รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลน่าน

ผู้แต่ง

  • พรรณพิมล สุขวงษ์
  • ปาณิสรา หลีค้วน
  • นัทชา จงศิริฉัยกุล
  • พัชรินทร์ ไชยบาล

คำสำคัญ:

พยาบาล, รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วย, แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลน่าน เป็นการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการคัดแยกผู้ป่วยโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเวชระเบียนงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินเพื่อประเมินผลการคัดแยกผู้ป่วยและการสนทนากลุ่มกับพยาบาลแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 16 คน 2) การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการคัดแยกผู้ป่วย 3) การนำรูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยไปใช้กับพยาบาลวิชาชีพในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน จำนวน 23 คน และ 4) การประเมินผลการใช้รูปแบบ การคัดแยกผู้ป่วยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วย จำนวน 12 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแนวคำถามในการสนทนากลุ่ม แบบทดสอบความรู้ แบบทดสอบการปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน แบบประเมิน NEWS score เครื่องมือการคัดแยกผู้ป่วยเด็ก ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมฝึกอบรม และแบบประเมินความคิดเห็นต่อรูปแบบการคัดแยกผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยวิธีการหาค่าเฉลี่ยและร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาและความต้องการในการคัดแยกผู้ป่วยของพยาบาลแผนกฉุกเฉิน มี 2 ด้าน คือ ด้านรูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและด้านคุณลักษณะและสมรรถนะพยาบาลผู้คัดแยกผู้ป่วย รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วย ประกอบด้วย การเตรียมความรู้และความพร้อมของพยาบาลคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน เครื่องมือคัดแยกผู้ป่วย สมรรถนะและภาระงานของพยาบาลผู้คัดแยกผู้ป่วย ผลการนำรูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยไปใช้ พบว่า พยาบาลมีคะแนนความรู้ภายหลัง การฝึกอบรมเพิ่มขึ้น การคัดแยกผู้ป่วยมีข้อผิดพลาดลดลง ผลการประเมินการใช้รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วย พบว่า พยาบาลมีความรู้ ความเข้าใจและความมั่นใจเรื่องการคัดแยกผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เครื่องมือและแบบประเมินช่วยในการตัดสินใจ ในการปฏิบัติงานได้ดีขึ้น ทีมสหสาขาวิชาชีพที่ร่วมปฏิบัติงานเห็นว่ารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงเหมาะสมกับบริบทโรงพยาบาลน่าน ดังนั้นควรกำหนดสมรรถนะในการคัดแยกผู้ป่วยเป็นสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาล ที่ปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน รวมถึง ควรสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะการคัดแยกผู้ป่วยให้แก่พยาบาลและกลุ่มสหสาขาวิชาชีพอื่นที่ทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินมากขึ้น 

References

Emergency Department Assignment File. (2019). Work assignment schedule. Nan: Nan Hospital. [In Thai]
Emergency Department Report Information. (2019). Daily statistics report of the emergency department. Nan: Nan Hospital. [In Thai]
Gilboy, N., Tanabe, P., Travers, D., & Rosenau, A. M. (2011). Emergency severity index (ESI): A triage tool for emergency department care, version 4. implementation handbook
2012 edition. Rockville, MD: Agency for Healthcare Research and Quality Publication.
Gurzick, M., & Kesten, K. S. (2010). The impact of clinical nurse specialists on clinical pathways in the application of evidence-based practice. Journal of Professional Nursing, 26(1), 42-48.
Intharawichian, N., (2019). A study of the quality of emergency patient screening, Phon Phisai Hospital Nong Khai province. Journal of Nursing, Health and Education, 2(2), 43-53. [In Thai]
Nan Hospital Information and Statistics Center. (2020). Statistics of emergency accident work. Nan: Nan Hospital. [In Thai]
Nursing Office. (2008). Standards for nursing practice of accident and emergency patients of the office of nursing. Retrieved from http://www.sirindhornhosp.go.th/userfile/file/nursing_standards/07.pdf [In Thai]
Ornstein A. C., & Hunkins, F. P. (2009). Curriculum foundations, principles and issues (5th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Tanner, D., & Tanner, L. (2007). Curriculum development: Theory into practice. New Jersey : Pearson/Merrill Prentice-Hall.
Techa-tik, P., & Phu-ngern, P. (2014). The process of triage in the emergency unit. In T. Mitsoongnoen, K. EIanghong, & K. Apiratwarakul (Eds.). Essential knowledge in emergency care (pp. 16-22). Khon Kaen: Klang Nana Printing House. [In Thai]
The National Institute for Emergency Medicine. (2013). Emergency medical triage protocol and assign an acuity level. Bangkok: NIEM. [In Thai].
Wachiradilok, P., Siriprabhum, T., Chaisit, S., & Setthasatien, A. (2016). A nationwide survey of Thailand emergency departments triage systems. Thai Journal of Nursing Council. 31(2), 96-108. [In Thai].
Upanchai, S., & Uamtani, A. (2017). The effect of using a patient screening model using the risk index severe emergency to patient waiting periods and performing independent roles of registered nurses in accident and emergency, Central Hospital. Journal of Charoenkrung Pracharak Hospital, 13(2), 91-101. [In Thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-12-2021