ต้นทุนและผลผลิตทางการพยาบาลระหว่างวิธีจัดตารางเวรแบบปกติ กับแบบใหม่ของฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • ละอองศรี ปราณีรุ่งเรือง
  • เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย
  • พัชราภรณ์ อารีย์

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลผลิตทางการพยาบาล, การจัดตารางเวร

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนและผลผลิตทางการพยาบาลระหว่างการจัดตารางเวรแบบปกติกับแบบใหม่ของฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนขนาด 120 เตียง กลุ่มตัวอย่าง คือ รายงานต้นทุนค่าปฏิบัติ งานนอกเวลาและผลผลิตทางการพยาบาลที่มาจากการปฏิบัติงานของบุคคลากรทางการพยาบาลของฝ่ายผู้ป่วยนอก จำนวนทั้งหมด 84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแนวทางการจัดตารางเวรแบบใหม่ คู่มือการจัดตารางเวรแบบใหม่ แบบบันทึกข้อมูลต้นทุน และแบบบันทึกผลผลิตทางการพยาบาลของฝ่ายการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนาและทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยต้นทุนค่าปฏิบัติงานนอกเวลาโดยรวมของฝ่ายผู้ป่วยนอกด้วยการจัดตารางเวรปกติเท่ากับ 170,646.00 บาท และการจัดตารางเวรใหม่เท่ากับ 137,899.20บาท พบว่า ค่าเฉลี่ยต้นทุนค่าปฏิบัติงานนอกเวลาโดยรวมระหว่างการจัดตารางเวรแบบปกติและการจัดตารางเวรแบบใหม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < .05) และค่าเฉลี่ยผลผลิตทางการพยาบาลโดยรวมของฝ่ายผู้ป่วยนอกระหว่างการจัดตารางเวรแบบปกติ และแบบใหม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) โดยการจัดตารางเวรแบบใหม่ (ร้อยละ 110.58) ซึ่งใกล้เคียงกับค่ามาตรฐานมากกว่าการจัดตารางเวรแบบปกติ (ร้อยละ 120.80) ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารควรมีการออกแบบงานการจัดตารางเวรแบบใหม่เพื่อช่วยทำให้การบริหารต้นทุนมีประสิทธิภาพและเกิดผลิตผลทางการพยาบาลตามเป้าหมาย

References

Banakhar, M. (2017). The impact of 12-hour shifts on nurses’ health, wellbeing, and job satisfaction: A systematic review. Journal of Nursing Education and Practice, 7(11), 69-83. doi:https://doi.org/10.5430/jnep.v7n11p69
Berman, D. (2009). Cost-benefit analysis of a four 10-hour day work week in construction. Master’s Thesis, Building Construction, Graduate School, University of Florida, USA.
Eastaugh, S. (2002). Hospital nurse productivity. Journal of Health Care Finance, 29, 14-22.
Hackman, J. R. (1980). Work redesign and motivation. Professional Psychology, 11(3), 445-455. doi:10.1037/0735-7028.11.3.445
Hadley, F., Graham, K., & Flannery, M. (2005). Workforce management objective A: Assess use, compliance and efficacy nursing workload measurement tools. Ottawa, Ontario: Canadian Nurses Association.
Imran, M. M., & Usman, A. (2011). Role overload, job satisfaction and their effect on layoff survivor job retention and productivity. Interdiscip J Contempy Res Bus, 2(11), 427-40.
Inpoen, H. (2018). A study of personal characteristics, leadership styles and work characteristics affecting operational employee’s organizational commitment in Nava Nakorn Industrial Estate (M.B.A.). Bangkok: Bangkok University. [in Thai]
Malik, M., Hussain, S., & Mahmood, A. (2014). Examining a chain relationship of layoff survivors’ role overload, work-life balance and their productivity. Interdiscip J Contemp, 3(6), 402-9.
Nayeri, N. D., Nazaré, A. A., Salsali, M., & Ahmadi, F. (2005). Iranian staff nurses’ views of their productivity and human resource factors improving and impeding it: A qualitative study. Human Resources for Health, 3(1), 9.
O’Brien, Y., & Boat, P. (2009). Getting “lean” the grassroots way. Nurse Manage, 40(9), 28-33. doi:10.1097/01.NUMA.0000360770.82599.4a
Rahimaghaee, F., Nayeri, D., & Mohammadi, E. (2010). Iranian nurses’ perceptions of their professional growth and development. J Issues Nurse, 16(1), 10. DOI: 10.3912/OJIN.Vol16No01PPT01
Suphanchitwana, J. (2015). Workload and overall production in Sappasithiprasong hospital 2014. Retrieved from https://sunpasit.go.th/booking/docs/6c468b21b5e6dfa13b8be32f3f1b1225.pdf [in Thai].
Tarawatcharasat, S. (2013). Workload and nursing productivity of registered nurses in a secondary hospital in Nakhon Pathom Province. Retrieved from http://library.christian.ac.th/thesis/document/T034369.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-12-2021