ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่อการรับรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และแรงสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากครอบครัวตามการรับรู้ของมารดาหลังคลอด
คำสำคัญ:
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, ครอบครัวมีส่วนร่วม, การรับรู้, แรงสนับสนุนจากครอบครัวบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยครอบครัวมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากครอบครัวตามการรับรู้ของมารดาหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาหลังคลอดและครอบครัวที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลตรัง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยครอบครัวมีส่วนร่วม กลุ่มละ 25 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน กรกฎาคม-ตุลาคม 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยครอบครัวมีส่วนร่วม แบบสอบถามแรงสนับสนุนการเลี้ยงลูกจากครอบครัวและแบบสอบถามการรับรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติ t-test
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของครอบครัวกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยครอบครัวมีส่วนร่วมสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนแรงสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากครอบครัวตามการรับรู้ของมารดาหลังคลอดในกลุ่มและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่าง ดังนั้นเพื่อให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง จึงควรสนับสนุนการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทุกระยะของการตั้งครรภ์
References
Breastfeeding Center of Thailand Foundation. (2014). Best Milk: The 2nd Breastfeeding Literature Series. Bangkok: Iyara Publishing.
Cheuapirojkit, S. (2018). Creating a wonderful life with breast milk. (7th edition). Bangkok: Green Life Printing house. [In Thai]
Chisuwan, C., Prasopkittikun, T., Sangperm, P., & Payakkaraung, S. (2012). Predictive power of support from husbands,grandmothers, and nurses on duration of exclusive
breastfeeding. Journal of Nursing Science, 30(1), 70-80. [In Thai]
Jantarasiew, B., Luangarun, O., & Boonyaporn, T. (2018). Nurses' experiences related to the promotion of breastfeeding within the first 48 hours after delivery. Journal of Nursing and Health Sciences, 12(3), 50-59. [In Thai]
Kaewwimol, P. (2019). Effectiveness of a breastfeeding self-efficacy program through family participate on weight gain of preterm infants and continuation of breastfeeding.
Thai Science and Technology Journal, 27(6), 1106-1117
Makak, N. & Turner, K. (2016). Nurses’ roles and promoting the participation of husbands or Relatives for the success of breast feeding. Journal of Nursing Division, 43(3), 115-125. [In Thai]
MulatuDibisa, T., & Sintayehu, Y. (2020). Exclusive breast feeding and its associated factors among mothers of < 12 months old child in Harar Town, Eastern Ethiopia: A Cross- sectional study. Pediatric Health, Medicine and Therapeutics, 11, 145-152.
Plodpluang, U., Srichan, A., & Kaewpraphan, S. (2016). Effect of breastfeeding promotion based on familial support program to knowledge, attitude and behavior of postpartum mothers and familiars’s member. Phranakhon Rajabhat Research Journal (Science and Technology), 11(2), 41-52. [In Thai]
Sincharoen, I. & Winyan, N. (2009). The results of using the program "Full, warm, loving from mother's breast" towards knowledge, attitude and breastfeeding behavior in postpartum mothers. Journal of Nursing Division, 36(3), 18-31. [In Thai]
Suriyakhan, A. (2005). The effect of family nursing on family perception and support in Breastfeeding. Master’s thesis, Faculty of Nursing, Khon Kaen University. [In Thai]
Wichitsukhon, K., Saengpherm, P., Watthayu, N., Rueagjiratthian, S., & Phayakkharuang, S. (2014). Breastfeeding by the Center for Breastfeeding and Baby Nutrition Training Faculty of Nursing, Mahidol University. Bangkok : Pre-One. [In Thai]
Wungkum, A., Thaiyapirom, N., Jintrawet, U. (2011). Factors related to continued breast feeding among mothers with preterm infants. Nursing Journal, 38(3),74-82. [In Thai]
Thato, R. (2018). Nursing research: Concepts to application (3rd). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.