ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการตรวจคัดกรองโรคของสามีหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ฉันท์ทิพย์ พลอยสุวรรณ
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
  • นิสากร กรุงไกรเพชร

คำสำคัญ:

โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย, ความตั้งใจในการตรวจคัดกรอง, เจตคติต่อการตรวจคัดกรองโรค, การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง, การรับรู้ความสามารถในการควบคุมปัจจัย, Thalassemia, intention to screening test, attitude toward the screening, subjective norms, perceived behavior

บทคัดย่อ

การตรวจคัดกรองโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในระหว่างตั้งครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์และสามี เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบการควบคุมโรคให้มีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการตรวจคัดกรองโรคของสามีหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นสามีหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย จำนวน 370 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล เจตคติต่อการตรวจคัดกรองโรค การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมปัจจัย และความตั้งใจในการตรวจคัดกรองโรค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

            ผลการวิจัยพบว่า ความตั้งใจที่จะไปตรวจคัดกรองโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับตั้งใจค่อนข้างมาก (M = 79.25, SD = 24.08) เจตคติต่อการตรวจคัดกรองโรคอยู่ในระดับดี (M = 1.60, SD = 1.03) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 7.00, SD = 2.59) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมปัจจัยอยู่ในระดับไม่แน่ใจ (M = 0.67, SD = 1.74) โดยค่ากำลังสองของการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (SN2) และระดับการศึกษา (Edu) เป็นปัจจัยร่วมกันทำนายความตั้งใจในการตรวจคัดกรองโรค (I) ร้อยละ 6.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R = .254,F = 12.629, p< 0.01;  R2= .064) ตามสมการ I = 58.014 + 0.193 (SN2) + 1.045 (Edu)

ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการบริการตรวจคัดกรองโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในสามีหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยเน้นการสร้างการคล้อยตามกลุ่มเพื่อให้มารับบริการตรวจคัดกรองโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเพิ่มขึ้น และลดจำนวนเด็กเกิดใหม่ที่เป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง

 

 

Abstract

            Screening for thalassemia in pregnant women and husbands during antenatal visits is the most effective approach to reduce the incidence of neonatal thalassemia. Therefore, the purpose of this research was to study factors affecting the thalassemia screening test among husbands of thalassemia carrier pregnant women in Bangkok. Three hundred seventy husbands of thalassemia carrier pregnant women who have never had a screening thalassemia test, were recruited to the study by using multi-stage random sampling technique. The Theory of Planed Behavior concepts were used, which consists of personal factors, attitude towards behavior, subjective norm, perceived ability to control factors for predicted the intention for screening thalassemia test. The data were analyzed by the descriptive statistics and stepwise multiple regression.

            The results showed that the average thalassemia screening intention was  almost high level (M = 79.25, SD = 24.08); attitude towards screening was at the good level (M = 1.60, SD = 1.03); subjective norms was in the highest level (M =7.00,SD = 2.59); perceived ability to control factors was in the uncertain level (M = 0.67, SD = 1.74). The square of subjective norm (SN2) and the education year (Edu) were significantly. Predicting factors the screening test intention (I) at 6.4% (R = .254,F = 12.629, P < 0.01; R2 = .064, as the equation: I = 58.014+ 0.193 (SN2)+ 1.045 (Edu).

The results of this research can be a guideline for development of screening thalassemia in order to coverage. Moreover, to enhancement subjective norms to persuade the target group to take screening thalassemia for decrease risk of severe neonatal thalassemia.

Downloads