ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
คำสำคัญ:
ปัจจัยทำนาย, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, Predictive factors, eating behaviors, hypertensive patientsบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 109 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์ความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร แบบสัมภาษณ์การรับการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน แบบสัมภาษณ์การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง แบบสัมภาษณ์การรับรู้ประโยชน์ของการบริโภคอาหาร แบบสัมภาษณ์การรับรู้อุปสรรคของการบริโภคอาหาร และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ 2559 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (M = 92.86, SD = 15.53) และปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การรับรู้อุปสรรคของการบริโภคอาหารเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง (b = -.510) และความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร (b = .236) โดยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารได้ร้อยละ 41.1 (R2 = .411, p < .001) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องควรนำผลวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรม/ โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม และคงอยู่อย่างยั่งยืนในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพื่อให้มีภาวะสุขภาพที่ดีในระยะยาว โดยเน้นเรื่องการรับรู้อุปสรรคของการบริโภคอาหารเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง และให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร
The purpose of this research was to identify factors predicting eating behaviors among hypertensive patients. A cluster random sampling method was used to recruit the sample of 109 hypertensive patients in Dankhuntod district, Nakhonrachasima province. Research instruments were included a demographic data, knowledge, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers, and eating behaviors questionnaires. Data collection took place from February to March, 2016. Data was analyzed by using descriptive statistics and the Stepwise multiple regression analysis.
The results revealed that the sample had mean scores of eating behaviors at good level (M = 92.86, SD = 15.53). The significant predictors of eating behaviors were perceived barriers (b = -.510) and knowledge (b = .236). The model explained 41.1 % of variance. These findings suggest that nurses and related health care providers could apply these study results to develop activities/ programs to promote proper eating behaviors and sustainable among hypertensive patients for good health status in long term. The program should focus on perceived barriers and knowledge.