ผลลัพธ์ของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับครูกลุ่มเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2

ผู้แต่ง

  • นงพิมล นิมิตรอานันท์
  • ศศิธร รุจนเวช
  • สมคิด โพธิ์ชนะพันธุ์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ, โรคข้อเข่าเสื่อม, การรับรู้ความรุนแรงของโรค, พฤติกรรมการป้องกันโรค

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

              การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับครูกลุ่มเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปปฏิบัติงานในโรงเรียนระดับประถมศึกษานครปฐมเขต 2 ในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงตุลาคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพฯ ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 6 สัปดาห์ ประกอบด้วย การให้ความรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการตนเองและปรับวิถีชีวิตเพื่อปกป้องข้อเข่า การฝึกทักษะกายบริหารบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่า และการควบคุมน้ำหนักตัวร่วมกับการกำกับติดตามช่วยเหลือทางโทรศัพท์ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรุนแรงอาการปวดเข่า และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .94 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบที

            ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการได้รับโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีคะแนนความรุนแรงของโรคลดลงและมีพฤติกรรมการป้องกันโรคสูงกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.01) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับครูกลุ่มเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมนี้มีประสิทธิภาพ พยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปฏิบัติงานอยู่ในชุมชนและบุคลากรทางสุขภาพ ควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชน เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคและให้มีพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมดีขึ้น

References

ชนิสรา เตชะมา, วารี กังใจ และ พรชัย จูลเมตต์. (2557). ผลของโปรแกมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพต่อ
พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคข้อเสื่อม. วารสารคณะพยาบาล
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 22(1), 1-14.
นงพิมล นิมิตรอานันท์. (2557). สถานการณ์ทางระบาดวิทยาและการประเมินความเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมในคน
ไทย. วารสารพยาบาลกองทัพบก, 15(3), 185-194.
นงพิมล นิมิตรอานันท์ และ ศศิธร รุจนเวช. (2557). การสังเคราะห์วรรณกรรมเรื่อง การบำบัดรักษาแบบไม่
ใช้ยาในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิ. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษา เอกชนแห่ง
ประเทศไทย (ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 3(1), 35-49.
แววดาว ทวีชัย. (2543). พฤติกรรมการดูแลตนเองและความรุนแรงโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ. วิทยา
นิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, ธีระ สิริสมุด แก้วกุล, ตันติพิสิฐกูล, ยศ ตีระวัฒนานนท์, และลี่ลี อิงคศรีสว่าง. (2556). รายงานผลการศึกษาเบื้องต้น โครงการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงาน ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ.
เข้าถึงได้จาก www.hitap.net/research
Allen, K. D. & Golightly, Y. M. (2015). Epidemiology of osteoarthritis: State of the evidence.
Current Opinion in Rheumatology, 27(3), 276-283.
Brosseau, L., Wells, G. A., Tugwell, P., Egan, M., Dubouloz, C. J., Casimiro, L., et al. (2011). OTTAWA Panel evidence-based clinical practice guidelines for the management of
osteoarthritis in adults who are obese or overweight. Physical Therapy Reviews, 91(6),
843-861.
Charoencholvanich, K., & Pongcharoen, B. (2005). Oxford Knee Score and SF-36: Translation &
reliability for use with total knee arthroscopy patients in Thailand. Journal of The
Medical Association of Thailand, 88(9), 1194-1202.
Christensen, R., Bartels, E.M., Astrup, A., & Bliddal, H. (2007). Effect of weight reduction in
obese patients diagnosed with knee osteoarthritis: A systematic review and meta-
analysis. Annual of the Rheumatologic Disease, 66(4), 433-439.
Conaghan, P. G., Hunter, D.J., Maillefert, J. F., Reichmann, W. M., & Losina, E. (2011). Summary
and recommendations of the OARSI FDA Osteoarthritis assessment of structure
change working group. Osteoarthritis Cartilage, 19, 606-610.
Cooper, C., Dennison, E., Edwards, M., & Litwic, A. (2013). Epidemiology of osteoarthritis. Medicographia, 35, 145-151.
Dawson, J., Fitzpatrick, R., Murray, D., & Carr, A. (1998). Questionnaire on the perceptions of
patients about total knee replacement. The Journal of Bone and Joint Surgery,
80(1), 63 – 69.
Dodd, M., Janson, S., Facione, N., Faucett, J., Froelicher, E. S., Humphreys, J. & et.al. (2001).
Advancing the science of symptom management. Journal of Advanced Nursing,
33(5), 668 – 676.
Haq, S. A., & Davatchi, F. (2011). Osteoarthritis of the knees in the COPCORD world. International
Journal of Rheumatic Disease, 14, 122-129.
Hochberg, M. C., Altman, R. D., April, K. T., Benkhalti, M., Guyatt, G., McGowan, T. T., & et.al.
(2012). American College of Rheumatology (ACR) 2012: Recommendations for the use of
non - pharmacologic and pharmacologic therapies in Osteoarthritis of the hand, hip, and knee. Arthritis Care & Research, 64(4), 465-474.
Jevsevar, D. (2013). Treatment of osteoarthritis of the knee: evidence-based guideline,
(2nd ed.) Journal of the American Academy of Orthopedic Surgeon, 21(9), 571-576.
Larmer, P. J., Reay, N. D., Aubert, E. R., & Kersten, P. (2014). Systematic review of guidelines
for the physical management of osteoarthritis. Archives of Physical Medicine Rehabilitation, 95(2), 375–389.
McAlindon, T. E., Bannuru, R. R., Sullivan, M. C., Arden, N. K., Berenbaum, F., Bierma-Zeinstra,
S. M., & et al. (2014). Non-surgical management of knee osteoarthritis. Osteoarthritis
Cartilage, 22(3), 363–388.
Richmond, J. (2013). The treatment of osteoarthritis in the middle-aged athlete. Sports
Medicine and Arthroscopy Review, 21(1), 1.
The Royal College of Physicians of London. (2008). Osteoarthritis: National clinical guideline for
care and management in adults. London: The Lavenham Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-03-2018