ผลของการวางแผนจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และอัตราการติดเชื้อในผู้ป่วย คาสายระบายน้ำปัสสาวะออกจากกรวยไตผ่านทางผิวหนัง โรงพยาบาลลำพูน
บทคัดย่อ
บทคัดย่อบทนำ: การติดเชื้อจากการคาสายระบายน้ำปัสสาวะออกจากกรวยไตผ่านทางผิวหนัง มีสาเหตุจากพฤติกรรมการดูแลที่ไม่ถูกต้อง การวางแผนจำหน่ายจะช่วยให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมหลังการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของการวางแผนจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และอัตราการติดเชื้อในผู้ป่วยคาสายระบายน้ำปัสสาวะออกจากกรวยไตผ่านทางผิวหนัง
ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง 2 กลุม วัดก่อนหลังการทดลอง สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 16 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการสอนให้คำแนะนำการดูแลตนเอง คู่มือการดูแลตนเอง แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบบันทึกการติดเชื้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Fisher’s exact test และ Mann-Whitney U Test
ผลการวิจัย: คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายระบายน้ำปัสสาวะออกจากกรวยไตผ่านทางผิวหนังในกลุ่มทดลอง มีคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และกลุ่มทดลองมีอัตราการติดเชื้อร้อยละ 6.25 ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่มีอัตราการติดเชื้อร้อยละ 56.25 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จะเห็นได้ว่า การวางแผนจำหน่าย ส่งผลให้ผู้ป่วยคาสายระบายน้ำปัสสาวะออกจากกรวยไตผ่านทางผิวหนังมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้น และลดอัตราการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้
สรุปผล: การวางแผนจำหน่ายช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยที่ใส่สายระบายน้ำปัสสาวะออกจากกรวยไต
มีพฤติกรรมในการดูแลตนเองดีขึ้น และช่วยลดอัตราการติดเชื้อในผู้ป่วยที่ใส่สายระบายน้ำปัสสาวะออกจากกรวยไตผ่านผิวหนัง
ข้อเสนอแนะ: สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่คาสายระบายน้ำปัสสาวะออกจากกรวยไตผ่านทางผิวหนัง
คำสำคัญ: การวางแผนจำหน่าย, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยคาสายระบายน้ำปัสสาวะออกจากกรวยไตผ่านทางผิวหนัง
References
เอกรินทร์ โชติกวาณิชย์ ธเนศ ไทยดำารงค์ ณัฐพงศ์ บิณษรี บิณษรี เปรมสันต์ สังฆ์คุ้ม และกิตติพงษ์
พินธุโสภณ, บรรณาธิการ. ภาวะฉุกเฉินทางศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา (Urological Emergency).
พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563.
Khan MA, Shamsi A. Obstructive uropathy: an overview. Journal of Clinical Urology. 2019; 12(2):109-118.
ศุจินทรา บัวชื่น. การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดใส่สายระบายปัสสาวะผ่านผิวหนังเข้ากรวยไต รักษาภาวะ
อุดกั้นระบบทางเดินปัสสาวะ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2565; 45(1): 5-17.
สุกัญญา คล้ายชู. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.
เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธิ์, ปรางทิพย์ ฉายพุทธ, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์, บรรณาธิการ. สาระหลักทางการพยาบาลศัลยศาสตร์ เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์; 2561.
โรงพยาบาลลำพูน. สถิติผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลลำพูน. ลำพูน: โรงพยาบาลลำพูน; 2566.
ประดิพัทธ์ จันทาพูน, กฤตพัทธ์ ฝึกฝน, กรรณิกา สมสิทธิ์. ผลของการสอนโดยให้คำแนะนำร่วมกับการใช้คู่มือการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและอัตราการติดเชื้อในผู้ป่วยใส่สายระบายน้ำปัสสาวะออกจากกรวยไต. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2564; 8(3):72-84.
ศุภรดา ประเสริฐกุล. การพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลนครพิงค์: [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร
มหาบัณฑิต],เชียงใหม่; 2566.
Leinert C, Fotteler M, Kocar T. D, Brefka S, Schindler B, Denkinger M.D. Discharge planning from hospital. 2022; 55(8): 717-719.
รัตนา นิลเลื่อม, ดวงกมล วัตราดุลย์, พรทิพย์ สินประเสริฐ, กรองแก้ว ทรัพย์ประเสริฐ, ธิดารัตน์ ขาวเงินยวง และ อรทัย บุญชูวงศ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลราชบุรีจังหวัดราชบุรี. 2564; 32(2): 202 – 216.
เพ็ญศรี ปัญโญ, อรพิน มโนรส และ มะลิ การปักษ์. ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายร่วมกับการใช้แอพพลิเคชั่นในการให้ความรู้ต่อความรู้ และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคต้อกระจก ที่เข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยจักษุ โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลแพร่. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลแพร่. 2567; 31(2): 1-16.
ธิดาลักษ์ แก้วแจ่ม, ศิริกาญจน์ จินาวิน. ผลของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยปัสสาวะปนเลือดโดยใช้รูปแบบ D-METHOD ต่อทักษะใน การปฏิบัติตัวและความพึงพอใจในบริการพยาบาล. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลแพร่. 2567; 32(1): 1-11.
Ganter Ritz V, Speroni KG, Walbridge D. Reducing Complications and Hospitalizations Through an Innovative Catheter Care Clinic for Percutaneous Nephrostomy Catheter Patients. Journal of Radiology Nursing. 2016; 35(4):275-280.
Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. Nursing: Concepts of practice. 6th ed. St. Louis: Mosby; 2001.
Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods. 2007; 39(2): 175-191.
Shepperd S, McClaran J, Phillips CO, et al. Discharge planning from hospital to home. Cochrane Database Syst Rev. 2010; 20(1):CD000313.
Helmy NM, Aly AA, Atia RRA, Mohammed BMA, Abouelezz ZGM. Effect of Educational Guidelines on Nurses' Performance regarding Percutaneous Nephrostomy Tube. Egyptian Journal of Health Care. 2023; 14(1):578-593.
Azer SZ, Abd-El Mohsen SA, Sayed SY. The effect of nursing guidelines on minimizing incidence of complications for patients with percutaneous nephrostomy tube. American Journal Nursing Research. 2018; 6(5):327-334.
คนึงนิจ เพชรรัตน์, สัญญา ปงลังกา, จุฑามาศ กิติศรี. ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดัน
โลหิตสูง. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2561; 45(1): 37-49.
กมนวรรณ นิลเอก และรุ่งนภา จันทรา. ผลการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อความสามารถในการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 4 โรงพยาบาล
สุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์. 2562; 33(2):143-156.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.