คุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • สุดกัญญา ปานเจริญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พลธนวัฒน์ ยิ้มศิริวัฒนะ นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ณิชาภัทร คงสุวรรณ นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นงลักษณ์ ทะวะรุ่งเรือง นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พรหมพร ไล้ทอง นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สกุลรัตน์ ศิริกุล -

บทคัดย่อ

บทนำ: นักศึกษาพยาบาลมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีจะทำให้กระบวนการคิดวิเคราะห์ การปฏิบัติงาน และการเรียนและประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

ระเบียบวิธีวิจัย:

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2567 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนนักศึกษาในแต่ละชั้นปี จำนวน 268 คน เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับของพิตต์สเบิร์ก แบบสอบถามความเครียด แบบสอบถามการรับรู้การรบกวนจากสิ่งแวดล้อม แบบสอบถามสุขนิสัยการนอนหลับ แบบสอบถามการใช้โซเชียลมีเดีย และแบบสอบถามภาระงาน โดยผ่านการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิและทดสอบความเชื่อมั่น โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80, .80, .82, .83, .83 และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติิเชิงพรรณนา และสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน

ผลการวิจัย: กลุ่มอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 93.3 อยู่ชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 28.0 เกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ระหว่าง 3.01 – 3.50 ร้อยละ 32.10 มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี ร้อยละ 52.40 ปัจจัยด้านความเครียด การรับรู้การรบกวนจากสิ่งแวดลอม การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ภาระงาน และสุขนิสัยการนอนหลับ มีีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติิ (rs = .467 p < .001; rs = .254 p < .001; rs = .238 p < .001; rs = .294 p < .001; rs = .361 p < .001 ตามลำดับ) ส่วนระดับชั้นปี และเกรดเฉลี่ยสะสมมีีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติิ

สรุปผล:   นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี และความเครียด การรับรู้การรบกวนจากสิ่งแวดลอม การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ภาระงาน สุขนิสัยการนอนหลับ มีีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติิ

ข้อเสนอแนะ: สถาบันการศึกษาควรให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขนิสัยการนอน การดููแลช่วยเหลือปัญหาสุขภาพจิต ภาระงาน การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อการนอนหลับของนักศึกษาพยาบาลที่่เหมาะสม

 

คำสำคัญ: คุณภาพการนอนหลับ  นักศึกษาพยาบาล  

References

Watson NF, Badr MS, Belenky G, Bliwise DL, Buxton OM, Buysse D, et al. Recommended amount of sleep for a healthy adult: a joint consensus statement of the American Academy of Sleep Medicine and Sleep Research Society. J Clin Sleep Med. 2015;11(6):591-2. doi: https://doi.org/10.5664/jcsm.4758

Galván-Molina JF, Jiménez-Capdeville ME, Hernández-Mata JM, Arellano-Cano JR. Sistema de tamizaje de psicopatología en estudiantes de Medicina [Psychopathology screening in medical school students]. Gac Med Mex. 2017;153(1):75-87.

Bartlett ML, Taylor H, Nelson JD. Comparison of mental health characteristics and stress between baccalaureate nursing students and non-nursing students. J Nurs Educ. 2016;55(2):87–90. doi: https://doi.org/10.3928/01484834-20160114-05

จิราภรณ์ นันท์ชัย, นริศรา ใคร้ศรี, ลาวัลย์ สมบูรณ์, เทียมศร ทองสวัสดิ์. ปัจจัยทำนายคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาพยาบาล. Nursing Journal. 2017;44(พิเศษ):49-59.

Santos TC, Martino MM, Sonati JG, Faria ALD, Nascimento EF. Sleep quality and chronotype of nursing students. Acta Paulista de Enfermagem. 2016;29(6):658-63.

Butsathon N, Luvira V, Nonjui P, Deenok P, Aunruean W. Sleep pattern among students in Khon Kaen university. Srinagarind Med J. 2020;35(3):332-9.

