การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์การบริหารยาเคมีบำบัดกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะภูมิไวเกิน

ผู้แต่ง

  • ทรรศนีย์ นครชัย โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี
  • สุเมธา ขวัญส่ง โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี จังหวัด อุดรธานี

บทคัดย่อ

บทนำ: ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ส่งผลให้โรครุนแรงขึ้น หากนำความสะดวกทางเทคโนโลยีมาใช้มีแอปพลิเคชันที่สะดวกต่อการดูแลตนเอง จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลได้มากขึ้น

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยและพัฒนาดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การสร้างและพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นโดยรวบรวมข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเบาหวาน พยาบาล ผู้ป่วยและญาติที่ดูแล นำมาสร้างเว็บแอพพลิเคชั่นแล้วเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างเว็บแอพพลิเคชั่นพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะ ขั้นที่ 2 นำเว็บแอพพลิเคชั่นไปใช้และประเมินผล ทดลองใช้กับผู้ป่วยเบาหวานในจังหวัดมหาสารคาม 12 คน พยาบาลผู้รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยใน รพ.สต 4 คน เครื่องมือรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความพึงพอใจต่อเว็บแอพพลิเคชั่น วิเคราะห์โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย: 1) ได้เว็บแอพพลิเคชั่นในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีฟังก์ชันการทำงาน 2 ส่วน สำหรับพยาบาลและสำหรับผู้ป่วย 2) การประเมินคุณภาพด้านความสะดวกของผู้ป่วยในการดูผลจากเว็บแอพพลิเคชั่นพบว่าดีมาก 3) การประเมินความพึงพอใจต่อเว็บแอพพลิเคชั่นพบว่าพยาบาลและผู้ป่วยมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด และ มาก (Mean = 4.52, SD.= 0.56 และ Mean = 4.39, SD.= 0.48 ตามลำดับ)

สรุปผล: เว็บแอพพลิเคชั่นนี้มีความเหมาะสมที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

ข้อเสนอแนะ: การใช้เว็บแอพพลิเคชั่นนี้มีข้อมูลช่วยปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ทำกิจกรรม ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตนเอง นำไปสู่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น 

References

กรมการแพทย์. สธ.ชวนให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็ง หยุดส่งต่อข้อมูลเท็จด้านโรคมะเร็ง เนื่องในวันมะเร็งโลก. [อินเทอร์เน็ต] 2563 [เข้าถึงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dms.go.th/ Content/ Select_ Landing_ page?contentId=38797.

งานทะเบียนมะเร็งโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. Hospital Based Cancer Registry 2022. อุดรธานี: โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี; 2564.

งานการพยาบาลผู้ป่วยนอกเคมีบำบัด. สถิติผู้ป่วยรับบริการให้ยาเคมีบำบัด. อุดรธานี: โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี; 2565.

สายฝน เตวิชัย. ระบาดวิทยาของการเกิดภาวะภูมิไวเกินจากการใช้ยา paclitaxel ในโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง ปี 2556-2558. ลำปาง: โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง; 2558.

ธนะบุญ ประสานนาม. ผื่นแพ้ทางผิวหนังในผู้ป่วยมะเร็งจากการได้รับยาเคมีบำบัดศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลราชบุรี. ว. วิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2564; 5(10):55-63.

กำจัด ปวนไฝ, ณัฐธยาน์ สุวรรณคฤหาสน์, ขวัญฟ้า ตันติวุฒิ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะภูมิไวเกินจากยาแพคลิแทก เซล ในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับยาเคมีบำบัดที่หน่วยเคมีบำบัดผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2565;49(1):238-251.

สุพัตตรา จานคำภา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะภูมิไวเกินในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตร Paclitaxel. ว. การพยาบาล สุขภาพและการศึกษา 2019;2(3):42-54.

Boulanger J, Boursiquot JN, Cournoyer G, Lemieux J, Masse MS, Almanric K, Guay MP; Comité de l’évolution des pratiques en oncologie. Management of hypersensitivity to platinum- and taxane-based chemotherapy: cepo review and clinical recommendations. Curr Oncol. 2014 Aug;21(4):e630-41.

อุบล จ๋วงพานิช, อภิญญา คารมณ์ปราชญ์, มัทรี ศรีพรรณ, ณัฏฐ์ชญา ไชยวงษ์. สมรรถนะของพยาบาลที่ดูแล

ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด. Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice 2015; 2(1):69-81.

สภาการพยาบาล. ห้ามมิให้ยาหรือสารละลายทางหลอดเลือดดำ. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://medinfo.psu.ac.th/nurse/prakard/prakard11.pdf.

สุปรานี ศรีพลาวงษ์, ชุลินดา ทิพย์เกสร. ผลของการใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพต่อความเสี่ยงทางคลินิกในหอผู้ป่วยอายรุกรรม. ชลบุรี: โรงพยาบาลชลบุรี; 2560.

โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. แผนปฏิบัติราชการโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี ระยะ 5 ปี. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.udch.go.th/index.php/ aboutus/plan.

กลุ่มงานวิชาการพยาบาล. ทะเบียนสำรวจพยาบาลฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะโรคมะเร็งและการพยาบาลโรคมะเร็งเคมีบำบัด. อุดรธานี: โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี; 2566.

งานถ่ายทอดการพยาบาล. สรุปผลการนิเทศบุคลากรบรรจุใหม่. อุดรธานี: โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี; 2566.

Bruner, JS. Process of Education. 27th ed. United States of America: President and Fellows of Harvard College; 2003.

นุจรี สันติสำราญวิไล, สุชาดา รัชชุกูล. การศึกษาสมรรถนะของพยาบาลผู้ปฏิบัติการให้ยาเคมีบำบัด ในโรงพยาบาลสังกัดรัฐ. Rama Nurs J 2553;2(2):38-72.

ธัชพนธ์ สรภูมิ และ ศศิธร อิ่มวุฒิ. พัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ด้วย Mobile Learning ในรูปแบบเชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019

(COVID-19). ว. วิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2564; 8(2):49-62.

จันจิรา กิจแก้ว, วรารัตน์ ศรีสุข. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้ด้านการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดของพยาบาลวิชาชีพ. Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice 2020;2(1):88-99.

สุภาพร มูลดี, จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร. การพัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานไม่เกิน 5 ปี และไม่เคยผ่านการอบรมการพยาบาลผู้ป่วยในมะเร็งเคมีบำบัด ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยา ที่ได้รับยาเคมีบำบัดโรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. ว. โรงพยาบาลสกลนคร 2566; 26(2):78-90.

บุปผา ไชยแสง. ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ วิชาสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2566].

เข้าถึงได้จาก: https://profile.yru.ac.th/storage/academic-articles /August2020/ZVBPPHNZy9c6rbn kEpg8.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-28