ผลของการพอกยาสมุนไพรต่อความรุนแรง ความเจ็บปวด และองศาข้อเข่า ในผู้ป่วยโรคจับโปงเข่าแห้ง โรงพยาบาลสะเดา จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • วรัญญา บุญประเสริฐ แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสะเดา จังหวัดสงขลา
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นภชา สิงห์วีรธรรม อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ยาพอกเข่า, ลมจับโปงแห้งเข่า, องศาเข่า, ความรุนแรง

บทคัดย่อ

     การรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อในทางการแพทย์แผนไทยมีหลายวิธี การพอกยาสมุนไพรเป็นหัตถการหนึ่งที่นิยมใช้ ซึ่งอาจมีสูตรแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพอกยาสมุนไพร ต่อความรุนแรง ความเจ็บปวด และองศาข้อเข่าในผู้ป่วยโรคลมจับโปงแห้งเข่า โรงพยาบาลสะเดา จังหวัดสงขลา จำนวน 30 คน ใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การพอกยาสมุนไพรสูตรเย็นบริเวณรอบๆ ข้อเข่า ปริมาณนำผงยาสมุนไพรผงยา 15 กรัม แป้ง 10 กรัม น้ำ 40 มิลลิลิตร ช่วงเช้า เวลา 8.30-9.30 น. นัดติดตามวันเว้นวัน ครั้งละ 1 ชั่วโมง แบบประเมินความรุนแรง ความปวด และเครื่องมือวัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าก่อนและหลังพอกยาสมุนไพร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired t-test และสถิติ Wilcoxon matched pairs signed ranks test                             

     ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่พอกยาสมุนไพรสูตรเย็น มีความรุนแรงและระดับความปวดลดลง รวมทั้งมีองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าท่างอเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ดังนั้น การใช้ยาสมุนไพรพอกเข่าสูตรเย็น ช่วยลดความรุนแรง ลดระดับความปวดและเพิ่มองศาการงอของข้อเข่าในผู้ป่วยโรคลมจับโปงแห้งเข่า จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคลมจับโปงแห้งเข่าตามภูมิปัญญาไทย

References

Chuesuphan, K., Chokevivat, V., Fakkham S., & Kamoltham, T. (2020). Effectiveness of herbal poultice for knee pain relief in patients with osteoarthritis of knee. Academic Journal of Communuty Public Health, 6(2), 155-167.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.) Hillsdale, N.J: L. Erlbaum Associates.

Department of Mental Health. (2018). 4 formulas for knee poultices. Retrieved from https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27425

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A-G., & Buchner, A. (2007). “G*power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences”. Behavior Research Methods, 39(2), 175 - 191. doi: 10.3758/BF03193146.

Hongsiri, A., Moontongkam, S., Duanyai, S., Rodpo, P., & Keawnoi, A. (2022). The effectiveness of knee gel masks on knee pain levels. Journal of Bsru-Research and Development Institute, 7(1), 77-86.

Khumsab, S., Vajaradul, Y., & Fakkhum, S. (2020). The study effect of herbal poultice on poultice on pain treatment in osteoarthritis of elderly. umt poly journal, 17(2), 275-284.

Medical Revitalized Canter. (2023). Statistics knee pain in elderly with osteoarthritis. Retrieved from https://www.nestnursing.com/article/read/20220510-26

Wijit, S., Samalae, S., Khuniad, C., Simla, W., Boonrood, T., & Sriraksa, S. (2022). The Effectiveness of Luangphusukwatpakkhlongmakhamthao poultice for pain relief and range of motion in patients with knee osteoarthritis. Journal of Traditional Thai Medical Research, 8(1), 47-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023