การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อส่งเสริมการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

ผู้แต่ง

  • วนิดา ทองแท้ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน
  • เกศกัญญา ไชยวงศา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พุทธิดา จันทร์สว่าง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

บทคัดย่อ

        บทนำ:  มารดาหลังคลอดที่มีการหลั่งของน้ำนมได้ดี จะลดปัญหาการคัดตึงเต้านม และอาการตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

       วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อส่งเสริมการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด

        ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ทีมสหวิชาชีพ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลมารดาหลังคลอด 2) มารดาหลังคลอดที่มารับบริการที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลเดือนกรกฎาคม – เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อส่งเสริมการไหลของน้ำนม 2) แบบบันทึกการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

     ผลการวิจัย พบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อส่งเสริมการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด  แบ่งเป็นแนวปฏิบัติในระยะคลอดและระยะหลังคลอด ทารกแรกเกิดมีอาการตัวเหลืองหลังคลอดที่ต้องได้รับการส่องไฟรักษา ร้อยละ 8.3 ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนม คือ 9.93 ชั่วโมง (SD=12.17) ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้าคือ 48.79 ชั่วโมง (SD=15.34) ปริมาณน้ำนมก่อนใช้แนวปฏิบัติอยู่ในระดับน้ำนมไม่ไหลร้อยละ 40.08 ภายหลังคลอดครบ 48 ชั่วโมง ปริมาณน้ำนมที่มีระดับน้ำนมไม่ไหลลดลงเหลือร้อยละ  0.40 และปริมาณน้ำนมส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้ำนมเริ่มไหลร้อยละ 56.35 รองลงมาอยู่ในระดับน้ำนมไหลแล้วร้อยละ 24.21 แนวปฏิบัติที่พัฒนาโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพช่วยส่งเสริมการไหลของน้ำนมเร็วขึ้น ปฏิบัติตามได้ง่าย

     สรุปผล: ได้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกที่สามารถทำได้ง่าย เกิดผลลัพธ์การหลั่งน้ำนมที่มีประสิทธิภาพและอาการตัวเหลืองของทารกลดลง  

     ข้อเสนอแนะ: พยาบาลผดุงครรภ์และสหสาขาวิชาชีพควรร่วมกันวางแผนในการเตรียมความพร้อมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสตรีตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด ให้มีประสิทธิผลมากขึ้น

References

จันทรรัตน์ เจริญสันติ อำไพ จารุวัชรพาณิชกุล และอภิรัช อิทรางกูล ณ อยุธยา. การพยาบาลและการผดุงครรภ์ : สตรีในระยะตั้งครรภ์. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา. 2563.

คฑาวุธ เกษาพันธ์, จันทร์สุดา เลพล, จุฑามาศ เกตแก้ว, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, เจษฎาภรณ์ พงษ์เพชร, ฉวีวรรณ เจียมรัมย์, ตะวันฉาย ลินลา, ปัณณธร สุวรรณฑา & วิรตี เชื่อมั่น. การนวดเเละการประคบเต้านมเพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิจัยนวัตกรรมและหลักฐานเชิงประจักษ์ทางสุขภาพ. 2565;. 1: 1-14.

ลำพงษ์ ศรีวงค์ชัย, จันทร์เพ็ญ ชินคำ, อัจฉรา วริลุน, & สุรีพร ศรีโพธิ์อุ่น. การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วย นมแม่ในมารดาหลังคลอดบุตรคนแรกและครอบครัว. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2564; 18: 99-112.

อังสนา ศิริวัฒน เมธานนท์, ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์, & โสภา บุตรดา. ผลของการนวดเต้านมต่อการแก้ไขปัญหาท่อ น้ำนมอุดตันในมารดาระยะให้นมบุตร. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2566; 29: e264608 p1-19.

Huang Y, Liu Y, Yu X, & Zeng T. The rates perceived supply: A systematic review. Maternal & Child Nutrition. 2022; 18: 1-13. doi: 10.1111/mcn.13255

นพรัตน์ ธาระณะ. การรับรู้ปริมาณน้ำนมแม่ไม่เพียงพอในมารดาหลังคลอด: ความท้าทายของพยาบาล. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2566; 50: 267-279.

