ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรม การป้องกันอาการภูมิแพ้ของเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้

ผู้แต่ง

  • เกษราภรณ์ อ่อนทอง
  • นฤมล ธีระรังสิกุล
  • ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน, พฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้, เด็กวัยเรียน, โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรม
การป้องกันอาการภูมิแพ้ของเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ อายุ
8-12 ปี ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกระบบทางเดินหายใจและภูมิแพ้ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สุ่มกลุ่มตัวอย่าง
เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในจำนวนเท่ากัน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเอง
ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามพฤติกรรมการ
ป้องกันอาการภูมิแพ้ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบที
          ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรม
ส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติและสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม
ส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า พยาบาลสามารถนำ
โปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมในการป้องกันอาการภูมิแพ้

References

Bandura. A. (1997). Self - effcacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman. Burn, N., & Grove, S. (2005). The practice of nursing research. Philadelphia: WB Saunder Company.

Chinratanadisit, S., Suratanon, N., Pacharn, P., Sritipsukha, P., & Vichvanond, P. (2019). Prevalence and risk factors of allergic rhinitis in children in Bangkok area. Asian Pacifc Journal of Allergy and Immunology, 37(4), 232-9. DOI 10.12932/Ap-120618- 0336

Hayden, M. L., & Womack, C. R. (2017). Caring for patient with allergic rhinitis. Journal of the American Academy of Nurse Practitioners, 19(6), 290-298.

Hockenberry, J. M. (2014). The school age child and family. In E. S. Perry, J. M. Hockenberry, L. D. Lowdermilk, & D. Wilson (Eds.), Maternal child nursing care (5th ed.) (pp.985-1009). St. Louis, Missouri: Mosby.

Keebang, J., Ratchanakun, P., & Poachanukoon, O. (2012). The effect of a self-care agency promoting program on the self-care behavior of school-age children with allergic rhinitis and caregivers. Thai Journal of Pediatrics. 51(3), 199-207. [In Thai]

Lumnoi, U., & Uakit, N. (2009). The Effect of perceived self-effcacy program on selfmanagement behavior among school-age children with asthma. Thai Pediatric Journal, 6(2), 108-121. [In Thai]

Meltzer, E. O., Gross, G. N., Katial, R., & Storms, W. W. (2012). Allergic rhinitis substantially impacts patient quality of life: Findings from the nasal allergy survey assessing limitation. J Fam Prac, 61(2), 5-10.

Pakluck, P., Teerarungsikul, N. & Sananreangsak, S. (2017). Factors Related to Self-regulation for Asthma Control Among School Age Children. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 25(4), 32-41. [In Thai]

Passali, D., Cingi, C., Staffa, P., Passali, F., Muluk, N. B., & Bellussi, M. L. (2018). The international study of the allergic rhinitis survey: Outcomes from 4 geographical regions. Asia Pacifc of Allergy, 8(1). e7. DOI105415/ allergy. 2018.8/e7.

Somdee, P., Pongjaturawit, Y., & Chaimongklo. N. (2017). Factors related to preventive behavior of rhinitis symptom among school-age children. The Public Health Journal of Burapha University, 12(1). 41-53. [In Thai]

Tangpathomwong, C., Nookong. P., & Senasuttipan. V. (2016). Children and caregiver factors predicting asthma control of school aged children. Journal of Nursing and Health Care, 34(2), 67-76. [In Thai]

The Allergy, Asthma, and Immunology Association of Thailand. Allergic expert.org. (pass 1). [cited 2016 Feb 17]. Retrieved from http://allergy.or.th/2016/resources_expert_detail.

Ward, L. S., Hisley, M. S. & Kennedy, M. A. (2016). Maternal-child nursing care (2nd ed.). Philadelphia: Davis Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021