ภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพตามการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออก

Image of Professional Nurse as Perceived by High-School Students in the Eastern Region

ผู้แต่ง

  • รักชนก คำมะนาง
  • นุจรี ไชยมงคล
  • โสรัตน์ วงศ์สุทธิธรรม

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพ, นักเรียนมัธยมศึกษา, การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพยาบาล, : Image of professional nurse, nurses’ information receiving, high-school students

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพตามการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพกับข้อมูลทั่วไปของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 315 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ภาคการศึกษาที่ 1/2559 โรงเรียนมัธยมตอนปลายในภาคตะวันออก เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน    

          ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพโดยรวมเท่ากับ 4.10 จากคะแนนเต็ม 5.00 (SD = .85) เมื่อพิจารณารายด้านทั้งหมด 7 ด้าน ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือด้านรูปร่างและคุณลักษณะส่วนบุคคล (M = 4.38, SD = .72) ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุดคือด้านค่าตอบแทน (M = 3.96, SD = .96) นักเรียนที่ศึกษาชั้นปีที่ต่างกันมีการรับรู้ภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพที่แตกต่างกัน (F = 4.18, p < .05) และนักเรียนที่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพยาบาลมาก มีการรับรู้ภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพที่เหมาะสมมาก (r = .26, p < .001) ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะว่าพยาบาลวิชาชีพและผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเพื่อพัฒนาภาพลักษณ์พยาบาลวิชาชีพพยาบาล รวมทั้งการส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพที่เหมาะสม และเพื่อส่งผลต่อทัศนคติทางบวกของนักเรียนมัธยมปลายสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สำหรับการเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาชีพการพยาบาล

-----------------------------------------------------

This descriptive study aimed to examine image of professional nurse as perceived by high-school students with major in sciences-mathematics, comparison and relationships between the perception of image of professional nurse and the students’ demographic data. The multi-stage random sampling was used to recruit a sample of 315 students who were studying in Mathayomsuksa 4-6 with major in sciences-mathematics in academic year of 1/2016 in secondary schools of the eastern region. Data collection was carried in November 2016. Research instruments included a demographic questionnaire and the questionnaire of professional nurse’s image. Its reliability was .96. Data were analyzed by using descriptive statistics, t-test, one-way ANOVA and the Pearson correlation coefficient.

          The results revealed that the total mean score of perception of professional nurse’s image was 4.10 out of 5.00 full score (SD = .85). When considering a total of 7 subscales, the highest mean score was a subscale of figure and personal characteristics (M = 4.38, SD = .72), and the lowest mean score was a subscale of income earning (M = 3.96, SD = .96). There was a significant different of perception of professional nurse’s image among students who studied with different years (F = 4.18, p < .05). The students with more receiving information about nurses had perceived more appropriated professional nurse’s image (r = .26, p < .001) These findings indicate that professional and administrative nurses could obtain the study outcomes to apply as a fundamental data in management for development of professional nurse’s image, as well as promotion and maintenance of appropriated professional nurse’s image. Consequently, positively attitude would be obtained toward high-school students with major in sciences-mathematics for their future selection studying in the nursing profession.

 

References

แขไข เอมะรักษ์. (2551). ภาพลักษณ์พยาบาลวิชาชีพในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะพยาบาลศาสตร์วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. (2550). ทัศนคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ที่สมัครเข้า ศึกษาคณะพยาบาลวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย.[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http.www.cas.ac.th.
นงลักษณ์ เชษฐภักดีจิต. (2541). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความตั้งใจในการเลือกอาชีพของนักเรียนหญิงมัธยมศึกษา
ตอนปลายระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2540 ภาคตะวันออกกรณีการเลือกศึกษาวิชาชีพพยาบาล. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ศิลปศาสตร์.(ประชากรศึกษา), บัญฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุษบา สุธีธร. (2556). การสื่อสารเชิงกลยุทธ์เพื่อสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร. เอกสารประกอบการบรรยาย.
[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://issuu.com.
พจน์ ใจชาญสุข. (2548). CEO PR & IMAGE: ยุทธวิธีการสร้างภาพลักษณ์ผู้บริหารด้วยการจัดการสื่อสารและ ประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: ฐานมีเดีย เน็ตเวิร์ด.
ไพเราะ เอี่ยมสุรีย์. (2538). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกและไม่เลือกเรียนวิชาชีพพยาบาล. วิทยานิพนธ์
ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มงคล ศรีปัญญาสกุล, มาลีวัล เลิศสาครสิริ, และรสลิน เอี่ยมยิ่งพานิช. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่าง
ภาพลักษณ์ของพยาบาลและวิชาชีพการพยาบาลกับความสนใจในการเลือกศึกษาต่อสาขาการพยาบาลของนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 6 ในเขตกรุงเทพมหานคร,วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 16(1), 21-30.
มณฑา ภู่ห้อย. (2550). ภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน
จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิต
วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มัณฑนา เหมชะญาติ, รัชชนก สิทธิเวช, และศุภกิจ เฉลิมกิตติชัย. (2554). การเปรียบเทียบความตั้งใจและ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเลือกศึกษาวิชาชีพการพยาบาลของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ในเขตภาคตะวันออกในปีการศึกษา 2547 กับปีการศึกษา 2553. รายงานการวิจัย.
เรมวล นันท์ศุภวัฒน์ และอรอนงค์ วิชัยคำ. (2549). แบบประเมินภาพลักษณ์ของพยาบาล.เอกสารอัด
สำเนา. ภาควิชาบริหารการพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Foong, A. L., Rossister, J. C., & Chan, P. T. (1999). Social- cultural perspective on the image of
nursing The Hong Kong dimension. Journal of Advanced Nursing, 25, 52-548.
Kalish, P. A, & Kalisch, B. J. (1987). The changing image of the nurse. California: Addison-
Wesley Pub. Co., Health Sciences Division.
Kotler, P. (2000). Marketing management, 10th edition. New Jersey: Prentice-Hall.
Strasen, L. (1992). The image of professional nursing: Strategies for action. Philadelphia: J. B.
Lippincott.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-11-2017