การพัฒนาการละเล่นพื้นบ้านไทย “จิกเส้น” สู่กีฬานันทนาการสำหรับเยาวชน
คำสำคัญ:
กีฬานันทนาการ การละเล่นพื้นบ้านไทย กีฬาพื้นบ้าน นันทนาการ เวลาว่างบทคัดย่อ
การออกกำลังกายและเล่นกีฬาที่เหมาะสมสามารถช่วยพัฒนาสมรรถภาพทางกายของเด็กและเยาวชนได้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนากีฬาจิกเส้นเพื่อนันทนาการสำหรับเยาวชน อายุระหว่าง 15-24 ปี โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนการออกแบบและพัฒนา ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนสุขภาพดีอายุระหว่าง 15-24 ปี จำนวน 50 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและพลศึกษา จำนวน 9 คน สำหรับประเมินความเป็นไปได้และความตรงเฉพาะหน้าของกีฬาต้นแบบที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และ 2) ขั้นตอนการประเมินคุณภาพ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาและผู้ร่วมชมการแข่งขันกีฬาจิกเส้น จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ได้รูปแบบกีฬาจิกเส้นเพื่อนันทนาการสำหรับเยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ปี จำนวน 1 ต้นแบบ โดยมีค่าความตรงเฉพาะหน้า เท่ากับ 0.91 และ 2) กีฬาจิกเส้นต้นแบบที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้นในครั้งนี้ มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 ± 0.52 คะแนน และเมื่อพิจารณาในประเด็นการพัฒนาสมรรถภาพทางกาย พบว่า กีฬาจิกเส้นต้นแบบช่วยพัฒนาสมรรถภาพทางกายด้านการประสานสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อสูงที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 ± 0.42 คะแนน สรุปได้ว่ากีฬาจิกเส้นต้นแบบ ที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีอุปกรณ์การเล่น สนาม กฎ และกติกา ในการเล่นที่เหมาะสม สามารถใช้จัดการแข่งขันในระดับเยาวชน และสามารถใช้เป็นกิจกรรมนันทนาการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายสำหรับเยาวชนอายุ 15-24 ปี ได้
References
Hossain MS, Leidinger J, Kumar N, Sharma A. Youth Innovation for Sustainable Development: Exploring
the Role of Universities. Sustainability 2020;12:2451.
ฉัตร คำแสง, วรดร เลิศรัตน์, เจณิตตา จันทวงษา. เด็กและครอบครัวไทยในสามวิกฤต: รายงานสถานการณ์เด็กและ ครอบครัว ประจำปี 2022. กรุงเทพฯ: ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว (คิด for คิดส์); 2565.
Haddock A, Ward N, Yu R, O'Dea N. Positive Effects of Digital Technology Use by Adolescents: A Scoping Review of the Literature. Int J Environ Res Public Health 2022; 9(21):14009.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย 2567: ความเครียด ภัยเงียบของสังคมไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2567.
รพีพร ธงทอง. การมีส่วนร่วมทางการเมืองสมัยใหม่ของเด็กและเยาวชน. ว. วิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2564;16(1):27-40.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย 2566 : คำสัญญาของไทยใน “คอป” (COP: Conference of Parties) กับการรับมือ “โลกรวน”. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2566.
ชัชชัย โกมารทัต. กีฬาพื้นเมืองไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: ศึกษา และวิเคราะห์ความเป็นมาวิธีเล่น และคุณค่า. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์; 2549.
สำนักนันทนาการ กรมพลศึกษา. การละเล่นพื้นบ้านไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา; 2560.
Ribas JP, Hernández-Moreno J, Díaz-Díaz R, Borges-Hernández PJ, Ruiz-Omeñaca JV, Jaqueira AR. How to understand sports and traditional games and how to apply it to physical education. On the “Goal of Game”. Front Sports Act Living. 2023;5:1123340.
สุพัตรา ตาลดี. การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
พรวิไล ประเสริฐสุข สุวรี ศิวะแพทย์. ผลการใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทยต่อความสามารถในการแก้ปัญหา. ว. ศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557;8(3):244–54.
มนัสภูมิ ศาสนศาสตร์. ผลการใช้เกมและเกมนำเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดชายแดนภาคใต้. ว. ชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2565;16(1):129-40.
ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล. การสร้างรูปแบบการออกกำลังกายด้วยศิลปะมวยไทยโบราณสำหรับเยาวชน. ว. ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559;39(2):77-86.
พงษ์เกษม สิงห์รุ่งเรือง. ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านโคราชที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. ว. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2564; 8(2):61-74.
ปริวัตร ปาโส, พนิดา ชูเวช. ผลของโปรแกรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานเพื่อนันทนาการที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและระดับความเครียดของเยาวชน. ว. บัณฑิตแสงโคมคำ 2565;7(1):47-64.
ฤชากร พลจารย์, ธีรนันท์ ตันพานิชย์. การเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการละเล่นพื้นบ้านและกิจกรรมเข้าจังหวะที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. ว. ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 2565;14(2):377-93.
อาภรณ์ โพธิภา. การพัฒนาเกมการเล่นเตยของเด็กไทยไปสู่การเป็นกีฬา [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
อรทัย กัลยาวุฒิ และถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางตั้งเตที่มีต่อองค์ประกอบของร่างกายและคุณภาพชีวิต ในเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. ว. ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2565;10(1):192-207.
เตชภณ ทองเติม. การละเล่นพื้นบ้านของเด็กในจังหวัดศรีสะเกษ. นครราชสีมา: การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 4: อนาคตและความท้าทายใหม่ของประเทศไทย 4.0. 2560;647-55.
เตชภณ ทองเติม. การละเล่นพื้นบ้านที่มีผลต่อสุขภาพและสมรรถภาพทางกายของเด็กในจังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ; 2556.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา; 2554.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. เเผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2566 – 2570). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา; 2566.
เตชภณ ทองเติม, ขนิษฐา ฉิมพาลี, จีรนันท์ แก้วมา, ธำรงค์ บุญพรหม. ผลของการเข้าร่วมโปรแกรมออกกำลังกายด้วยรูปแบบกีฬาพื้นบ้านไทยจิกเส้นที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของเยาวชน. ว. วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง 2567; 13(1):181-95.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.