ผลของโปรแกรมการชี้แนะต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานและ ค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
Effects of Coaching Program on Behavioral Diabetes Control and HbA1C among Persons with Type 2 Diabetes Mellitus
คำสำคัญ:
โปรแกรมการชี้แนะ, พฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน, ค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสม, ผู้เป็นเบาหวานชนิด ที่ 2, Coaching program, behavioral diabetes control, HbA1C, type 2 diabetes mellitusบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการชี้แนะผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานและค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง จำนวน 52 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการการชี้แนะ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับความรู้ในการปฏิบัติตนจากพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย โปรแกรมการชี้แนะ คู่มือพิชิตเบาหวาน โปสเตอร์อาหารแลกเปลี่ยน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสถิติพรรณนา และการทดสอบทีแบบสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลต่างคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานมากกว่ากลุ่มควบคุมและมีค่าเฉลี่ยผลต่างค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 27.87, p < .001 และ t = -8.42, p < .001 ตามลำดับ) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิสามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นจากน้ำตาลในเลือดสูงได้
-----------------------------------------------
The purpose of this research was to examine the effects of a coaching program on behavioral diabetes control and HbA1C among people with type 2 diabetes mellitus. A simple random sampling technique was used to recruit a sample of 52 persons with type 2 diabetes mellitus in Maptaphut municipality, Rayong province. Then they were randomly assigned into either the experimental (n = 26) or the control (n = 26) groups. The experimental group received the coaching program whereas the control group received a routine service from the hospital. The intervention included the coaching program, handbook for diabetes control and a diabetic food poster. Data was collected by demographic questionnaires and behavioral diabetes control questionnaires. Data were analyzed by using descriptive statistics and independent t-test.
The results revealed that after completion of the implementation, the experimental group had significantly higher mean difference scores of diabetic control behavior and HbA1C than those of the control group (t = 27.87, p < .001 and t = -8.42, p < .001, respectively). These findings suggest that nurses and other health professions can use this coaching program to enhance diabetes control behavior to reduce HbA1C among persons with type 2 diabetes mellitus.
References
ที่มีข้อจำกัดในการมองเห็น. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมขน, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
คลินิกเบาหวานเทศบาลเมืองมาบตาพุด. (2557). รายงานผลการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในคลินิก
เบาหวานประจำเดือน. ระยอง: ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองมาบตาพุด.
จงจิตร อังคทะวานิช. (2556). ความรู้พื้นฐานของโรคเบาหวาน. ใน สารัช สุนทรโยธินและ
ปฏิณัฐ บูรณะทรัพย์ขจร (บรรณาธิการ), ตำราโรคเบาหวาน (พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า 67-81).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิราพร นิลสุ และรัตน์ศิริ ทาโต. (2556). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองโดยการสนับสนุนจาก
เพื่อนต่อระดับน้ำตาลสะสมของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา, 21(3), 1-13
นุชรี อาบสุวรรณ. (2558). ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลกปี 2558 (ปีงบประมาณ 2559).
นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ.
ปกาสิต โอวาทกานนท์. (2554). ผลการดูแลรักษาเบาหวานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่
สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาล
ทรายมูล. ศรีนครินทร์เวชสาร, 26(4), 339-349.
ราม รังสินธุ์ และปิยทัศน์ ทัศนาวิวัฒน์ (2555). รายงานฉบับสมบูรณ์การประเมินผลการดูแลผู้ป่วย
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
และโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2555. นนทบุรี: เครือข่ายวิจัย
คลินิกสหสถาบัน.
วชิรา สุทธิธรรม, ยุวดี วิทยพันธ์ และสุรินธร กลัมพากร. (2559). ผลของโปรแกรมพัฒนาความ
สามารถในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของ
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลลานสกา. วารสารสภาการพยาบาล, 31(1), 19-31.
วนิดา สติประเสริฐ, ยุวดี ลีลัคนาวีระ และพรนภา หอมสินธุ์. (2558). ผลการชี้แนะต่อพฤติกรรม
สุขภาพ และระดับความดันโลหิตของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ
ที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 8(3), 33-51.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี. (2554). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ:
ศรีเมืองการพิมพ์.
สารัช สุนทรโยธิน. (2556). กลไกการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2. ใน สารัช สุนทรโยธิน และปฏิณัฐ
บูรณะทรัพย์ขจร (บรรณาธิการ), ตำราโรคเบาหวาน (พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า 33-38). กรุงเทพฯ: โรง
พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุสา พุทธรักษ์ และเสาวนันท์ บำเรอราช. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาล
ในเลือดของผู้ป่วยชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลก้างปลา จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(1), 19-35.
American Diabetes Association [ADA]. (2015). Standards of medical care in
diabetes-2015. Diabetes Care, 38(1), S5-S7.
Burns, N., & Grove, S. K. (2005). The practice of nursing research: Conduct, critique, &
utilization (5th ed.). St. Louis, MO: Elsevier Saunders.
International Diabetes Federation [IDF]. (2015). IDF diabetes atlas (7th ed.). Brussels: IDF.
Polit, D. F., & Sherman, R. E. (1999). Statistical power in nursing research. Nursing
Research, 39(6), 365-369.
Spross, J. A. (2009). Expert coaching and guidance. In A. B. Hamric, J. A. Spross, & C. M. Hanson (Eds.), Advanced practice nursing: An integrative approach (4th ed.; pp. 159-190). St. Louis: Elsevier Saunders.
Wolever, R. Q., Dreusicke, M., Fikkan, J., Hawkins, T. V., Yeung, S., Wakefield, J.,
Duda, L., Flowers, P., Cook, C., & Skinner, E. (2010). Integrative health
coaching for patients with type 2 diabetes: A randomized clinical trial.
The Diabetes Educator, 36(4), 629-639.
Young, D., Furler, J., Vale, M., Walker, C., Segal, L., Dunning, P., Best, J., Blackberry, I.,
Audehm, R., Sulaiman, N., Dunbar, J., & Chondros, P. (2007). Patient
engagement and coaching for ealth: The PEACH study a cluster randomised
controlled trial using the telephone to coach people with type 2 diabetes to
engage with their GPs to improve diabetes care: A study protocol. BMC
Family Practice, 8(20), 1-9.