การพัฒนาหลักสูตรอบรมการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของพระบริบาลภิกษุไข้ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • จามจุรี แซ่หลู่ อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อรุณรัตน์ โยธินวัฒนบำรุง อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุทัศน์ เหมทานนท์ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, การสร้างเสริมสุขภาพ, การป้องกันโรค, การปฐมพยาบาลเบื้องต้น, พระบริบาลภิกษุไข้

บทคัดย่อ

     การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การอบรมที่ผ่านมา พัฒนาหลักสูตรอบรม และประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของพระบริบาลภิกษุไข้ จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะ 1, 2 ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มกับพระภิกษุ 8 รูป เจ้าหน้าที่สำนักงานพุทธศาสนา 1 คน และระยะ 3 ใช้วิธีการศึกษากึ่งทดลอง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้และประเมินทักษะจากพระภิกษุ 27 รูป เครื่องมือมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค .75 ข้อมูลนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติ paired t-test      

     ผลการวิจัยพบว่า 1) มีหลักสูตรในการพัฒนาความรู้และทักษะในการดูแลพระภิกษุไข้ เป็นหลักสูตร 70 ชั่วโมง แต่มีพระที่เข้าร่วมอบรมน้อย และไม่มั่นใจในการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ 2) หลักสูตรที่พัฒนาเป็นหลักสูตร 18 ชั่วโมง อบรมเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย การดูแลสุขภาพตามหลักพระธรรมวินัย สิทธิการรับบริการสุขภาพ การประเมินภาวะสุขภาพ เช็ดตัวลดไข้ ทำแผล จัดท่า เคลื่อนย้ายผู้ป่วย ให้อาหารทางสายยาง และช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และ 3) ความรู้ก่อนและหลังการอบรมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสิติ (p<.001) และพระภิกษุทุกรูปผ่านการประเมินทักษะการปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

References

Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw Hill.

Boutkhamuan, S. (2016). Self-health care of monks in Dusit District, Bangkok Metropolis. Retrieved from http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5605030047_5917_5641.pdf. [In Thai].

Bureau of Elderly Health. (2018). Training manual for the phra kilanupathaka course. Bangkok: Office of Printing Affairs, War Veterans Organization. [In Thai].

Gandasaro, C., & Namsena, S. (2022). The kilanupatthaka: The role of monk’s well-being. The Journal of Research and Academics, 5(2), 275-284. [In Thai].

Knowles, M. S. (1980). The modern practice of adult education: From pedagogy to andragogy. New York: Cambridge, The Adult Education Company.

Laptananon, P., & Povarathammo, B. (2022). Phra kilanupataka center, Nakhon Si Thammarat Province, promote the health of monks. Nonthaburi: Nititham Printing. [In Thai].

Leeyutthanont, M., Uraiwan, P., Kaewsakulthong, J., & Saetew, P. (2019). Development of health education model for monks. The Journal of Baromarajonani College of Nusing, Nakhonratchasima, 25(2), 104-117. [In Thai].

Nakhon Si Thammarat Provincial Office of Buddhism. (2023). Information of temple and monk. Retrieved from https://nrt.onab.go.th/th/content/category/index/id/17. [In Thai].

National Office of Buddhism. (2023). Basic information about buddhism, year 2018 – 2020. Retrieved from https://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/1278/iid/41503. [In Thai].

Nimtrakul, U., & Thitawisittho, W. (2020). Health behaviors of monks and health literacy from phra kilanuphatthak to communicators in health region 1. Journal of Buddhist Studies, 11(1), 33 -5. [In Thai].

Oupra, R., & Chachvarat, T. (2016). Non communicable disease, chronic disease, health promotion, Thai monk. Nursing, Public Health, and Education Journal, 17(3), 17-23. [In Thai].

Wisutho, N., Kanlayapattanakul, W., & Sukuprakarn, S. (2021). Guidelines for the strengthen of phra kilanupataka role in enhancing the health of Thai monks. Journal of Modern Learning Development, 6(5), 114-126. [In Thai].

Priest Hospital. (2022). Annual report 2022 priest hospital. Retrieved from https://www.priest-hospital.go.th/pdf/2565/mobile/index.html. [In Thai].

Sanitlou, N., Sartphet, W., & Naphaarrak, Y. (2019). Sample size calculation using G*power program. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology, 5(1), 496-507. [In Thai].

Somroop, S., Chimhad, P., & Khaenamkhaew, D. (2022). A holistic health care to the monks in the area of Nabon District, Nakhon Si Thammarat Province. Journal of MCU Nakhondhat, 9(5), 226-239. [In Thai].

Taba, H. (1962). Curriculum development: Theory and practice. New York: Harcourt Brace Jovanovich.

Tienthavorn, V. (2022). System for surveillance, control, and prevention of diabetes and hypertension in Thailand: Policy into practice. Chonburi: Sri Silapa Printing Press. [In Thai].

Wattana C. (2019). Care of sick buddhist monks for nurses part 1: Care of sick buddhist monks in outpatient department. Journal of Phrapokklao Nursing College, 30(1), 239-243. [In Thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023