ทีมสุขภาพในห้องผ่าตัดเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ผ่าตัดคลอดลูกทางหน้าท้อง
คำสำคัญ:
ทีมสุขภาพในห้องผ่าตัด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาที่ผ่าตัดคลอดลูกทางหน้าท้องบทคัดย่อ
บทนำ: ปัจจุบันการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว 6 เดือน ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก โดยเฉพาะในมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดเนื่องจากมีอาการไม่สุขสบาย อ่อนเพลียจากการเสียเลือดมาก ต้องการการพักฟื้นมากกว่าการคลอดปกติ ทำให้การเริ่มให้ลูกดูดนมแม่ล่าช้า จึงขัดขวางกระบวนการสร้างและหลั่งน้ำนมของมารดา ทำให้มีน้ำนมน้อย มารดาเกิดความวิตกกังวลว่าทารกจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จึงเสริมนมผสมให้กับทารก ทำให้ทารกติดกับรสชาติของนมผสม เคยชินกับการได้รับน้ำนมที่ไหลเร็ว คุ้นชินกับการดูดนมจากขวดทำให้ดูดนมแม่ได้ไม่ถูกต้อง ผลที่ตามมาคือ ทารกมักปฏิเสธการดูดนมจากเต้า ดังนั้น การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากทีมสหสาขาวิชาชีพตั้งแต่ในห้องผ่าตัด โดยทุกคนมีบทบาทและหน้าที่สำคัญในการส่งเสริมให้มารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องสามารถให้นมบุตรได้เร็วที่สุด เริ่มตั้งแต่การให้ความรู้เกี่ยวกับการได้รับยาระงับความรู้สึกต่อการให้นมบุตร การประเมินความพร้อมของมารดาและทารกในห้องผ่าตัด การส่งเสริมให้ทารกดูดนมมารดาภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ประสบความสำเร็จ
วัตถุประสงค์: เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
ประเด็นสำคัญ: มารดาที่ผ่าตัดคลอดมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อยกว่ามารดาที่คลอดทางช่องคลอด
สรุป: การส่งเสริมให้มารดาที่ผ่าตัดคลอดสามารถให้นมบุตรได้เร็วต้องอาศัยความร่วมมือจาก
ทีมสหสาขาวิชาชีพในห้องผ่าตัด ซึ่งประกอบไปด้วย วิสัญญีแพทย์ สูตินรีแพทย์ กุมารแพทย์ และพยาบาลประจำห้องผ่าตัด
ข้อเสนอแนะ: หากมีการร่วมกันทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพในห้องผ่าตัด จะช่วยเหลือและสนับสนุนให้มารดาที่ผ่าตัดคลอดสามารถเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เร็ว และประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในระยะยาวต่อไป
References
วชิระ เพ็งจันทร์. การขับเคลื่อนนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างแกนนำวิทยากรระดับเขต พรบ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560; 24-27 กรกฎาคม 2560;นนทบุรี.
Unicef. Breastfeeding [Internet]. 2022 [cited 2024 Apr 6]. Available from: https://www.unicef.org/thailand/media/11361/file/Thailand%20MICS%202022%20full%20report%20(Thai).pdf
รุ่งฤดี จีรทรัพย์, นวลจันทร์ ไพบูลย์บรรพต, สมพร พานิคม. วิธีการคลอดและการมาของน้ำนมเต็มเต้าในมารดาหลังคลอด. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2552;19(2):270-8.
Zhang F, Cheng J, Yan S, Wu H, Bai T. Early feeding behaviors and breastfeeding outcomes after cesarean section. Breastfeed Med. 2019;14(5):325-33. doi: 10.1089/bfm.2018.0150
วาทินี วิภูภิญโญ. ปัจจัยล้มเหลวที่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในโรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2563;35(3):635-42.
Wen J, Yu G, Kong Y, Wei H, Zhao S, Liu F. Effects of a theory of planned behavior-based intervention on breastfeeding behaviors after cesarean section: A randomized controlled trial. Int J Nurs Sci. 2021;8(2):152-60. doi: 10.1016/j.ijnss.2021.03.012. PMID: 33997128; PMCID: PMC8105542.
