ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้เป็นโรคเบาหวานในตำบลบางสมัคร อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, พฤติกรรมสุขภาพ, ระดับน้ำตาลในเลือดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานในตำบลบางสมัคร อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 30 คน ซึ่งทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ และเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 ตอน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป การประเมินพฤติกรรมสุขภาพในด้านการรับประทานอาหาร การประเมินพฤติกรรมสุขภาพในด้านการออกกำลังกาย และการประเมินพฤติกรรมสุขภาพในด้านการจัดการความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัยภายหลังการทดลองและระยะติดตาม 4 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพในด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออกกำลังกาย และด้านการจัดการความเครียด เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง และภายหลังการทดลองและระยะติดตาม 4 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลปลายนิ้วลดลง มากกว่าก่อนการทดลอง (p < .05)
จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการนำโปรแกรมไปใช้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลุ่มอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน
References
Bandura, A. (1977). Social foundation of thought and action: A social of cognitive theory. Englewood Cliffs, NJ: Preentice-Hall.
Best, J. (1970). Research in education (2nd ed.). Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.
Bloom, B. (2001). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill.
Department of Disease Control Ministry of Public Health. (2023). Department of Disease Control to monitor the situation around the world. There are 537 patients. Supervision causes 6.7 deaths or 1 death reported every 5 seconds. Retrieved from https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/.
Henglai, B. (2016). A development of tentative self care program for patients with type 2 diabetes in the community. Journal of Rajanagarindra, 7(2), 151-160. [In Thai]
Loykaew, K., Vorapongsathorn, S., Vorapongsathorn, T., & Choorat K. (2019). Effects of the health education program by applying Pender’s health promotion model in changing the self-care behavior of type 2 diabetes patients in the subdistrict health promotion hospital, Ban Kha district, Ratchaburi province. Vajira Medical Journal, 63(4), 283-296. [In Thai]
Nopsopon, S. (2016). Effects of the health promotion program on health promoting behavior among patients with type 2 diabetes mellitus in Bangtoey sub-district, Mueang district, Chachoengsao province. Ratchanakarin Journal, 3(2), 161-171. [In Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.