แรงจูงใจในการสูบบุหรี่และความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ของนักเรียนชายที่สมาชิกครอบครัวสูบบุหรี่

ผู้แต่ง

  • ชฎาภรณ์ วัฒนวิไล
  • วันเพ็ญ รักษ์ปวงชน

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการสูบบุหรี่, พฤติกรรมความตั้งใจไม่สูบบุหรี่, นักเรียนชาย, สมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายแรงจูงใจในการสูบบุหรี่และพฤติกรรมตามแผนความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่มีสมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่ ผู้ให้ข้อมูลคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 20 คน เป็นนักเรียนชายที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครนายก เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2559 โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล จำนวน 3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการสูบบุหรี่มาจาก 2 ประเด็นหลัก คือ 1) ความอยากรู้อยากลอง ได้แก่ ลองเลียนแบบ เข้าถึงบุหรี่ง่าย และแสดงความเท่ และ 2) ยอมรับว่าผู้ใหญ่สูบบุหรี่เป็นเรื่องปกติ พฤติกรรมความตั้งใจไม่สูบบุหรี่มี 2 ประเด็นหลัก คือ 1) การควบคุมตนเอง ได้แก่ ตั้งใจอยู่ให้ห่าง และการเห็นโทษของบุหรี่ และ 2) การควบคุมจากครอบครัวและชุมชน ได้แก่ การสูบบุหรี่เป็นการทำความผิดต่อพ่อแม่ และวางเป้าหมายในชีวิต ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาแนวทางการลดอัตราการสูบบุหรี่ในเยาวชนโดยการลดแรงจูงใจ และเสริมสร้างพฤติกรรมความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ควรทำวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมตามแผนความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ในเยาวชนที่มีครอบครัวสูบบุหรี่ต่อไป

References

กมลภู ถนอมสัตย์ และ รัชนี สรรเสริญ. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ในระยะเริ่มต้นของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 4(3), 38-47.
กัลยา วิริยะ. (2558). ปรากฏการณ์วิทยาทางการพยาบาล: การวิจัยเชิงคุณภาพตามปรัชญาของกาดาเมอร์. วารสารพยาบาล, 64(3), 6-13.
ขณิษฐ์ชา บุญเสริม, ผกามาศ สุฐิติวนิช, และ วรษา รวิสานนท์. (2552). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(2), 6-14.
จุรีย์ อุสาหะ, ฐิติพร กันวิหค, เศรณีย์ จุฬาเสรีกุล และ วิไลลักษณ์ หฤหรรษพงศ์. (2558). การสังเคราะห์อภิมานงานวิจัย ปัจจัยป้องกันพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในเยาวชนไทย. วารสารควบคุมโรค, 41(4), 271-284.
โชคชัย สาครพานิช. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตั้งใจสูบบุหรี่ของนักเรียนชายที่ไม่สูบบุหรี่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม จังหวัดตราด. วารสารการศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 28(1), 44-52.
พวงผกา คงวัฒนานนท์. (2560). ประสบการณ์การสูบบุหรี่ของหญิงวัยรุ่นตอนปลาย: กรณีศึกษานักศึกษาในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(2), 9-18.
มัลลิกา มาตระกูล, สุรินธร กลัมพากร และ อาภาพร เผ่าวัฒนา. (2555). ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่มวนเองในจังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาล, 61(1), 10-20.
ยุพา จิ๋วพัฒนกุล และ นงนุช เพ็ชรร่วง. (2559). การป้องกันการสูบบุหรี่ในเยาวชน: มุมมองของครอบครัว. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(2), 42-50.
วันเพ็ญ ธุรกิตต์วัณณการ และ รพีกรณ์ เปี่ยมพืช. (2555). ปัจจัยด้านจิตใจและลักษณะบุคลิกภาพ. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 19(2), 55-60.
วันเพ็ญ รักษ์ปวงชน, กัลยา วิริยะ, จันทิมา ฤกษ์เลื่อนฤทธิ์ และ ลาวัณย์ รัตนเสถียร. (2555). ผลการเรียนการสอนวิชาบุหรี่กับสุขภาพต่อความรู้ ทัศนคติและความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ของนิสิต. วารสารพยาบาล, 61(1), 21-30.
ศิริญญา ชมขุนทด, พรนภา หอมสินธ์, และ รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. (2557). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อความมั่นใจในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชาย. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 91-103.
สุปาณี เสนาดิสัย และ สุรินธร กลัมพากร. (2555). บุหรี่กับสุขภาพ: พยาบาลกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ. กรุงเทพฯ: เบญจผล.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). ปกป้องเยาวชนไทยห่างไกลบุหรี่. เข้าถึงได้จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/28396.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากรไทย พ.ศ. 2557. เข้าถึงได้จากhttp://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/smokePocket57.
Ajzen, I. (2011). The theory of planned behavior: Reactions and reflections. Psychosocial and Health, 26(9), 1113-1127.
Hock, L. K ., Ghazali, S. M., Cheong, K. C., Kuay, L. K., Li, L. H., Huey, T. C., & et al. (2014). Prevalence and factors associated with smoking intentions among non-smoking and smoking adolescents in Kota Tinggi, Johor, Malaysia. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention, 15, 4359-4366.
Liao, Y., Huang, Z., Huh, J., Pentz, M. A., & Chou, C. P. (2013). Changes in friends' and parental influences on cigarette smoking from early through late adolescence. Journal of Adolescent Health, 53, 132-138.
Mahabee-Gittens, E. M., Xioa, Y., Gordon, J. S., & Khoury, J. C. (2013). The dynamic role of parental influences in preventing adolescent smoking initiation. Addictive Behaviors Journal, 38, 1905-1911.
Mercken, l., Sleddens, E. F. C., Vries, H. D., & Steglich, C. E. G. (2013). Choosing adolescent smokers as friends: The role of parenting and parental smoking. Journal of Adolescence, 36, 383-392.
Otten, R., Engels, R., Ven M., & Bricker, J. B. (2007). Parental smoking and adolescent smoking stage: The role of parents’ current and former smoking, and family structure. Journal of Behavioral Medicine, 30(2), 143-154.
Smith, B. N., Bean, M. K., Mitchell, K. S., Speizer, I. S., & Fries, E. A. (2007). Psychosocial factors associated with non-smoking adolescents’ intention to smoke. Health Education Research, 22(2), 238-247.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-03-2018