Sung S, Mahdy H. Cesarean Section. StatPearls. Treasure Island (FL):StatPearls
Publishing; 2022
Betran AP, Torloni MR, Zhang JJ, Gülmezoglu AM. WHO statement on caesarean section rates. BJOG An Int J Obstet Gynaecol. 2016;123:667–70.
Liabsuetrakul T, Sukmanee J, Thungthong J, Lumbiganon P. Trend of Cesarean
Section Rates and Correlations with adverse maternal and neonatal outcomes: a secondary analysis of Thai Universal Coverage Scheme Data. AJP
Rep. 2019;9:328–36.
Sasitara Nuampa, Ameporn Ratinthorn, Pisake Lumbiganon, Somporn Rungreangkulkij, Nilubon Rujiraprasert, Natthapat Buaboon, et al. “Because it eases my Childbirth Plan”: a qualitative study on factors contributing to preferences for caesarean section
in Thailand. BMC Pregnancy and Childbirth. 2023;23:280-91.
Chen I, Opiyo N, Tavender E, Mortazhejri S, Rader T, Petkovic J, et al. non-clinical interventions for reducing unnecessary caesarean section (Review). Cochrane Database of Systematic Reviews. 2018;9:1-132.
Ailska M, Banas E, Gregor K, Brandt-Salmeri A, Ilski A, Cnota W. Vaginal delivery or caesarean section – Severity of early symptoms of postpartum depression and assessment of pain in Polish women in the early puerperium. Midwifery. 2020;87:1-6.
ศศิธารา น่วมภา, นิตยา สินสุกใส, วรรณา พาหุวัฒนกร. ปัจจัยส่วนบุคคลเวลาที่เริ่มให้นมแม่และการสนับสนุนจากพยาบาลในการทำนายความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนจำหน่ายในมารดาหลังผ่าตัดคลอด. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2556;31(2):49-59.
กนกวรรณ โคตรสังข์, ศิริวรรณ แสงอินทร์, อุษา เชื้อหอม. ผลของโปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้าและการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2559;24(1):13-26.
สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, ชญาดา สามารถ. ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะแรกหลังคลอดประสบการณ์ของมารดา. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2559;34(3):30-40.
ลาวัลย์ ใบมณฑา, มยุรี นิรัตธราดร, สุดาพร กมลวารินทร์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อความสามารถในการให้นมและการไหลของน้ำนมในมารดาที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. พยาบาลสาร. 2558;42(4):65-75.
วนิดา ทองแท้, เกศกัญญา ไชยวงศา, พุทธิดา จันทร์สว่าง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อส่งเสริมการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา. 2567;7(1):64-75.
ภาวิน พัวพรพงษ์. การให้นมแม่ในมารดาที่ผ่าตัดคลอด. เวชปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทบียอนด์ เอ็นเทอร์ไพร จำกัด; 2559.
เกียรติศักดิ์ คงวัฒนกุล. การให้มารดาได้โอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกหลังคลอด. เวชปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทบียอนด์ เอ็นเทอร์ไพร จำกัด; 2559.
Bao, Y., Zhang, T., Li, L. et al. A retrospective analysis of maternal complications and newborn outcomes of general anesthesia for cesarean delivery in a single tertiary hospital in China. BMC Anesthesiol. 2022;22(208):1-22.
ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. บทบาทพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดคลอด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560;34(1):6-14.
Gwanzura, C., Gavi, S., Mangiza, M. Moyo, F., Lohman, M., Nhemachena, T. et al. Effect of anesthesia administration method on apgar scores of infants born to women undergoing elective cesarean section. BMC Anesthesiol. 2023;23(142):1-7.
World Health Organization. Protecting, promoting, and supporting breastfeeding in facilities providing maternity and newborn services: The revised Baby-friendly Hospital Initiative. 2018. Available from: https://www.who.int/nutrition/publications/infantfeeding/bfhi-implementation-2018.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.