ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับป้องกันภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อ Acinetobacter baumannii ชนิดดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนาน ในผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ

ผู้แต่ง

  • นารี ศรชัย พยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
  • วไลพรรณ ยอดนิล พยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
  • ธรรมชาติ อินทร์จันทร์ พยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
  • จารุวรรณ วงษ์วิชาวัฒนา พยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
  • พยูน วีระเกียรติกุล พยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
  • สิริพร จันทร์ฉ่ำ พยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
  • ศรัณยา สมรส พยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
  • น้ำผึ้ง บุญมี พยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
  • วราภรณ์ คำโย พยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
  • ญานวัฒนา แสนกุล พยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
  • กมล ด้วงชื่น พยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
  • สุภาวดี ผู้ดีอักษร พยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
  • จันทรา หงษ์อ่อน พยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
  • เสาวลักษณ์ เกตุประยูร พยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
  • ณัฐกมล จันทร์รักษ์ พยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
  • จริญญา เพชรคง พยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

คำสำคัญ:

ปอดอักเสบ, เครื่องช่วยหายใจ, แนวปฏิบัติการพยาบาล, เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ, อะซีเนโตแบคเตอร์ บาวแมนนีไอ

บทคัดย่อ

     ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นการติดเชื้อที่พบบ่อยในโรงพยาบาล การวิจัยปฏิบัติการนี้เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับป้องกันปอดอักเสบจากการติดเชื้อ Acinetobacter baumannii ชนิดดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนาน และประเมินผลลัพธ์การนำไปใช้ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ (1) ระยะพัฒนาแนวปฏิบัติ และ (2) ระยะนำไปใช้และประเมินผล กลุ่มตัวอย่างระยะพัฒนาแนวปฏิบัติประกอบด้วยพยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 4 คน และพยาบาลประจำหอผู้ป่วย 11 คน ระยะนำไปใช้และประเมินผลประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ 224 คน ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ ก่อนใช้แนวปฏิบัติ 40 คน และหลังใช้แนวปฏิบัติ 40 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกปอดอักเสบ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติ และความร่วมมือตามแนวปฏิบัติ เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2566 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

     ผลการวิจัยระยะที่ 1 แนวปฏิบัติทางการพยาบาลประกอบด้วย 8 หมวด ได้แก่ 1) การจัดท่านอนศีรษะสูง 2) การรักษาความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ  3) การแปรงฟันวันละครั้งและป้ายช่องปากด้วยน้ำยาคลอเฮกซิดีน  4) การดูดเสมหะระบบปิด 5) การดูแลสายเครื่องช่วยหายใจ 6) การทำความสะอาดมือ 7) การสวมกาวน์แขนยาวและถุงมือ และ 8) การทำลายเชื้อในสิ่งแวดล้อม ผลตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน โดยใช้ AGREE II พบว่าอยู่ในช่วงร้อยละ 76 ถึง 90 ทุกหมวด ผลการทดลองใช้พบว่าเหมาะสมและปฏิบัติได้ทุกหมวด  ระยะที่ 2 พบว่าก่อนใช้แนวปฏิบัติ อุบัติการณ์ VAP 28.98 หลังใช้พบอุบัติการณ์ VAP 15.51 ครั้ง/1,000 วันการใช้เครื่องช่วยหายใจ ความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติ ร้อยละ 90.7 และนำไปใช้เป็นประจำ ร้อยละ 58.0 

ผลการวิจัยแสดงว่าแนวปฏิบัติช่วยลดอุบัติการณ์ VAP สามารถนำไปใช้ป้องกันการติดเชื้อ การนำไปใช้ควรฝึกอบรมให้มีความรู้และทักษะการใช้แนวปฏิบัติ ควรสนับสนุนอัตรากำลังอย่างเพียงพอ ตลอดจนปรับปรุงแนวปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เพิ่มขึ้น เพื่อส่งเสริมการนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย

References

AGREE Next Steps Consortium (2009). The AGREE II instrumemt [Electronic version]. Retrieved from http://www.agreetrust.org.

