ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

ผู้แต่ง

  • จินต์จุฑา ขำทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ขนิษฐา นิลาลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • นันท์นภัส มาตราช มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

เกษตรผู้ปลูกข้าว, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, ผลกระทบสุขภาพ

บทคัดย่อ

บทนำ: การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเพิ่มความเสี่ยงให้แก่เกษตรกร ในการรับสัมผัสสารเคมีและอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำนวน 130 คน โดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติกในการวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านการทำงาน ความรู้ พฤติกรรมความปลอดภัย และภาวะสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ผลการวิจัย: พบว่า พนักงานเกษตรกรผู้ปลูกข้าวส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 78.5 ความชุกของอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ 25.4 ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการปลูกข้าว 10 – 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 65.4 ประสบการณ์ปลูกข้าวเฉลี่ย 29.74 ปี (±9.164) ปลูกข้าวนาปรัง ร้อยละ 85.4 ส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 67.7 และมีพฤติกรรมความปลอดภัยในระดับดี ร้อยละ 60 จากการศึกษาพบว่า ประสบการณ์ในการปลูกข้าว (P-value <0.001) ลักษณะการปลูกข้าว (P-value = 0.003) พฤติกรรมความปลอดภัย (P-value <0.001) มีผลต่อภาวะสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
สรุปผล: ประสบการณ์ในการปลูกข้าว ลักษณะการปลูกข้าว และพฤติกรรมความปลอดภัย มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ข้อเสนอแนะ: ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้งานสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย เพื่อช่วยเสริมสร้างจิตสำนึกและพฤติกรรมความปลอดภัยอย่างเหมาะสม

References

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน). พืชเศรษฐกิจ สินค้าสร้างรายได้ในครัวเรือนและประเทศ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.arda.or.th/detail/6166

กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ด้านดินและพื้นที่เกษตรกรรม [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://data.moac.go.th/?p=land

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. การค้าสินค้าเกษตรไทยกับโลกช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://citly.me/Pp1nJ

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. รายงานสรุปวัตถุอันตรายที่มีการนำเข้าสูงสุด 10 อันดับ ปี พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doa.go.th/ard/?page_id=386

Isra Mahmood, Sameen Ruqia Imadi, Kanwal Shazadi , Alvina Gul and Khalid Rehman Hakeem. Effects of Pesticides on Environment. Research gate [Internet]. 2016 [cited 9 Jan 2024]; 253-269. doi: 10.1007/978-3-319-27455-3_13

มงคล รัชชะ, สุรเดช สำราญจิตต์, จุฑามาศ แสนท้าว, ศรราม สุขตะกั่ว. ว.วิจัยการพยาบาลและสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 9 มกราคม 2567];18:84-94. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/ bcnpy/article/view/95921/74898

กรมควบคุมโรค. สรุปรายงานการเฝ้าระวังจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมและโรคไม่ติดต่อ ประจำปี 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 9 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://apps-doe.moph.go.th/boeeng/ download/AW_AESR_NCD_2563.pdf

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชัยนาท. แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดชัยนาท(พ.ศ.2561 – 2565) ฉบับทบทวน พ.ศ. 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 9 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.opsmoac.go.th /chainat-strategic-files-421691791804

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานมาตรฐานสถานะสุขภาพโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 9 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://citly.me/Fw2XY

สิทธิชัย ใจขาน สุภาณี จันทร์ศิริ และอดิเทพ บาตรสุวรรณ. ผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรชาวนา บ้านเตย ตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 29 มิถุนายน 2567];21:181-193. เข้าถึงได้จาก: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/down load/95475/159723/787887

Thundiyil JG, Stober J, Besbelli N, Pronczuk J. Acute pesticide poisoning: a proposed classification tool. Bulletin of the World Health Organization. 2008;86:205-9.

สิทธิชัย ใจขาน สุภาณี จันทร์ศิริ และ อดิเทพ บาตรสุวรรณ. ผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรชาวนา บ้านเตย ตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 29 มกราคม 2567]; 21:181-193. เข้าถึงได้จาก: https://li01.tcithaijo.org/index.php/sci_ubu/article /view/95475

จิตติพัฒน์ สืบสิมมา ทัศนีย์ ศิลาวรรณ และณิชชาภัทร ขันสาคร. พฤติกรรมการใช้และการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรเพาะปลูกพริกผู้ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช: กรณีศึกษา ตำบลสวนกล้วย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. ว.พิษวิทยาไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 29 มกราคม 2567]; 32(1):9-25. เข้าถึงได้จาก: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJToxicol/article/download/244131/166719

สิริภัณฑ์กัญญา เรืองไชย และยรรยงค์ อินทร์ม่วง. ผลกระทบจากการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบใน ตําบลลําห้วยหลัว อําเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. ว.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 12 เมษายน 2567]; 18(1):48-60. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/166205/120153

Sapbamrer, R., & Nata, S. Health symptoms related to pesticide exposure and agricultural tasks among rice farmers from northern Thailand. Environmental health and preventive medicine. [Internet]. 2014 [cited 2024 Apr 18];19, 12-20. Available from: https://environhealthprevmed.biomedcentral.com/ articles/10.1007/s12199-013-0349-3

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30