเด็กมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดยะลา. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2564; 1:40-51.

Green, L.W. and Kreuter, M.W. Health Promotion Planing An Educational and Ecologjcal Approach. 3rd ed. California:Mayfield Publishing Company; 1999.

ภัทรา ซูริค. การสร้างเสริมสุขภาพ: แนวคิด ทฤษฎี และนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กรีนไลฟ์ พริ้นติ้ง เฮาส์; 2560.

รัตน์ศิริ ทาโต. การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์:แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561

สิรินทร์ยา พูลเกิด และคณะ. (2563). โครงการพัฒนางานวิจัยเชิงนโยบายเพื่อลดปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สิรภัทร สถิรนันท์. การศึกษาปัจจัยจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการลดน้ำหนักที่เหมาะสมของวัยรุ่น[วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2562.

จินตนา วัชรสินธุ์, กิจติยา รัตนมณี, ณัชนันท์ ชีวานนท์. การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกินในเขตชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (ระยะที่ 1) [โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ 2559}. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. การส่งเสริมสุขภาพของวัยรุ่นโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุมชลบุรี. 2564; 1:21-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30