Asawa K, Sen N, Bhat N, Tak M, Sultane P, Mandal A. Influence of sleep disturbance, fatigue, vitality on oral health and academic performance in Indian dental students. Clujul Med. 2017;90:333-43.

กรมสุขภาพจิต. เจาะลึกภาวะ Burnout Syndrome วิธีแก้และกิจกรรมที่จะช่วยเติมพลังในตัวคุณ. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 8 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก:

https://www.ryt9.com/s/iqml/3085580

Spielman AJ. Assessment of insomnia. Clin Psychol Rev. 1986;6(1):11-25.

Albasheer OB, et al. Prevalence of insomnia and relationship with depression, anxiety, and stress among Jazan University students: A cross-sectional study. Cogent Psychology. 2020;7(1). doi: https://doi.org/10.1080/23311908.2020.1789424

Wang Y, Xiao H, Zhang X, Wang L. The role of active coping in the relationship between learning burnout and sleep quality among college students in China. Front Psychol. 2020;11:647. doi: https://doi.org/10.3389/fpsyg.2020.00647

Gunes Z, Arslantas H. Insomnia in nursing students and related factors: A cross-sectional study. Int J Nurs Pract. 2017;23(5):e12578.

Buysse DJ, Reynolds CF, Monk TH, Berman SR, Kupfer DJ. The Pittsburgh Sleep Quality Index: a new instrument for psychiatric practice and research. Psychiatry Res. 1989;28(2):193-213.

Ravi RK, Mohamed MG. Well-being among nursing students: Relationship between lifestyle behaviours, sleep quality and resilience. Afr J Nurs Midwifery. 2022;24(3):1-7.

สาวิตรี พลเยี่ยม, เทพไทย โชติชัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาวิทยาลัย การสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. ว. วิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2563;4(2):33-44.

Salvi CP, Mendes SS, Martino MM. Profile of nursing students: quality of life, sleep and eating habits. Rev Bras Enferm. 2020;73:e20190365.

Mohammadbeigi A, et al. Sleep quality in medical students: The impact of overuse of mobile cell-phone and social networks. J Res Health Sci [Internet]. 2016 [cited 2018 Sep 18];16(1):46-50. Available from: http://jrhs.umsha.ac.ir/index.php/JRHS/article/view/2484/pdf

ธิติมา ณรงค์ศักดิ์, ฐิติมา สงวนวิชัยกุล, วรพงศ์ ตรีสิทธิวนิช. การนอนหลับและสุขอนามัยการนอนหลับ. ว. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2563;14(2):69-85.

กาญจนา อยู่เจริญสุข. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชธานี. ว. ราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2561;2(1):37-47.

นาฎนภา อารยะศิลปธร, พัชนี สมกำลัง, จันทร์จิรา ภูบุญเอิบ. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง. ว. วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี. 2560;28(1):38-50.

นาตยา ดวงประทุม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี. ว. วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2566;12(2):47-58.

ดารัสนี โพธารส. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของนิสิตพยาบาล. ว. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560;25(1):25-36.

จรัญญา ศรีวิชัย, ฉัตรพิมล ธนูศรี, ณิชกานต์ แสงจันทร์, ธิตยา ยิ้มเป็นยวง, ปรียาภรณ์ สิมกิ่ง, สิทธิรักษ์ บุปผาวงษ์, และคนอื่นๆ. ศึกษาความสัมพันธ์ความเครียดและคุณภาพการนอนหลับของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ปีการศึกษา 2561. แพทยสารทหารอากาศ. 2562;65(3):1-9.

Valerio TD, Kim MJ, Sexton-Radek K. Association of stress, general health, and alcohol use with poor sleep quality among US college students. Am J Health Educ. 2016;47(1):17-23.

ขวัญธิดา พิมพการ, พจนารถ เกื้อสกุล, กิตติ เกื้อสกุล. การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษามหาวิทยาลัยสายสุขภาพ และสายอาชีพ. ว. การวัดผลการศึกษาสำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา. 2022;38(104):258-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28