ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหว หรือทางร่างกาย ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ภิรญา จำปาศรี
  • สมสมัย รัตนกรีฑากุล
  • วรรณรัตน์ ลาวัง

คำสำคัญ:

คนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย, การปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, Person, with physical disability, Rehabilitation practice, Village health volunteer

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 340 ราย ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้เรื่องการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ แบบสอบถามการรับรู้บทบาทการปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ แบบสอบถามปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน  แบบสอบถามปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงาน  และแบบสอบถามการปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

            ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวฯ ในภาพรวมและรายด้าน 6 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการค้นหาและประเมินปัญหาสุขภาพ ด้านการจัดทำฐานข้อมูลและทะเบียนคนพิการในชุมชน ด้านการจัดทำแผนฟื้นฟูสมรรถภาพ การประสานงานและการส่งต่อ ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพเชิงรุก ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน และด้านการประเมินผลความก้าวหน้า ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวฯของ อสม. พบว่า การรับรู้บทบาท (β = .38) ปัจจัยจูงใจ (β = .36) และปัจจัยค้ำจุน (β = -.10) สามารถร่วมกันทำนายการปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวฯของ อสม. ได้ร้อยละ 40.40  ผลการศึกษานี้ให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรพัฒนากลวิธีในการส่งเสริมการรับรู้บทบาท และการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอสม.  เพื่อให้มีการปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวฯ อย่างครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น ทำให้คนพิการทางการเคลื่อนไหวฯ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

The purpose of this research was to identify the factors influencing rehabilitation practice for persons with physical disability among village health volunteers in Nakhon Pathom province.  Participants of the study were 340 village health volunteers in Nakhon Pathom province who were recruited by multistage random sampling technique. The research instruments consisted of the Demographic Questionnaire, the Knowledge of Rehabilitation Questionnaire, the Role Perception in Rehabilitation Questionnaire, the Motivation Factors of Rehabilitation Practice Questionnaire, the Maintenance Factors of Rehabilitation Practice Questionnaire, and the Rehabilitation Practice Questionnaire.  Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression.

          The results revealed that the overall and six aspects of rehabilitation practice including exploring and assessing health problems; setting up data-based and registration; making a plan of rehabilitation, coordinating and referring; providing proactive rehabilitation; the promoting family and community participation; and the evaluating rehabilitation progress, were rated at moderate levels. Results of the stepwise multiple regression analysis indicated that role perception in rehabilitation (β = .38), motivation factors (β = .36) and maintenance factors. (β = -.10) could explain 40.40% of the variance of the rehabilitation practice for persons with physical disability. Results suggest that nurses should develop strategies to promote role perception and increase the work incentives among village health volunteers to provide rehabilitation which will result in increasing the quality of life among persons with physical disabilities.

Downloads