ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนวัยผู้สูงอายุต่อความรู้และพฤติกรรมสุขภาพของ กลุ่มก่อนวัยผู้สูงอายุ ตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
โปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนวัยผู้สูงอายุ, ความรู้, พฤติกรรมสุขภาพบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ชนิดสองกลุ่มเปรียบเทียบก่อนหลังและเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนวัยผู้สูงอายุต่อความรู้และพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มก่อนวัยผู้สูงอายุ ตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มก่อนวัยผู้สูงอายุตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง จำนวน 94 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 47 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ 47 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ โปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนวัยผู้สูงอายุ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบความรู้ด้านสุขภาพและแบบสอบถามพฤติกรรมด้านสุขภาพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่า 0.75 ค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบความรู้ด้านสุขภาพ 0.85 และแบบสอบถามพฤติกรรมด้านสุขภาพ 0.79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลทั่วไประหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ โดยใช้สถิติอ้างอิง Chi-square test และ Fisher’s exact test ส่วนคะแนนความรู้และพฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและเปรียบเทียบ โดยใช้สถิติ Independent t-test และเปรียบเทียบผลก่อนหลังทดลองโดยใช้สถิติ Paired t-test
ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มทดลองมีความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 13.78, p< .001) มีพฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 8.13, p< .001) ผลการวิจัยเสนอแนะว่าควรมีการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมกลุ่มก่อนวัยผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง และมีการนำโปรแกรมไปพัฒนาต่อหรือปรับใช้ในพื้นที่อื่นๆ
References
Bureau of Elderly Health. (2020). Wellness plan. Retrieved from https://eh.anamai.moph.go.th/ th/elderly-manual/211989#
Duangsupa, K., & Saita, S. (2021). Preparedness of the pre-aging population entering an aging society, Mae Tha district, Lampang province. Lanna Public Health Journal, 17(1), 52-63. [In Thai]
Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute [TGRI]. (2022). Situation of the Thai elderly, 2021. Nakorn Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University. [In Thai]
Iftikhal, A., & Srisawat, S. (2023). Health literacy factors related to health behavior among elderly in Sakon Nakhon province. KKU Journal for Public Health Research, 16(2), 31–40. [In Thai]
Lampang Public Health Office. (2022). Anti-aging Lampang program. Retrieved from https://lpg.hdc.moph.go.th/ [In Thai]
Likert, R. A. (1993). A technique for the measurement of attitude. Chicago: Rand McNally.
Meechana, P., Khansakorn, N., Silawan, T., Rawiworrakul, T., & Phijaisanit, P. (2017). Readiness of pre-aging population for quality aging society in Nongyasai subdistrict, Nongyasai district, Suphanburi province. EAU Heritage Journal Science and Technology, 11(1), 259-271. [In Thai]
Meehanpong, P., & Chatdokmaiprai, K. (2018). Assessing quality of research instrument in nursing research. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 19(1), 9-15. [In Thai]
Phothipim, M., Ketbumroong, V., Norkaew, J., & Kujapun, J. (2019). The effectiveness of health behavioral promotion program on knowledge, attitude and practice among members of elderly club, Nakhon Ratchasima province. The Public Health Journal of Burapha University, 14(1), 119–130. [In Thai]
Salawongluk, T., Satayavongthip, B., Phungphet, S., & Rachutorn, T. (2019). The curriculum development promote the quality of life the elderly’s participation at Hua Thale subdistrict, Muang district, Nakhon Ratchasima province. UBRU Journal for Public Health Research, 8(2), 133-140. [In Thai]
Sribenchamas, N., & Samruayruen, K. (2021). The effectiveness of health behaviors modification program on health behaviors among the elderly in Chom Thong sub-district, Mueang Phitsanulok district, Phitsanulok province. EAU Heritage Journal Science and Technology, 15(1), 155-166. [In Thai]
Tanasugarn, C., Roma, W., & Samnuanklang, M. (2018). The principles of health literate organization. Nonthaburi: Office of DOH 4.0 and Health Literacy. [In Thai]
Thamrongworakun, P. (2022). The ageing readiness preparation of the middle-aged adults. Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, 5(2), 98-119. [In Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.