ผลของการใช้แอพพลิเคชั่นกินดีอยู่ยาวต่อการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหาร แบบ DASH และควบคุมความดันโลหิตสูง ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
คำสำคัญ:
ทฤษฎีการจัดการตนเอง, อาหารแบบ DASH, พฤติกรรมการบริโภคอาหารบทคัดย่อ
บทนำ: การควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ให้สูง เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง การบริโภคอาหาร DASH สามารถลดระดับความดันโลหิตได้ดี
วัตถุประสงค์การวิจัย: ศึกษาผลของการใช้แอพพลิเคชั่นกินดีอยู่ยาวต่อการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภค อาหารแบบDASH และควบคุมความดันโลหิตสูง ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในคลินิกโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 30 คน สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แอพพลิเคชั่นกินดีอยู่ยาวประยุกต์ใช้ทฤษฎีการจัดการตนเอง แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการรับประทานอาหารในรูปแบบ DASH วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ สถิติ Paired t-test และ Willcoxon Signed Ranks Test
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย = 64.79, SD ± 11.88 หลังจากการใช้แอพพลิเคชั่นกินดีอยู่ยาว มีคะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการรับรู้ความสามารถในการรับประทานอาหาร DASH สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ระดับความดันโลหิตตัวบน หลังการเข้าร่วมแอพพลิเคชั่นกินดีอยู่ยาวลดลงกว่าก่อนใช้แอพพลิเคชั่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.002)
สรุป: แอพพลิเคชั่นกินดีอยู่ยาว มีผลทำให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีคะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการรับรู้ความสามารถในการรับประทานอาหาร DASH ทำให้สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี
ข้อเสนอแนะ: ควรมีการนำแอพพลิเคชั่นกินดีอยู่ยาว ปรับใช้ให้กับผู้ป่วย เพื่อให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการดูแลตนเองจากโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างเหมาะสม
References
World Health Organisation. More than 700 million people with untreated hypertension.
Accessed August 25, 2021. Available from https://www.who.int/news/item/25-08-2021-more-than-700-million-people-with-untreated-hypertension
กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานโรคไม่ติดต่อ. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรค
ไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564). [อินเทอร์เน็ต] 2560 [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.iccp-portal.org/system.
กองการแพทย์ทางเลือก. ความรู้พื้นฐานความดันโลหิตสูง. [อินเทอร์เน็ต] 2562 [เข้าถึงเมื่อ 5
ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://thaicam.dtam.moph.go.th/
National Library of Medicine. The Joint National Committee on the Prevention,
Detection, Evaluation,and Treatment of High Blood Pressure. Accessed August, 2004. Available from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK9630/
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. [อินเทอร์เน็ต] 2555 [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihypertension.org/hypertensiondetail.
กองการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. แดชไดเอท (DASH Diet) บำบัดโรคความดันโลหิตสูง. 2563. วี อินดี้ ดีไซน์ จากัด: กรุงเทพฯ.
ชวิศาส์ เลิศมงคลธีรกุล, ปฏิพร บุญพัฒน์กุล และ อนุแสง จิตสมเกษม. ศึกษาเรื่องผลของการให้ความรู้เรื่อง
การลดโซเดียมในอาหารและการรับประทานอาหารในรูปแบบ DASH Diet ร่วมกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนต่อการลดความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วชิรสารการพยาบาล. 2564; 23(1):31-45.
ปิยพร ศรีพนมเขต. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทางของ Dietary
Approaches to Stop Hypertension (DASH) ร่วมด้วยทฤษฎีการรับรู้ ความสามารถแห่งตน เพื่อลดความเสี่ยง
ต่อโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิิจััยและพััฒนานวัตกรรมทางสุุขภาพ. 2565;
(1): 121-32.
Creer, T. L. Self-management of chronic illness. In M. Boekaerts, P. R. Pintrich, & M. Zeidner
(Eds.), Handbook of self-regulation. Accessed 9 November, 2007. (pp. 601 – 629). Available from https://shorturl.asia/COZGz.
Health Data Center. การคัดกรองความดันโลหิตสูง ในประชากรไทย จำแนกกลุ่มอายุ. [อินเทอร์เน็ต]
[เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, G. A., & Buchner, A. G*power: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods.2007; 2:175-191.
วิชัย เทียนถาวร. ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงใน ประเทศไทย:นโยบายสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่3).กองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. 2556.
ยุภาพร นาคกลิ้ง. ผลของการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนต่อ พฤติกรรมการควบคุมอาหารการออกกำลังกาย และระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. Journal of Health and Nursing Research. 2560; 28(1), 1-12.
วรางคณา ไชยวรรณ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาและระดับความดันโลหิตในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2565; 49(3):
- 32.
นริศรา คงแก้ว, อนุธิดา ชัยขันธ์, ดุษณีย์ สุวรรณคง และ ตั้ม บุญรอด. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การบริโภคอาหารตามแนวทางของ DASH ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565;31(6):1008-18.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.