การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกภายในโรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
กระดูกสะโพกหัก, การผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงกระดูกภายใน, แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงกระดูกภายใน และศึกษาประสิทธิผล ของการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงกระดูกภายใน ที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลพุทธโสธร สุ่มตัวอย่างโดยการกำหนดช่วงเวลาและคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตาม คุณสมบัติที่กำหนด เก็บรวมรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน 2564 จากกลุ่มตัวอย่าง 60 ราย แบ่งเป็น กลุ่มควบคุม 30 ราย และกลุ่มทดลอง 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลการเจ็บป่วย และการรักษาของผู้ป่วย แบบสอบถามการรับรู้ความพร้อมต่อการออกจากโรงพยาบาล แบบสอบถามพฤติกรรมการฟื้นฟู สภาพ และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบค่าที และ ODD Ratio
ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกมีการรับรู้ความพร้อมต่อการออกจากโรงพยาบาลและพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพดีกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบเดิม (p < .05) ตามลำดับ มีจำนวน วันนอนโรงพยาบาลน้อยกว่า (p < .05) และผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามรูปแบบเดิม 4.33 เท่า (OR = 4.33; 95% CI =1.04-1.99) พยาบาลวิชาชีพผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลมีความคิดเห็นว่าสามารถนำแนวปฏิบัติฯ นี้ไปใช้ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลพุทธโสธรได้ในระดับมากและมากที่สุด ผลการวิจัยนี้สหวิชาชีพสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสภาพและมีการฟื้นหายอย่างสมบูรณ์ กลับไปดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
References
Córcoles-Jiménez, M. P., Villada-Munera, A., Del Egido-Fernández, M. Á., Candel-Parra, E., Moreno-Moreno, M., Jiménez-Sánchez, M. D., & Piña-Martínez, A. (2015). Recovery of activities of daily living among older people one year after hip fracture. Clinical Nursing Research, 24(6), 604 -623.
Ferguson, M., Brand, C., Lowe, A., Gabbe, B., Dowrick, A., Hart, M., & Richardson, M. (2008). Outcome of isolate tibial shaft fractures treated at level 1 trauma centres. InjuryInternational Journal of the Care of the Injured, 39(2), 187-195.
Gabel, C. P., Osborne, J., & Burkett, B. (2015). The influence of ‘Slacklining’on quadriceps rehabilitation, activation and intensity. Journal of Science and Medicine in Sport, 18(1), 62-66.
Hadeed, M. M., Kandil, A., Patel, V., Morrison, A., Novicoff, W. M., & Yarboro, S. R. (2017). Factors associated with patient-initiated telephone calls after orthopaedic trauma surgery. Journal of Orthopedic Trauma, 31(3), e96-e100.
Janyarat, G., Sathitwittayanan, S., & Sattayawiwat, W. (2016). The quality indicators of nursing outcomes for patients with hip fracture undergoing hip arthroplasty. Journal of Safety and Health, 31(4), 45-56. (in Thai)
Khosrojerdi, H., Tajabadi, A., Amadani, M., Akrami, R., & Tadayonfar, M. (2018). The effect of isometric exercise on pain severity and muscle strength of patients with lower limb fractures: A randomized clinical trial study. Medical Surgical Nursing Journal, 7(1), e68104. doi: 10.5812/msnj.68104. (in Thai)
Pimentel, L. (2006). Orthopedic trauma: Office management of major joint injury. Medical Clinics, 90(2), 355-382.
Pradeep, A. R., KiranKumar, A., Dheenadhayalan, J., & Rajasekaran, S. (2018). Intraoperative wall fractures during dynamic hip screw fixation for intertrochanteric fractures-incidence, causative factors and clinical outcome. Injury, 49(2), 334-338.
Phelps, E. E., Tutton, E., Griffin, X., & Baird, J. (2019). A qualitative study of patients’ experience of recovery after a distal femoral fracture. Injury, 50(10), 1750-1755.
Purivatanakul N., Tipmongkol V., & Wongleang K. (2007). Effects of a telephone education program on self-care behavior for rehabilitative fractured femur patients.Songklanagarind Medical Journal, 25(1), 19-27. (in Thai)
Rodsub, L., & Suwinthakorn, O. (2014). Development of nursing practice guideline for hip fracture elderly patients undergoing hip replacement surgery. Journal of Nursing, Ministry of Public Health, 21(1), 35-48. (in Thai)
Salpakoski, A., Törmäkangas, T., Edgren, J., Sihvonen, S., Pekkonen, M., Heinonen, A., & Sipilä, S. (2014). Walking recovery after a hip fracture: a prospective follow-up study among community-dwelling over 60-year old men and women. BioMed Research International, 2014, 1-11. doi:10.115572014/289549
Sriprasong, S. (2008). Empirical test model of daily functioning in patients with acute myocardial infarction after hospital discharge. Doctoral Dissertation, Nursing, Graduate school, Mahidol University.(in Thai)
Srisaard, B. (2015). Preliminary research (9th ed.) Bangkok: Suriyasan. (in Thai) Statistics Department. (2020). Medical Informatics. Chachoengsao: Buddhasothorn Hospital. (in Thai)
Thongchai, C. (2005). Development of clinical practice guidelines. Journal of the Council of Nursing, 20(2), 63-76. (in Thai)
Wirotyut, S., Kengkanpanich, M., Kengkanpanich, T., & Tansakul, S. (2014). Effectiveness of post surgery rehabilitation program for elderly patients with hip fracture in Phramongkutklao Hospital. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 15(2), 187-194. (in Thai)