การพัฒนารูปแบบการดูแลก่อนกลับเข้าทำงานภายหลังการเจ็บป่วย ของบุคลากรทางการแพทย์ สถาบันราชประชาสมาสัย
คำสำคัญ:
รูปแบบการดูแลก่อนกลับเข้าทำงานภายหลังการเจ็บป่วย, บุคลากรทางการแพทย์, กลับเข้าทำงานอย่างปลอดภัยบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการดูแลก่อนกลับเข้าทำงานภายหลังการเจ็บป่วยของบุคลากรทางการแพทย์ สถาบันราชประชาสมาสัย 2) พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการดูแลก่อนกลับเข้าทำงานภายหลังการเจ็บป่วยฯ 3) ประเมินผลเบื้องต้นรูปแบบที่พัฒนาขึ้น เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มี 4 ระยะ คือระยะที่ 1 ทำความเข้าใจปัญหารูปแบบการดูแลสุขภาพบุคลากรทางการแพทย์ ของสถาบันราชประชาสมาสัย ระยะที่ 2 ปฏิบัติการร่างรูปแบบฯ ระยะที่ 3 ทดลองใช้ร่างรูปแบบฯ ระยะที่ 4 ประเมินผลการปฏิบัติตามรูปแบบฯ ประชากรเป้าหมายการพัฒนา คือ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ พยาบาลอาชีวอนามัย สหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง และบุคลากรทางการแพทย์ที่เจ็บป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป รวม 16 คน พื้นที่วิจัยคือสถาบันราชประชาสมาสัย ใช้แบบสนทนากลุ่ม แบบสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม แบบคัดลอกข้อมูลเป็นเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนตุลาคม 2566– กุมภาพันธ์ 2567 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการดูแลก่อนกลับเข้าทำงานฯ ประกอบด้วย R –MOPH (2) สหสาขาวิชาชีพและบุคลากรทางการแพทย์ที่เจ็บป่วยฯ ให้การยอมรับรและพึงพอใจรวมระดับมากที่สุด (3) บุคลากรที่เจ็บป่วยได้รับการดูแลก่อนกลับเข้าทำงานภายหลังการเจ็บป่วย และสามารถกลับเข้าทำงานได้อย่างปลอดภัย ร้อยละ 100 ผลการวิจัยดังกล่าวข้างต้นยังมีข้อจำกัดที่เป็นการดูแลแบบภาพรวม จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรนำรูปแบบไปปรับใช้ให้เหมาะสมตามบริบทของกลุ่มโรค
References
Srisa-at, B. (2017). Basic research (10th ed.). Bangkok: Suweerivasarn [In Thai].
Chino, C., Ekburanawat, W. (2016). Case study of return to work management: A series of 3 patients. The Public Health Journal of Burapha University, 11(1), 123-133. [In Thai].
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1981). Rural development participation: Concept and measure for project design implementation and evaluation: Rural development committee center for international studies. New York: Cornell University Press.
Department of Disease Control. (2017). Return to work management. Bangkok : Aksorn Grphic And Design Publishing Limited Partnership [In Thai].
Ekburanawat, W. (2016). Caring for patients returning to work. Chonburi : Summacheeva Foundation. [In Thai].
Kongsin, T., Chaiear, N., & Chanpho,P. (2020). Proportion of the medical school personnel who completely resumed to their original work after sickness absence. Srinagarind Medical Journal, 35(2), 203-209. [In Thai].
Leelaphun, P. (2024). Research to solve health problems concepts and processes of action research. Bangkok : Charoenmankhong.
National Institute for Health and Care Excellence. (2019). Workplace health: Long-term sickness absence and capability to work. [Internet]. [cited 2023 Jun 29]. Retrieved from www.nice.org.uk/guidance/ng146
Raj Pracha Samasai Institute. (2022). Report on the health situation of personnel at the Raja Pracha Samasai Institute. Samut Prakan: Occupational Health Nursing Unit. Raj Pracha Samasai Institute. [In Thai].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.