ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากลำบากในการปรับตัวของมารดา ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาลทารกแรกเกิดสู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • เรืออากาศเอกหญิงสุปรียา สมบูรณ์
  • สมสิริ รุ่งอมรรัตน์
  • พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม

คำสำคัญ:

ทารกที่มีความเสี่ยงสูง, ความยากลำบากในการปรับตัวของมารดา, ความพร้อมของมารดาในการ จำหน่ายทารก, สัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความยากลำบากในการปรับตัวของมารดาในช่วงเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาลทารกแรกเกิดสู่บ้านและปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของทารกที่มีความเสี่ยงสูงที่ทารกเข้ารับการรักษาและจำหน่ายจากหออภิบาลทารกแรกเกิด โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ จำนวน 84 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของมารดาและทารก แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก แบบสอบถามความพร้อมของมารดาในการจำหน่ายทารกกลับบ้านแบบสัมภาษณ์ปัญหาในการดูแลทารกของมารดา แบบบันทึกการเจ็บป่วยและการเจริญเติบโตของทารก แบบสัมภาษณ์ข้อมูลการดูแลทารกของมารดาและแบบสอบถามความยากลำบากในการปรับตัวของมารดา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน

ผลการวิจัย พบว่า ความยากลำบากในการปรับตัวของมารดาในช่วงเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาลทารกแรกเกิดสู่บ้านโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 35.22, S.D. = 21.56) ปัจจัยรายได้ของครอบครัว ความพร้อมของมารดาในการจำหน่ายทารกกลับบ้าน และสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกมีความสัมพันธ์ทางลบกับความยากลำบากในการปรับตัวของมารดาในช่วงเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาลทารกแรกเกิดสู่บ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.329, r = -.538, r = -.489;  p< .05 ตามลำดับ) ส่วนอายุของมารดาไม่มีความสัมพันธ์กับความยากลำบากในการปรับตัวของมารดาในช่วงเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาลทารกแรกเกิดสู่บ้าน (p > .05) ผลการศึกษาในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลควรประเมินและเตรียมความพร้อมมารดาก่อนจำหน่ายทารกกลับบ้านและส่งเสริมการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมารดาและทารก โดยเฉพาะกลุ่มที่มารดามีรายได้ครอบครัวน้อย

References

Aagaard, H., Uhrenfeldt, L., Spliid, M., &Fegran, L. (2015). Parents' experiences of transition when their infants are discharged from the neonatal intensive care unit: A systematic review protocol. JBI Database of Systematic Reviews and Implementation Reports, 13(10), 123-132.
Boykova, M., & Kenner, C. (2012).Transition from hospital to home for parents of preterm infants. The Journal of perinatal & neonatal nursing, 26(1), 81-87.
Chandate, C. (2015). Factors predicting mother’s abilities to take care of children under one year of age in bangkok metropolis. Ramathibodi Nursing Journal, 21(1), 21-37. [In Thai]
Jeenmuang, N. (2016). Maternal, infant, and environmental factors in predicting maternal role attainment among postpartum mothers of preterm babies. Princess of Naradhiwas University Journal, 8(2), 44-53. [In Thai]
Kraikul, S. (2009). Alternative: relationships between parental stress and parent-child attachment in sick children who admitted in intensive care unit. The journal of Boromarajonani College of Nursing, Chonburi, 22(1), 19-28. [In Thai]
Lopez, G. L., Anderson, K. H., & Feutchinger, J. (2012). Transition of premature infants from hospital to home life. Neonatal Network, 31(4), 207-214.
Meleis, A.I., Sawyer, L.M., Im, E.O., Hilfinger Messias, D.K., & Schumacher, K. (2000).Experiencing transitions: An emerging middle-range theory. Advances in Nursing Science, 23(1), 12-28.
Muller, M.E. (1994). A questionnaire to measure mother-to-infant attachment. Journal of Nursing Measurement, 2(2), 129-141.
Niyomkar, S., & Mesukko, J. (2016). Factors predicting readiness for hospital discharge among caregivers of hospitalized children in tertiary hospitals. Nursing Journal, 43, 1-11.[In Thai]
Polit, D.F., & Beck, C.T. (2008). Nursing research: Generating and assessing evidence for nursingpractice(8th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
Elter, T. P., Waithayawongkorn, N., Choonkor, R., Geawgoontol, N., Phathani, J., Jaisumran, B., &Kongcheep, S. (2016). Grandmothers’ perceived social support form nurses in postpartum Unit. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 3(3), 94-110. [In Thai]
Srirat, C., & Panuthai, S. (2017). Readiness for hospital discharge, coping dificulties following discharge and health care utilization on persons with chronic obstructive pulmonary disease. Nursing Journal, 44(1), 13-25. [In Thai]
Tangthongkum, S. (1990). Relationship between anxiety and adaptation to maternal role in mothers of premature infants. Unpublished master thesis, Faculty of Nursing of Mahidol University. [In Thai]
Weiss, M.E., Johnson, N.L., Malin, S., Jerofke, T., Lang, C., & Sherburne, E. (2008). Readiness for discharge in parents of hospitalized children. Journal of Pediatric Nursing, 23(4), 282-295.
Weiss, M.E., & Lokken, L. (2009). Predictors and outcomes of postpartum mothers' perceptions of readiness for discharge after birth. Journal of Obstetric, Gynecologic, & Neonatal Nursing, 38(4), 406-417.
Weiss, M.E., Piacentine, L.B., Lokken, L., Ancona, J., Archer, J., Gresser, S., & Vega-Stromberg, T. (2007). Perceived readiness for hospital discharge in adult medical-surgical patients. Clinical Nurse Specialist Journal,21(1), 31-42.
Weiss, M.E., Sawin, K.J., Gralton, K., Johnson, N., Klingbeil, C., Lerret, S., & Schiffman, R. (2017). Discharge teaching, readiness for discharge, and post-discharge outcomes in parents of hospitalized children. Journal of Pediatric Nursing, 34, 58-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2019