Publication Ethics
มาตรฐานทางจริยธรรมในการดำเนินการวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
1. หน้าที่ความรับผิดชอบของบรรณาธิการ
บรรณาธิการดำเนินภาระกิจตามความต้องการของผู้อ่านและผู้ประพันธ์โดยมีการปรับปรุงวารสารและควบคุมคุณภาพของบทความวิชาการและงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องให้อิสระในการแสดงความคิดเห็นทั้งผู้อ่านและเจ้าของผลงานรวมถึงรับผิดชอบในการแก้ไข
ให้คำชี้แจงและคำขอโทษอย่างสมเหตุผล การตอบรับ
2. หรือปฎิเสธบทความวิชาการหรืองานวิจัย
ควรอยู่บนหลักการและเกี่ยวข้องกับขอบเขตของการรับวารสารตามที่กำหนด ร่วมกับ ความใหม่ความสำคัญ ความถูกต้องและชัดเจนของบทความนั้น
3. หน้าที่ของบรรณาธิการต่อเจ้าของบทความ
บรรณาธิการดำเนินการเพื่อให้บทความที่ตีพิมพ์มีคุณภาพโดยมีการชี้แจงเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (peer review) รวมถึงมีความพร้อมในการชี้แจงจากกระบวนการประเมินที่ได้ระบุไว้และให้โอกาสเจ้าของผลงานในการชี้แจงหากมีความคิดเห็นต่างจากผลการประเมินที่ได้รับจากบรรณาธิการ ทั้งนี้ มีการจัดทำคำแนะนำสำหรับการเขียนบทความและแนวทางการพิจารณาประเมินบทความครอบคลุมทุกประเด็นและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง
4. หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้ประเมินบทความ
บรรณาธิการควรจัดพิมพ์คำแนะนำและแนวทางการประเมินแก่ผู้ประเมินบทความ และควรมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงควรมีระบบปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ประเมินบทความและปกปิดเป็นความลับในกระบวนการพิจารณาประเมินบทความนั้นๆ
การสนับสนุนความถูกต้องทางวิชาการบรรณาธิการควรทำให้เกิดความมั่นใจว่าเนื้อหาทั้งหมดในบทความที่มีการตีพิมพ์ในวารสารฯ ต้องเป็นที่ยอมรับตามหลักจริยธรรมสากลและควรได้หลักฐานเพื่อให้มั่นใจได้ว่าบทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์นั้น ได้รับการอนุมัติและเห็นชอบโดยคณะกรรมการทางจริยธรรมด้านงานวิจัย อย่างไรก็ตามบรรณาธิการพึงระลืกว่าการพิจารณาอนุมัตินั้นมิได้รับประกันความถูกต้องตามหลักจริยธรรมของบทความงานวิจัยนั้นเสมอไป
5. การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล
บรรณาธิการควรปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลเป็นความลับ เช่น ข้อมูลผู้ป่วยโดยต้องมีหนังสือยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ป่วย หากชื่อ หรือ รูปของผู้ป่วยปรากฏในรายงานหรือบทความ อย่างไรก็ตาม บรรณาธิการสามารถตีพิมพ์บทความได้โดยไม่ต้องมีเอกสารยินยอมได้หากบทความนั้นมีความสำคัญต่อสุขภาพของคนส่วนใหญ่หรือมีความลำบากในการได้มาซึ่งเอกสารยินยอมและบุคคลผู้นั้นไม่คัดค้านต่อการตีพิมพ์เผยแพร่
6. การติดตามความประพฤติมิชอบ
บรรณาธิการควรติดตามในกรณีผลงานที่ส่งเข้ามามีข้อสงสัยซึ่งรวมถึงบทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์และยังไม่ได้รับการตีพิมพ์โดยบรรณาธิการควรสืบ หาข้อมูลจากบุคคลผู้ถูกกล่าวหาก่อนหากคำตอบที่ได้ยังไม่เป็นที่พอใจ ควรสอบถามจากหัวหน้าหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
(ซึ่งอาจเป็นหน่วยงานที่ออกกฎระเบียบ) เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง การดำเนินการของบรรณาธิการควรที่จะทำให้เกิดความมั่นใจว่าได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างถูกต้อง บนหลักการและเหตุผล
7. การรับรองความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ
กรณีที่มีการรับรู้ว่าบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ไปแล้วมีความไม่ถูกต้อง เช่น มีข้อความที่นำไปสู่การเข้าใจผิดหรือบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริงบรรณาธิการต้องรับผิดชอบในแก้ไขทันที ในกรณีที่ พบว่ามีการทุจริตภายหลังดำเนินการตรวจสอบแล้วบรรณาธิการต้องดำเนินการเพิกถอนบทความนั้นโดยที่การเพิกถอนต้องให้ผู้อ่านและระบบฐานข้อมูลอื่นทราบด้วย
8. ความสัมพันธ์กับเจ้าของวารสารและสำนักพิมพ์
ความสัมพันธ์ระหว่างบรรณาธิการและเจ้าของวารสารควรอยู่บนพื้นฐานของความมีอิสระในการดำเนินการ การพิจารณาตัดสินใจรับบทความเพื่อตีพิมพ์ถือหลักคุณภาพและความเหมาะสมกับผู้อ่านเป็นสำคัญ
9. กระบวนการจัดการกับข้อร้องเรียนที่มีต่อบรรณาธิการ
การร้องเรียนบรรณาธิการวารสารต้องร้องเรียนเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังบรรณาธิการโดยตรงก่อนในขั้นต้นหากข้อร้องเรียนไม่ได้รับการแก้ไขหรือการแก้ไขไม่เป็นที่น่าพอใจ สามารถยื่นข้อร้องเรียนนั้นต่อคณะกรรมการต้นสังกัดของบรรณาธิการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้