ความต่างของแรงกดที่กระดูกก้นกบระหว่างนักกายภาพบำบัดและนิสิตกายภาพบำบัด

ผู้แต่ง

  • คุณาวุฒิ วรรณจักร
  • พิมลพรรณ ทวีการ วรรณจักร

คำสำคัญ:

การขยับข้อต่อ, กระดูกก้นกบ, กระดูกเชิงกราน, หัตถบำบัด, การขยับดัดดึงข้อต่อ

บทคัดย่อ

หัตถบำบัดที่นักกายภาพบำบัดใช้เพื่อรักษาอาการปวดข้อต่อกระดูกก้นกบ การดัด ดึงข้อต่อ เป็นวิธีการรักษาข้อติดที่นักกายภาพบำบัดใช้ประจำ นักศึกษากายภาพบำบัดจึงต้องเรียนรู้ปริมาณแรงกดจากอาจารย์ ดังนั้นเตียงแสดงแรงกดทางกายภาพบำบัด ที่มีความน่าเชื่อถือ จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง และรวดเร็ว วัตถุประสงค์การศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปริมาณแรงกดที่กระดูกก้นกบโดยการกดจากด้านหลังไปด้านหน้าลำตัวระหว่างนักกายภาพบำบัดและนิสิตกายภาพบำบัด วิธีการวิจัยประกอบด้วยอาสาสมัครเพศหญิงสุขภาพดี 3 คน นอนคว่ำบนเตียงแสดงแรงกดทางกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัด 3 คน กดจากด้านหลังไปข้างหน้าที่ด้านหลังกระดูกก้นกบ ในเกรด 1, 2, 3 และ 4 หลังจากนั้นนิสิตกายภาพบำบัด 3 คน ทำตามวิธีเดียวกันในอาสาสมัครคนที่ 1, 2, และ 3 ตามลำดับ ขณะศึกษาจะปิดบังหน้าจอแสดงผลโดยนักกายภาพบำบัดผู้จดบันทึกผลอีกคน วิเคราะห์ด้วยสถิติ Wilcoxon signed-rank test

ผลการวิจัยพบว่า นิสิตกายภาพบำบัด ใช้แรงกดที่กระดูกก้นกบเกรด 1 เฉลี่ย = 7.7 กิโลกรัม, เกรด 2 เฉลี่ย = 8.1 กิโลกรัม, เกรด 3 เฉลี่ย = 9.2 กิโลกรัม, เกรด 4 เฉลี่ย = 10.8 กิโลกรัม มากกว่านักกายภาพบำบัดซึ่งกด เกรด 1 เฉลี่ย = 6 กิโลกรัม, เกรด 2 เฉลี่ย = 7 กิโลกรัม, เกรด 3 เฉลี่ย = 8.8 กิโลกรัม, เกรด 4 เฉลี่ย = 10.3 กิโลกรัม ความต่างของแรงกดของเกรด 1 = 1.7 กิโลกรัม, เกรด 2 = 1.1 กิโลกรัม, เกรด 1 = 0.4 กิโลกรัม, เกรด 1 = 0.5 กิโลกรัม ไม่พบความต่างของแรงกดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) แต่อย่างไรก็ตามแรงกดระหว่างสองกลุ่มดังกล่าวมีความต่างกันในทางคลินิก สรุปว่านิสิตกายภาพบำบัดใช้แรงกดที่กระดูกก้นกบ มากกว่านักกายภาพบำบัด ความต่างของแรงกดเกรดเพื่อลดปวด  เกรด 1 = 1.7 กิโลกรัม เกรด 2 = 1.1 กิโลกรัม ไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการรักษาเพราะแรงกดที่มากกว่าจะเสี่ยงต่อการเกิดการปวดที่มากกว่าซึ่งการเปิดเผยหน้าจอแสดงผลของเตียงแสดงแรงกดทางกายภาพบำบัด จะสามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนิสิตกายภาพบำบัด

References

Boissonnault, W., Bryan, J, M., & Fox, K, J. (2004). Joint manipulation curricula in physical therapist professional degree programs. J Orthop Sports Phys Ther, 34(4), 171–181.

Bronfort, G., Haas, M., Evans, R, L., & Bouter, L, M. (2004). Efficacy of spinal manipulation and mobilization for low back pain and neck pain: a systematic review and best evidence synthesis. Spine J, 4(3), 335–356.

Crosbie, J., Gass, E., Jull, G., Morris, M., Rivett, D., Ruston, S., et al. (2002). Sustainable undergraduate education and professional compentency. Aust J Physiother, 48(2): 5–7.

Flynn, T, W., Wainner, R, S., & Fritz, J, M. (2006). Spinal manipulation in physical therapist professional degree education: a model for teaching and integration into clinical practice. J Orthop Sports Phys Ther, 36(8), 577–887.

Grieve, G. P. (1991). Mobilisation of the spine. (5th ed.) Edinburgh: Churchill Livingstone.

Magarey, M, E., Rebbeck, T., Coughlan, B., Grimmer, K., Rivett, D, A., & Refshauge, K. (2004). Pre-manipulative testing of the cervical spine: review, revision and new clinical guidelines. Man Ther, 9(2), 95–108.

Maitland, G, D., Banks, K., English, K., Hengeveld, E. (2005). Maitland’s vertebral manipulation. (7th ed.) Oxford: Butterworth-Heinemann.

Smith, E., Conradie, M., Wessels, J., Witbooi, I., & Otto. R. (2003). Measurement of the magnitude of force applied by students when learning a mobilization technique. S Afr J Physiother, 59(4), 3–8.

Snodgrass, S., Rivett, D., Robertson, V., & Stojanovski, E. (2010). Cervical spine mobilisation
forces applied by physiotherapy students. Physiotherapy, 96(2), 120–129.

Vannajak K., & Vannajak, P, T. (2020). Validity and reliability of force plate table. Burapha Journal Medicine, 7(2), 14-22. [ In Thai ]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-01-2021