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (2023). Pneumonia (Ventilator-associated [VAP] and non-ventilator associated Pneumonia [PNEU]) Event. 1-19. Retrieved from https://www.cdc.gov/nhsn/pdfs/pscmanual/6pscvapcurrent.pdf

Chusri, S., Jongsuwiwanwong, W., Silpapojakul, K., Hortiwakul, T., Charoenmak, B., & Pomwised, R. (2020). Epidemiology and infection control of carbapenem-resistant Acinetobacter baumannii (CRAB) and carbapenem-resistant Enterobacteriaceae (CRE) in hospital network of lower southern Thailand. 1-269. Retrieved from http://hdl.handle.net/11228/5279

Hayakawa, K., Mezaki, K., Sugiki, Y., Nagamatsu, M., Miyoshi-Akiyama, T., Kirikae, T., Kutsuna, S., Takeshita, N., Yamamoto, K., Katanami, Y., Ohmagari, N. (2016). High rate of multidrug-resistant organism colonization among patients hospitalized overseas highlights the need for preemptive infection control. American Journal of Infection Control, 44(11), e257–e259. doi.org/10.1016/j.ajic.2016.06.040

Klompas, M., Branson, R., Cawcutt, K., Crist, M., Eichenwald, E. C., Greene, L. R., Lee G., Maragakis, L. L., Powell, K., Priebe, G. P., Speck, K., Yokoe, D. S., & Berenholtz, S. M. (2022). SHEA/IDSA/APIC Practice Recommendation Strategies to prevent ventilator-associated pneumonia, ventilator-associated events, and nonventilator hospital-acquired pneumonia in acute-care hospitals: 2022 Update. Infection Control & Hospital Epidemiology, 43, 687–713. doi.org/10.1017/ice.2022.88

Inchan, T., Sornchai, N., & Yodnil, W. (2018). The effectiveness of the clinical nursing practice guidelines for preventing pneumonia associated with mechanical ventilation on incidence rate of ventilator-associated pneumonia, Sawanpracharak hospital. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute, 12(3), 146-156. [In Thai]

Meschiari, M., Lòpez-Lozano, J. M., Di Pilato, V., Gimenez-Esparza, C., Vecchi, E., Bacca, E., & Mussini, C. (2021). A five-component infection control bundle to permanently eliminate a carbapenem-resistant Acinetobacter baumannii spreading in an intensive care unit. Antimicrobial Resistance and Infection Control, 10(1), 1–13. doi.org/10.1186/s13756-021-00990-z

Montoya, A., Schildhouse, R., Goyal, A., Mann, J. D., Snyder, A., Chopra, V., & Mody, L. (2019). How often are health care personnel hands colonized with multidrug- resistant organisms? A systematic review and meta-analysis. American Journal of Infection Control, 47, 693-703. doi.org/10.1016/j.ajic.2018.10.017

Nguyen, M., & Joshi, S. G. (2021). Carbapenem resistance in Acinetobacter baumannii, and their importance in hospital-acquired infections: A scientific review. Journal of Applied Microbiology, 131(6), 2715–2738. doi.org/10.1111/jam.15130

Rossi, I., Royer, S., Ferreira, M. L., Campos, P. A., Fuga, B., Melo, G. N., Machado, L. G., Resende, D. S., Batistao, D., Urzedo, J. E., Gontijo-Filho, P. P., Ribas, R. M. (2019). Incidence of infections caused by carbapenem-resistant Acinetobacter baumannii. American Journal of Infection Control, 47(12), 1431–1435. doi.org/10.1016/j.ajic.2019.07.009

Soukup, S. M. (2000). The center for advanced nursing practice evidence-based practice model: promoting the scholarship of practice. The Nursing Clinics of North America, 35(2), 301-309. doi.org/10.1016/S0029-6465(22)02468-9

Wang, H. P., Zhang, H. J., Liu, J., Dong, Q., Duan, S., Ge, J. Q., Wang, Z. H., Zhang, Z. (2017). Antimicrobial resistance of 3 types of gram-negative bacteria isolated from hospital surfaces and the hands of health care workers. American Journal of Infection Control, 45(11), e143–e147. doi.org/10.1016/j.ajic.2017.06.002

Weinberg, S. E., Villedieu, A., Bagdasarian, N., Karah, N., Teare, L., & Elamin, W. F. (2020). Control and management of multidrug resistant acinetobacter baumannii: A review of the evidence and proposal of novel approaches. Infection Prevention in Practice, 2(3), 1-9. doi.org/10.1016/j.infpip.2020.100077

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023