ผลของโปรแกรมให้คำปรึกษาแบบมีส่วนร่วมตัดสินใจต่อการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

ผู้แต่ง

  • นภาลัย แสงโพธิ์ โรงพยาบาลวานรนิวาส
  • มงคล วารีย์ โรงพยาบาลวานรนิวาส
  • อัญญาณี ฮองต้น โรงพยาบาลวานรนิวาส
  • ชัญญาวีร์ ไชยวงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองกลุ่มเดียววัดผลเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบมีส่วนร่วม ต่อการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไต (Renal Replacement Therapy: RRT) ตามแนวคิดของเอลวินและคณะ Elwyn et al. (2017) เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ โปรแกรมฯ ประกอบด้วย 1) การสนทนาเป็นทีม (Team talk) เป็นกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ป่วยและญาติ และทีมสุขภาพเพื่อพิจารณาทางเลือกในการรักษา และเป้าหมายของผู้ป่วย 2) การสนทนาทางเลือก (Option talk) เป็นการให้ความรู้ ข้อเสนอแนะทางเลือกฯ ความแตกต่าง ข้อดี ข้อเสีย โดยการพิจารณาความเสี่ยง และ 3) การสนทนาเพื่อการตัดสินใจ (Decision talk) เป็นการสะท้อนผลลัพธ์และผลกระทบของแต่ละทางเลือกฯ ที่ผู้ป่วยสนใจ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายจำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินความรู้และการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที (paired t-test) ผลการวิจัยพบว่าหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมให้คำปรึกษาแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย และค่าเฉลี่ยการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดรักษาทดแทนไตที่เหมาะสมกับผู้ป่วยสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ทั้งนี้เนื่องจาก โปรแกรมมีการเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และมีการกำหนดเป้าหมายสุขภาพของผู้ป่วยร่วมกับผู้ป่วย ญาติและทีมสุขภาพ นอกจากนนี้ ผู้ป่วยและญาติมีการรับรู้ความสามารถแห่งตน และสามารถลดความขัดแย้งในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ทีมสุขภาพสามารถนำโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบมีส่วนร่วมไปใช้ในการให้คำปรึกษาเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดรักษาทดแทนไตแก่ผู้ป่วยและญาติ

References

Novak, M., Costatini, L., Schneider, S. & Beanlands, H. (2013). Approaches to Self-Management in Chronic Illness. Seminars in Dialysis, 26 (2), 188–194.

พงศธร คชเสนี และ เกรียง ตั้งสง่า. (2562). ระบาดวิทยาของโรคไตเรื้อรังและขอบข่ายของปัญหาในประเทศไทย: ความรุนแรงของโรคและผลกระทบทางเศรษฐกิจ. ใน สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ. (บรรณาธิการ). ตำราโรคไตเรื้อรัง. (หน้า 1-23). กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น.

ศรินยา บุญเกิด, ชาครีย์ กิติยากร และ เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์. (2562). การประเมินการทำงานของไตทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการในโรคไตเรื้อรัง. ใน สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ. (บรรณาธิการ). ตำราโรคไตเรื้อรัง. (หน้า 1-23). กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น.

สกานต์ บุนนาค. (2559). การประชุมวิชาการโรคไต 2016 ร่วมกันดูแลไต เชื่อมโยงไทยดูแลโรคเรื้อรัง. กรุงเทพฯ.

เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์. (บรรณาธิการ). (2556). ตำราแนวปฏิบัติการล้างไตทางช่องท้อง. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์ พริ้นท์.

Bezerra, I. C., Silva, C. B., & Elias, M. R. (2018). Decision-making process in the pre-dialysis CKD patients:Do anxiety, stress and depression matter. Biomed Central Nephrology, 19(98), 1-6.

Shi, Y., Li, W., Duan, F., Pu, S., Peng, H., Ha, M., & Luo, Y. (2022). Factors promoting shared decision-making in renal replacement therapy for patients with end-stage kidney disease: systematic review and qualitative meta-synthesis. International urology and nephrology, 54(3), 553–574.

Verberne, W. R., Stiggelbout, A. M., Bos, W. J. W., & van Delden, J. J. M. (2022). Asking the right questions: towards a person-centered conception of shared decision-making regarding treatment of advanced chronic kidney disease in older patients. BMC medical ethics, 23(1), 47.

HO, Ya-Fang; CHEN, Yu-Chi; HUANG, Chiu-Chin; HU, Wen-Yu; LIN, Kuan-Chia; LI, I-Chuan. (2020).The Effects of Shared Decision Making on Different Renal Replacement Therapy Decisions in Patients With Chronic Kidney Disease. Journal of Nursing Research 28(4):p e109.

Hsiao, SM., Kuo, MC., Hsiao, PN. et al. (2023). Shared decision-making for renal replacement treatment and illness perception in patients with advanced chronic kidney disease. BMC Med Inform Decis Mak 23, 1-11.

Ryan, R. M., & Deci, E. L. (2017). Self-determination theory basic psychological needs in motivation, development, and wellness. New York: The Guilford Press.

Song, M.K., Lin, F.C., Gilet, C. A., Arnold, R. M., Bridgman, J. C., & Ward, S. E. (2013). Patient perspectives on informed decision-making surrounding dialysis initiation. Nephrol Dial Transplant, 28, 2815-2823

กิจจลักษณ์ แสงเงิน. (2565). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิเสธการบำบัดทดแทนไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย โรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร, 6 (2), 102-114.

Griffin, B. R., Liu, K. D., & Teixeira, J. P. (2021). Critical Care Nephrology: Core Curriculum 2020. American journal of kidney diseases : the official journal of the National Kidney Foundation, 75(3), 435–452.

Kim, J. E., Park, W. Y., & Kim, H. (2023). Renal Replacement Therapy For Elderly Patients with ESKD Through Shared Decision-Making. Electrolyte & blood pressure : E & BP, 21(1), 1–7.

Elwyn, G., Durand, M. A., Song, J., Aarts, J., Barr, P. J., Berger, Z., Cochran, N., Frosch, D., Galasiński, D., Gulbrandsen, P., Han, P. K. J., Härter, M., Kinnersley, P., Lloyd, A., Mishra, M., Perestelo-Perez, L., Scholl, I., Tomori, K., Trevena, L., Witteman, H. O., … Van der Weijden, T. (2017). A three-talk model for shared decision making: multistage consultation process. BMJ (Clinical research ed.), 359, j481.

https://doi.org/10.1136/bmj.j4891

Lindberg, J., Johansson, M., & Broström, L. (2019). Temporising and respect for patient

self-determination. Journal of Medical Ethics,45(3):161–167.

วรรณา เสริมกลิ่น และชื่นฤทัย ยี่เขียน. (2563). ผลของโปรแกรมให้คำปรึกษาก่อนการบำบัดทดแทนไตต่อการ ยอมรับการบำบัดทดแทนไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย. วารสารสภากาชาดไทย, 13 (2), 208-223.

รัชนี ทิพย์สูงเนิน. (2563). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อการเลือกวิธีบำบัดทดแทนไตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุข วชิระภูเก็ต, 1-16.

พัชรี สังข์สี, ยุพิน ถนัดวณิชย์, วัลภา คุณทรงเกียรติ และ สายฝน ม่วงคุ้ม. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไต ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25 (3), 53-65

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, G. A., & Buchner, A. (2007). G*power: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30