ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานวัดงาน ต่อสมรรถภาพทางกายของนักศึกษาชายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
คำสำคัญ:
สมรรถภาพทางกาย, นักศึกษาชาย, น้ำหนักเกิน, จักรยานวัดงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานวัดงานต่อสมรรถภาพทางกายของนักศึกษาชายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 36 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 18 คน ทำการฝึก 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินองค์ประกอบร่างกายด้วยการคำนวณดัชนี มวลกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยแบบทดสอบแรงเหยียดขา และความสามารถในการใช้ออกชิเจนสูงสุดด้วยแบบทดสอบออสตรานด์และไรมิ่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณาการทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ชนิดวัดซ้ำ
ผลการวิจัย พบว่า หลังการฝึกตามโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานวัดงาน 4 และ 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันด้านค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวและดัชนีมวลกาย ส่วนค่าเฉลี่ยแรงเหยียดขาและความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดหลังการฝึกตามโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานวัดงาน 8 สัปดาห์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในกลุ่มทดลอง พบว่า ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดก่อนและหลังการฝึกตามโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานวัดงาน 8 สัปดาห์มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรม การออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานวัดงาน สามารถนำไปการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสูดได้
References
Benjaponpitak, S., Nutchanart, P., Lerdkittivarakul, R., & Kansrirat, T. (2015). A training program using e-Learning to support medical teaching by learning management system. Thammasat Medical Journal, 15(1), 50-65. [in Thai]
Chanfun, M. (2014). The health behavior of obesity of student health education, Faculty of Education, Kasetsart University Bangkhen. Bangkok: Kasetsart University. [in Thai]
Chansem, W., & Jubchit, P. (2009). The development of types of appropriately exercise for overweight person. Bangkok: National Sports University. [in Thai]
Heydari, M., Freund, J., & Boutcher, S. H. (2012). The effect of high-intensity intermittent exercise on body composition of overweight young males. Journal of Obesity, 2012, 1-8.
Ketteng, W. (2012). A comparison between treadmill and field interval training on physiological variables. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]
Kotecki. (2014). Physical activity and health: An interactive approach. Burlington, MA: Jones & Bartlett learning.
Maophet, K., Chaopanich, K., Lapho, P., & Tiamkerd, V. (2012). Exercise behavior of personnel in Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus (Research report). Bangkok: Work Plan to Promote Innovation, Exercise and Sport for Health. Office of the Health Promotion Foundation (Thai Health Promotion Foundation). [in Thai]
Noychanla, C., & Aungudornpukdee, P. (2018). Factors affecting aerobic dance exercise among village health volunteers, Muang Phichit, Phichit province. Journal of Public
Health Nursing, 32(2): 173-184. [in Thai]
Rattanakos, P. (2008). Basic bicycle training. Bangkok: Suwiriyasars. [in Thai]
Samahito, S., Sriyaphai, A., Seekukul, S., Kaewthian, N., Somthawin, S., Kutin, I., & Kanchanasila, A. (2013). Test and physical fitness standard criteria for Thai people aged 19-59 years. Bangkok: Office of Sport Science, Department of Physical Education. [in Thai]
Sonchan, W., & Sootmongkol, A. (2019). Effects on maximum oxygen uptake and muscular strength during an interval training program for people working within confined spaces. Burapha Journal of Medicine, 6(1), 1-10. [in Thai]
Sriramatr, S. (2014). Physical activity for health. Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University. [in Thai]
Thongtaeng, P., & Seesawang, J. (2012). Overweight in Thai children. Rama Nurs J, 18(3), 287-297. [in Thai]
Tinuan, J., & Chauwatcharaporn, C. (2012). A comparision between the effect of aerobic and anaerobic training on anaerobic threshold in eighteen years ole soccer players. Journal of Sports Science and Health, 13(1), 25-37. [in Thai]
Womgdontree, K. (2015). Effect of low volume high intensity interval training on body weight and physical fitness of wrestlers. Chonburi: Burapa University. [in Thai]