ผลของโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจางร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว แบบออนไลน์ต่อการรับรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง พฤติกรรมการรับประทานอาหารและ ยาเสริมธาตุเหล็กของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นในโรงพยาบาลชุมชน
คำสำคัญ:
Adolescent pregnancy, Anemia in pregnancy, Family supportบทคัดย่อ
บทนำ: ภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์เป็นปัญหาสุขภาพที่พบมากในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น พฤติกรรมการรับประทานอาหารและยาเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องที่สำคัญเนื่องจากสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นมีความเฉพาะด้านพฤติกรรม การบริโภค การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจร่วมกับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบออนไลน์ สามารถส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพให้บุคคลได้
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจางร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวแบบออนไลน์ต่อการรับรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง พฤติกรรมการรับประทานอาหารและยาเสริมธาตุเหล็กของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น
ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษาแบบกึ่งทดลองรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มทดลอง 24 ราย และกลุ่มควบคุม 25 ราย วัดผลก่อนและหลังการศึกษา เครื่องมือทดลองพัฒนาขึ้นภายใต้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามความรู้ที่มีคุณภาพ (KR-20 เท่ากับ 0.73) แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหารและยาเสริมธาตุเหล็ก (ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.71 ) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบความแตกต่าง
ผลการวิจัย: สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ พฤติกรรมการรับประทานอาหารและยาเสริมธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้าร่วมการศึกษาและมีการเปลี่ยนแปลงค่าคะแนนภายหลังการศึกษาสูงกว่าสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)
สรุปผล: โปรแกรมการให้ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจางร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวแบบออนไลน์ ช่วยส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ พฤติกรรมการรับประทานอาหารและยาเสริมธาตุเหล็กในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นกลุ่มตัวอย่างได้
ข้อเสนอแนะ: สามารถนำรูปแบบการดูแลจากการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ในคลินิกได้
คำสำคัญ: สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น, ภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์, การสนับสนุนของครอบครัว
References
World Health Organization. Haemoglobin concentrations for the diagnosis of anaemia and assessment of severity. 2011;
World Health Organization. Prevalence of anaemia in pregnant women [Internet]. 2021 [Cited 2021
November 23]. Available from: https://kku.world/yuipg
กระทรวงสาธารณสุข. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ระดับเขตสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 มี.ค.2567]. เข้าถึงได้จาก: https://kku.world/4d10z
Abu-Heija A, Al Haddabi R, Al Bash M, Al Mabaihsi N, Al-Maqbali NS. Early teenage pregnancy: Is it
safe? J Obstet Gynaecol India 2016;66:88–92.
Jusoh N, Ismail TA, Daud A. Anemia among teenage pregnancy in northwesternMalaysia: What are
the factors? International journal of collaborative research on internal medicine & public health 2015;7:196–205.
วราภรณ์ ปู่วัง. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดโรงพยาบาลหนองคาย. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา 2563;3:18–27.
ศิริฉัตร รองศักดิ์, ประนอม พูลพัฒน์, มยุรัตน์ รักเกียรติ์. ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี Anemia in Pregnant Woman at Nopparatrajathanee Hospital. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35:39–47.
กนกวรรณ ฉันธนะมงคล. การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรม นรีเวช และศัลยกรรม.กรุงเทพฯ: โครงการสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2555.
World Health Organization. Nutritional anaemias: tools for effective prevention and control [Internet]. 2017 [Cited 2022 March 17]. Available from: https://kku.world/z1kcm
Jahan, E., Alam, R. The obstetric factors and outcome of adolescent pregnancy having IUGR babies. International Journal of Reproduction, Contraception, Obstetrics and Gynecology 2021;10:2157–63.
สุธารัตน์ ศรีเมือง. การศึกษาเปรียบเทียบผลการตั้งครรภ์ระหว่างสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ในโรงพยาบาลนางรอง. วารสารกรมการแพทย์ 2561;43:67–71.
ธารินันท์ ลีลาทิวานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560.
จิตตระการ ศุกร์ดี, ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของสตรีตั้งครรภ์ ที่รับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2559;10.
แวนูรียะห์ แวบือราเฮ็ง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมบริโภคอาหารและยาเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.
ฐิตารีย์ ดิษาภิรมย์, จันทรรัตน์ เจริญสันติ, พรรณพิไล ศรีอาภรณ์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น. พยาบาลสาร 2562;46:157–68.
มัทนา พรมรักษา, สมจิตร เมืองพิล. ความมั่นคงทางอาหารของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการใน โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 2564;5:68–80.
จิตตระการ ศุกร์ดี, ภูษิตา ครุธดิลกานนท์. บทบาทพยาบาลในการดูแลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2563;14:1–11.
Rosenstock IM, Strecher VJ, Becker MH. Social Learning Theory and the Health Belief Model.Health Education Quarterly 1988;15:175–83.
พันธิพา จารนัย, มยุรี นิรัตธราดร, ณัฐพัชร์ บัวบุญ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการต่อพฤติกรรมด้านโภชนาการและระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารพยาบาลศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2561;30:59–69.
Whitehead AL, Julious SA, Cooper CL, Campbell MJ. Estimating the sample size for a pilot randomised trial to minimise the overall trial sample size for the external pilot and main trial for a continuous outcome variable. Stat Methods Med Res 2016;25:1057–73.
สุทิน ชนะบุญ. สถิติในงานวิจัยทางสุขภาพเบื้องต้น,2564.
มนัสมีน เจะโนะ. ผลของโปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้เพื่อลดภาวะโลหิตจางต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์มุสลิม[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์;
ศรัณยา ลาโมะ, สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ, เบญญาภา ธิติมาพงษ์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมภาวะโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและยาเสริมธาตุเหล็ก และความเข้มข้นของเลือดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะโลหิตจาง.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ,2564;31:224–36.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.