ผลการฝึกแบบผสมผสานที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางกาย ด้านความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตบอล วิทยาลัยนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ธนาคาร เสถียรพูนสุข
  • ธนากาญจน์ เสถียรพูนสุข
  • กนกวรรณ รัศมียูงทอง

คำสำคัญ:

การฝึกแบบผสมผสาน, ความคล่องแคล่วว่องไว, นักกีฬาฟุตบอลวิทยาลัยนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฝึกแบบผสมผสานที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางกายด้านความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตบอล วิทยาลัยนครราชสีมา เพศชาย อายุระหว่าง 19-23 ปี จำนวน 30 คน และทำการ สุ่มเข้ากลุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน โดยกลุ่มทดลองทำการฝึกแบบผสมผสาน 3 วันต่อสัปดาห์ ควบคู่กับการฝึกฟุตบอลซ้อมปกติ 2 วันต่อสัปดาห์ และกลุ่มควบคุมฝึกซ้อมตามโปรแกรมฟุตบอลปกติ 5 วันต่อสัปดาห์ รวม 6 สัปดาห์ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการฝึกทำการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวด้วยวิธีการทดสอบแบบ Semo Agility test วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า ในระยะก่อนการทดลอง ความคล่องแคล่วว่องไวของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 17.11 ± 0.35 วินาที และความคล่องแคล่วว่องไวของกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ย 17.13 ± 0.37 วินาที ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และในระยะหลังการทดลองความคล่องแคล่วว่องไวของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 16.10 ± 0.40 วินาที และความคล่องแคล่วว่องไวของกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.85 ± 0.46 วินาที พบว่า
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า ผู้ฝึกสอนและนักกีฬาฟุตบอล
สามารถนำโปรแกรมการฝึกแบบผสมผสานไปใช้ร่วมกับการฝึกซ้อมปกติเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายด้านความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาให้ดีขึ้นและเพิ่มความสามารถโดยรวมของทีมได้

References

Chantasorn, N. (2019). Agility development by plyometric training. Veridian E-Journal, Silpakorn University Humanities Social Sciences and arts, 12(5), 578-598. (In Thai)
Cohen, J. (1977). Statistic power analysis for the behavioral science. New York: Academic Press.
Dumtee, Y. (2011). The effect of plyometric training programs on football players’agility. Journal of Nakhon Sawan Rajabhat University, 6(6), 101-112. (In Thai)
Krabuanrat, C. (2017). The exercise on quality of life in elderly. Journal Health and Physical Education, 43(1). 5-15. (In Thai)
Laoprasert, S., Konharn, K., Rattanathongkom, S., Detsri, P., Kmontre, J., & Karawa, J. (2018). Effects of complex sap model training on muscle power and strength, speed, flexibility, agility and reaction time in young male basketball players. The Journal of Khonkhan University, 17(1). 32-42 (In Thai)
Seelamaat, S. (2012). Principles of sports training for sports trainers. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)
Seelamaat, S. (2004). Principles of sports training for sports trainers. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)
Sharkey, B. J., & Gaskill, S. E. (2006). Sport physiology for coaches. Illinois: Human Kinetics.
Sport Science Bureau. (2018). Physical fitness field test football-futsal Volleyball Badminton. Nakhonpathom: Sun Packaging (2014).
Supanyabutra, C., & Thammasaovapaak, S. (2012). The effect of sap model training on football dribbling ability. The Journal of Khonkhan University, 12(4), 102-110. (in Thai)
Thachaila, M. (2018). Effects of plyometric coupled with a SAQ training program on the speed and agility of soccer players. The Journal of Nakhonratchasima College, 5(1) 330-337. (in Thai)
Vejchaphaet, C., & Palawiwat, K. (1993). Exercise physiology (4th ed.). Bangkok: Tankamol Press Limited Partnership.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-12-2021