ปัญหาและความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Problems and Needs of Self-Development among Staff of Faculty of Nursing, Burapha University

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร พลาบดีวัฒน
  • อาภรณ์ ดีนาน
  • นุจรี ไชยมงคล

คำสำคัญ:

ปัญหา, ความต้องการ, การพัฒนาตนเอง, การพัฒนาทรัพยากรบุคคล, Problems, needs, self-development, human resource development

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี จำนวน 147 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามปัญหาและความต้องในการการพัฒนาตนเองของบุคลากร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีปัญหาการพัฒนาตนเองโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (M =2.45, SD = 0.15) ความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากร เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ การศึกษาดูงานมีค่าเฉลี่ยความต้องการอยู่ในระดับสูง (M = 4.28, SD = 0.16) การฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยความต้องการอยู่ในระดับสูง (M = 3.84, SD = 0.23) และการศึกษาต่อมีค่าเฉลี่ยความต้องการอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.23, SD = 0.11) ด้านความต้องการการสนับสนุนด้านการวิจัยพบว่าบุคลากรส่วนมาก (ร้อยละ 85.2) ต้องการให้จัดหาบุคคลที่สามารถแก้ไขภาษา (editor) นอกจากนี้ ความต้องการข้อมูล/คู่มือ/ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาตนเองของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับสูง (M =4.15, SD = 0.10) ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารควรนำผลการศึกษาครั้งนี้ไปใช้ในการวางแผนพัฒนาบุคลากรและส่งเสริมให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรและนโยบายของสถาบัน

-----------------------------------------------

 

The purpose of this descriptive study was to examine problems and needs related to self-development among staff of Faculty of Nursing, Burapha University. Participants included 147 academic and supporting staff of Faculty of Nursing, Burapha University, Chon Buri province. Data collection was carried out from October to December 2015. Research instruments consisted of a demographic questionnaire and the problems and the needs for self-development questionnaire. Descriptive statistics was used to analyze the data.

          Results revealed that the participants had problems of self-development at a low level (M =2.45, SD = 0.15), Needs for the self-development were sorted in descending order; study visit was at a high level (M = 4.28, SD = 0.16), the training in suitable program was also at a high level (M = 3.84, SD = 0.23), and continuing higher education was at a moderate level (M = 3.23, SD =0.11). For the needs of research support, it was found that most of the participants (85.2%) needed to have a native English language person to edit their papers. Moreover, the mean score of information needs/ guideline/ handbook, and advanced knowledge related to human resource development was at a high level (M =4.15, SD = 0.10). These findings suggest that administrator could use these research results to make development plan for human development in according to staff needs and institute policy.

References

จุฑามาส แสงอาวุธ และพรนิภา จินดา. (2550). แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. รายงานการวิจัย.
ทรงศักดิ์ ทิอ่อน. (2550). ปัญหาและความต้องการด้านการพัฒนาบุคลากรขององค์การ บริหารส่วนจังหวัด
อุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
ทิพวรรณ ธรรมาธิกุล. (2550). การศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของ
มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา. รายงานการวิจัย.
เปรมฤดี กิ่งแสง. (2553). ความต้องการพัฒนาตนเองของอาจารย์มหาวิทยาลัยสยาม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
สยาม. รายงานการวิจัย.
พัชรินทร์ ราชคมน์. (2554). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. รายงานการวิจัย.

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2557). รายงานผลการประเมินแผนพัฒนาอาจารย์เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ, 2557. เอกสารรายงาน.
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2557). รายงานผลการประเมินแผนการลาศึกษาต่อระดับปริญญาเอก, 2557. เอกสารรายงาน.
วิน เชื้อโพธิ์หัก. (2537). การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
วนิดา พิงสระน้อย. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัย
และพัฒนาหลักสูตร, มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
สุนิษา กลึงพงษ์. (2556). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการ
บัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการอุดมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฆ.
เสนาะ ติเยาว์. (2539). การบริหารงานบุคคล (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย.
อิสยาภรณ์ พิทยาภรณ์. (2548). การศึกษาความต้องการและปัญหาการพัฒนาตนเองด้านวิชาการของอาจารย์
มหาวิทยาลัยเอกชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Nedler, L., & Nadler, Z. (1989). Developing human resources. California: Jossey-Bass.
Werther, W. B., & David, K. (1981). Personnel management and human resources.
New York: McGraw-Hill.
Woolner, P. (1992). The purposes and stages of the learning organization. Dissertation
Abstracts International. 9(23), 41 – 45.
Yorks, L. (2005). Strategic human resource development. Mason, Ohio: Thomson/South-
Western.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-11-2017