การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, นักศึกษาพยาบาล, การเรียน-การสอน, developing critical thinking skill, nursing students, teaching-learningบทคัดย่อ
การคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นสมรรถนะหลักที่สำคัญสำหรับนักศึกษาพยาบาล และเป็นสิ่งจำเป็นในการเรียนการสอนสาขาพยาบาล ทั้งภาคทฤษฏีและการฝึกปฏิบัติในคลินิก เพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณภาพของนักศึกษาพยาบาล ให้เป็นพยาบาลที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นส่วนหนึ่งของพื้นฐานของกระบวนการพยาบาล ช่วยให้มีการแก้ปัญหาอย่างป็นระบบ จึงเป็นสิ่งท้าทายสำหรับอาจารย์ผู้สอน ที่ต้องพัฒนาความสามารถของนักศึกษาพยาบาล ในการตัดสินใจแก้ปัญหา และมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งแนวทางในการพัฒนาทักษะการคิดอย่งมีวิจารณญาณ
ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน 1) กรณีศึกษาเป็นฐาน 2) ปัญหาเป็นฐาน 3) การประชุมปรึกษาภายหลังจากให้การพยาบาล และการประชุมปรึกษาการเกิดอุบัติการณ์ 4) การวางแผนการพยาบาล 5) แผนผังแนวความคิด และ 6) สถานการณ์จำลอง ดังนั้น ผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้รูปแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมตามรายวิชา และอาจนำมาใช้สอนแบบผสมผสานได้
Abstract
Critical thinking (CT) is core competency in nursing education. It is necessary and importance in theory and clinical practices. Which is based on nursing process. Each step of the nursing process is critical thinking. The nursing process is a systematic problem solving that provide quality of nursing care. Nursing students should grow and graduate with critical thinking skills, so they can provide quality nursing care in the profession of nursing. There for, it is challenges of nursing educators to improve students’ abilities in solving problems, making decisions and CT in difference circumstances. Methods of developing CT are consisted of 1) case study or case based learning (CBL) 2) problem based learning (PBL)
3) post conference and incidence conference 4) nursing care plan exercise 5) concept mapping and 6) simulation. There for, teaching-learning methods should be chosen in different class settings appropriately, and combined method as possible.