การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน: กรณีศึกษานวัตกรรมการพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลคลองใหญ่ จังหวัดตราด

ผู้แต่ง

  • สุรีย์รัตน์ ธนากิจ
  • สมสมัย รัตนกรีฑากุล
  • นิสากร กรุงไกรเพชร
  • อริสรา ฤทธิ์งาม

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน, การสร้างเสริมสุขภาพ, นวัตกรรมการพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการดำเนินงานนวัตกรรมการพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้านโรงพยาบาลคลองใหญ่ จังหวัดตราด         โดยใช้กรอบแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง จำนวน 25 คน ระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2557  เก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการสนทนากลุ่มเฉพาะ สัมภาษณ์เจาะลึก สังเกต บันทึกเสียงและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความเชื่อถือได้ด้วยวิธีการสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน มี 4 ระยะ ได้แก่ 1) ริเริ่มนโยบายกำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อลดอัตราครองเตียง ลดอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำ และลดค่าใช้จ่าย 2) การสร้างทีมงานการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน สร้างโรงพยาบาล 1 เตียงที่บ้าน พยาบาลสอนฝึกทักษะให้ผู้ดูแลสามารถดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านได้เช่นเดียวกับได้รับการดูแลที่โรงพยาบาล โดยมี ทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมวางแผนการดูแลผู้ป่วย 3) การสร้างเครือข่ายการดูแล ได้แก่ กลุ่ม องค์กร อาสาสมัคร และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นให้งบประมาณสนับสนุนการดูแลผู้ป่วย 4) ได้รูปแบบระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน มีธนาคารอุปกรณ์ มีระบบการประเมินสภาพผู้ป่วยให้การดูแลแบบองค์รวม พยาบาลประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน กลุ่ม องค์กรต่าง ๆ เกิดเป็นภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยที่บ้านอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอคลองใหญ่  โดยสามารถลดอัตราครองเตียง ลดอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำ ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนต่ำกว่าเกณฑ์  ผลการวิจัยนี้พยาบาลสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้านในพื้นที่อื่น ๆ ให้สอดคล้องกับบริหารงานเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอตามบริบทพื้นที่

References

เนติมา คูนีย์, บรรณาธิการ. (2557). การทบทวนวรรณกรรมสถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการ
บริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. นนทบุรี : อาร์ต ควอลิไฟท์จำกัด.
ศรีเพ็ญ สวัสดิมงคล, บรรณาธิการ. (2559). รายงานประจำปี 2558. นนทบุรี: สำนักงานกิจการ
โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
ขนิษฐา นันทบุตร. (2557). การศึกษานวัตกรรมทางการพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. ในการ
ประชุมกำหนดแนวทางการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ของนวัตกรรมทางการพยาบาล
ภายใต้โครงการขับเคลื่อนวิชาชีพการพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. วันที่ 12
พฤษภาคม พ.ศ. 2557. โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร.
นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา, ทิพย์สุดา ลาภภักดี และพัชรีย์ กลัดจอมพงษ์, บรรณาธิการ. (2556). การ
พยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน. นนทบุรี : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ณิชาภัตร พุฒิคามิน. (2559). แนวทางที่ 2 การปรับระบบการดูแลต่อเนื่องเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ
สถานบริการสุขภาพระดับทุติยภูมิ. ใน วรรณภา ศรีธัญรัตน์ และ ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล
(บรรณาธิการ), แนวทางการพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับพยาบาลวิชาชีพ
ในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ระดับทุติยภูมิ และระดับตติยภูมิ (หน้า 50-77).
กรุงเทพฯ: มาตาการพิมพ์.
โรงพยาบาลคลองใหญ่. (2554). รายงานการประเมินตนเอง (SAR 2011). ตราด: โรงพยาบาลคลองใหญ่.
โรงพยาบาลคลองใหญ่. (2556). เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอคลองใหญ่ (CUP Profile).รายงานเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ปีงบประมาณ พ.ศ.2556.
โรงพยาบาลคลองใหญ่. (2557). เอกสารประกอบคำบรรยาย “การประเมินรับรองมาตรฐาน HA”.วันที่ 13 กุภาพันธ์ 2557. โรงพยาบาลคลองใหญ่ จังหวัดตราด.
วนิดา สติประเสริฐ, ยุวดี ลีลัคนาวีระ และพรนภา หอมสินธุ์. (2558). ผลการชี้แนะต่อพฤติกรรม
สุขภาพ และระดับความดันโลหิตของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้, วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 8(3), 33-51.
สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, อริสรา ฤทธิ์งาม, ชรัญญากร วิริยะ, ตระกูลวงศ์ ฦๅชา, เจนจิรา เจริญการไกร, นิสากร กรุงไกรเพชร และสมสมัย รัตนกรีฑากุล. (2558). การสร้างเสริมสุขภาพในการควบคุมวัณโรค : กรณีศึกษานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยวัณโรคโรงพยาบาลวังน้ำเย็น. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 23(4), 74 – 88.
สภาการพยาบาล. (2552). ประกาศสภาการพยาบาลเรื่อง ขอบเขตและสมรรถนะผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงสาขาต่างๆ. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 16 ง วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552.
สภาการพยาบาล. (2556). โครงการขับเคลื่อนวิชาชีพการพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. นนทบุรี: สภาการพยาบาล.
สุภางค์ จันทวานิช. (2556). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แสงทอง ธีระทองคำ, ณัฏฐิรา ประสาทแก้ว และวันทนา มณีศรีวงศ์กูล. (2557). ผลของโปรแกรม
การเยี่ยมบ้านร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ต่อพฤติกรรมสุขภาพ และภาวะสุขภาพของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้, รามาธิบดีพยาบาลสาร, 20(3), 356-371.
ศิริพร จิรวัฒน์กุล. (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์.
ศิริพร ขัมภลิขิต. (2557). บรรยายสรุปในการประชุมคณะทำงานประสานโครงการขับเคลื่อนวิชาชีพการพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. ณ ห้องประชุม ดร.วิจิตร ศรีสุพรรณ สภาการพยาบาล. วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557.
Braun, V. and Clarke, V. (2006). Using thematic analysis in psychology, Qualitative Research in Psychology, 3(2), 77-101.
Denzin, N. K., Lincoln, Y. S., & Giardina, M. D. (2006). Disciplining qualitative research. International Journal of Qualitative Studies in Education, 19(6), 769-782.
Who Health Organization [WHO]. (1986). Health Promotion. Retrieved from: http:// www.who.int/healthpromotion/conferences/previous/ottawa/en/index1.html.
Who Health Organization [WHO]. (2009). Milestones in health promotion: statements from global conference. Retrieved from: http://www.who.int/health promotion/Milestones Health Promotion 05022010pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-03-2018