ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ
Factors Influencing Intention to Stay in Career among Professional Nurses
คำสำคัญ:
Professional nurses, intention to stay in career, organizational commitment, happiness at work, พยาบาลวิชาชีพ, ความตั้งใจคงอยู่ในงาน, ความผูกพันต่อองค์การ, ความสุขในการทำงานบทคัดย่อ
การวิจัยแบบทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตั้งใจคงอยู่ในงานและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 360 คน ที่ปฏิบัติงานมานานไม่น้อยกว่า 1 ปี ในโรงพยาบาลศูนย์ ภาคตะวันออก
ในปี พ.ศ. 2559 เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 6 ชุดที่ให้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ตอบเอง ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ แบบประเมินความพึงพอใจในงาน แบบประเมินความสุขในการทำงาน แบบสอบถามความผูกพันต่อองค์การ และแบบสอบถามการสนับสนุนจากองค์การ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91, .97, .96, .94 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจคงอยู่ในงานในระดับปานกลาง (M = 44.38, S.D. = 9.64) ความผูกพันต่อองค์การเป็นปัจจัยทำนายที่ดีที่สุด (β = .55) และรองลงมาคือความสุขในการทำงาน (β = .24) ปัจจัยทั้งสองนี้สามารถทำนายความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 54.0 (F = 211.19, p < .001) ผลการศึกษานี้ให้ข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารทางการพยาบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการสุขภาพควรกำหนดหรือวางนโยบายในการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การและเพิ่มความสุขในการทำงานเพื่อธำรงรักษาพยาบาลวิชาชีพให้คงไว้ในหน่วยงาน
--------------------------------------------------
This predictive research aimed to examine intention to stay in career and influencing factors of intention to stay in career among professional nurses. A multi-stage random sampling was used to recruit a sample of 360 professional nurses who have been working not less than 1 year in central hospitals of the eastern region in 2016. Research instruments included 6 self-report questionnaires. There were a demographic information, the intention to stay in career of professional nurses questionnaire, the job satisfaction’s scale, the happiness at work inventory, the organizational commitment’s scale and the organizational support questionnaire. Their internal consistency reliabilities were .91, .97, .96, .94 and .89, respectively. Descriptive statistics and multiple regression analysis were employed to analyzed the data.
The results revealed that the participants had a moderate level of intention to stay in career (M = 44.38, S.D. = 9.64). Organization commitment was the best predictor (β = .55) following by happiness at work (β = .24). These two factors accounted for 54.0% in the prediction of intention to stay in career among professional nurses (F = 211.19, p < .001). These findings suggest that nurse administrators and related health care providers should provide or launch policies to strengthen the organizational commitment and increase the happiness at work. Consequently, professional nurses would stay in their career settings.
References
ดวงใจ จันทรประเสริฐ. (2556). ความเครียดในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพไทยในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทิพวรรณ ปานขาว. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลการสนับสนุนจากองค์การ การสนับสนุนจากครอบครัวกับดุลยภาพของงานและครอบครัว ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล,คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญจวรรณ มาลัยรุ่งสกุล. (2552). ปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับความสุขในการทำางานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญพิชชา จิตต์ภักดี, เรมวล นันท์ศุภวัฒน์, และอรอนงค์ วิชัยคำ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานและความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ. พยาบาลสาร, 40, 33-44.
พิมลรัตน์ คำแก้ว และสุวิณี วิวัฒน์วานิช. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับการตัดสินใจย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารเกื้อการุณย์, 21, 77-92.
ลักษมี สุดดี และยุพิน อังสุโรจน์. (2555). แรงจูงใจในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลทั่วไป เขตภาคกลาง. วารสารเกื้อการุณย์, 19(2), 42-59.
วิจิตร ศรีสุพรรณ และกฤษดา แสวงดี. (2555). ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 27(1), 5-12.
วัชรา ขาวผ่อง. (2556). ปัจจัยทำนายความพึงพอใจในงานและความตั้งใจคงอยู่ในงานของ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน ภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรารัตน์ บุญณสะ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลใหม่กับการตั้งเป้าหมายส่วนบุคคลและความผูกพันต่อเป้าหมาย: กรณีศึกษาโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต, คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรีย์ ท้าวคำลือ และพนิดา ดามาพงศ์. (2550). ปัจจัยคัดสรรที่ทำนายความตั้งใจที่จะคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 1 (1), 92-105.
อุไรพร จันทะอุ่มเม้า, ดนุลดา จามจุรี และศิริมา ลีละวงศ์. (2554). การประเมินความพึงพอใจในงาน ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของบุคลากรสุขภาพในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
อรุณรัตน์ คันธา, เดช เกตุฉ่ำ, กฤษดา แสวงดี และตวงทิพย์ ธีระวิทย์. (2556). การย้ายงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 28(3) 19-31.
Cowden, T. L., & Cummings, G.G. (2012). Nursing theory and concept development: a theoretical model of clinical nurses’ intentions to stay in their current positions. Journal of Advanced Nursing, 68(7), 1646-1657.
Cowin, L. S., & Hengstberger-Sims, C. (2006). New graduate nurse self-concept and retention: A longitudinal survey. International Journal of Nursing Studies, 43(1), 59-70.
Eisenberger, R., Armeli, S., Rexwinkel, B., Lynch, P. D., & Rhoades, L. (2001). Reciprocation of perceived organizational support. Journal of Applied Psychology, 86, 42–51.
Hong Tao, L. W., Ellenbecker, C. H., & Liu, X. (2012). Job satisfaction, occupational commitment and intent to stay among Chinese nurses: a cross-sectional questionnaire survey. Journal of Advanced Nursing, 68(3), 539-549.
Kim, E. K., & Hwang, J. I. (2011). Characteristics associated with intent to stay among Quality Improvement nurses. International Nursing Review 58, 89–95.
Krejzie, R. V., & Mogan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Manion, J. (2003). Joy at work: Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-655.
Meyer, J. P., Allen, N. J., &d Smith, C. A. 1993. Commitment to organizations and occupations: Extension and test of a three-component conceptualization. Journal of Applied Psychology, 74(1), 152-156.
Rhoades, L., & Eisenberger, R. (2002). Perceived organizational support: a review of the literature. Journal of Applied Psychology, 87(4), 698-714.
Warr, P. (2007). Work, happiness, and unhappiness. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.