ศศิธารา น่วมภา, พรนภา ตั้งสุขสันต์, วาสนา จิติมา, & กันยรักษ์ เงยเจริญ. การนวดเต้านมเพื่อส่งเสริม และแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: การปฏิบัติพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์. Nursing Science Journal of Thailand. 2563; 38: 4-21.

มัชฌิมา ตรีนุชกร, รัฐศาสตร์ เด่นชัย, บัวกาญจน์ กายาผาด, สุวนันท์ ผองแก้ว& เขมกัญญา อนันต์. ประสิทธิผลของการนวดกระตุ้นเต้านมต่อการไหลของน้ำนมในหญิงหลังคลอด. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565; 31: 269-279.

Namchaitaharn S, Pradubwong S, Surit P, Chowchuen B. Development clinical practice for nurses in breastfeeding promotion for infants with Cleft Lip and Palate Srinagarind Hospital Northeastern Thailand. J Med Assoc Thai. 2019;102(Suppl.5): 50-3.

เนรัญชรา แสงทักษิณ & ธวัชชัย กมลธรรม. ความพึงพอใจของมารดาหลังคลอดที่รับการกระตุ้นน้ำนมด้วยการนวดประคบด้วยลูกประคบสมุนไพรและรับประทานยาสมุนไพรกระตุ้นน้ำนมสูตรโรงพยาบาลสิงหนคร จังหวัดสงขลา. In Proceeding National & International Conference 2021; 14, No. 2, p. 608.

เบญจวรรณ ละหุการ, มลิวัลย์ รัตยา, ทัศณีย์ หนูนารถ, นุสรา มาลาศรี & กาญจนีย์ รัตนถาวร. ผลของโปรแกรมการนวดเต้านมด้วยตนเองต่อการไหลของน้ำนมในมารดาผ่าตัดคลอด. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 2564; 6: 100-111.

มารียา มะแซ, ศศิกานต์ กาละ, วรางคณา ชัชเวช. ผลของโปรแกรมการนวดเต้านมด้วยตนเองต่อการไหลของน้ำนมในมารดาครรภ์แรก. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราช-นครินทร์ 2562;11(3):1-14.

อุทัยทิพย์ เจี่ยวิวรรธน์กุล. การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม: แนวคิด หลักการและบทเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. โครงการการวิจัยประเมินผลและการสังเคราะห์องค์ความรู้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมของมูลนิธิสยามกัมมาจลในครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ของเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) และโครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง. จำกัด; 2553.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่10. กรุงเทพฯ:บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด. 2560

จงลักษณ์ ทวีแก้ว, กัลยา บัวบานและปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์. เนื้อแนบเนื้อสัมผัสแรกรักจากแม่สู่ลูก : ความสำคัญและการปฏิบัติ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. 2562; 3: 1-10.

สิริเพ็ญ มาตา, & จันทร์เพ็ญ ธรรมพร. ผลของการนวดกระตุ้นการไหลของน้ำนมและประคบสมุนไพรในมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2023; 6: 59-71.

กฤษณา ปิงวงศ์ & กรรณิการ์ กันธะรักษา. การนวดเต้านมเพื่อส่งเสริมการสร้างและการหลั่งน้ำนม. พยาบาลสาร. 2560; 44: 169-176

ขนิษฐา ผลงาม, & รัชนาถ มั่นคง. ผลการนวดประคบเต้านมด้วยเจลความร้อนชื้นร่วมกับการกระตุ้นหัวนม และลานนมต่อการหลั่งน้ำนมครั้งแรกและปริมาณการไหลของน้ำนมในมารดาผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้า ท้องที่มีทารกป่วย. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 2564; 14: 156-169.

กนกวรรณ โคตรสังข์, ศิริวรรณ แสงอินทร์, อุษา เชื้อหอม. ผลของโปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้าและการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัด คลอดบุตรทางหน้าท้อง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559, 24.1: 13-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30